วัตร
ลำดับของการสมาทานวัตร..บอกวัตร..เก็บวัตร
- สมาทานวัตร หรือ ขึ้นวัตร
- การบอกวัตร
- การเก็บวัตร
การสมาทานวัตร
การสมาทานวัตร หรือ ขึ้นวัตร เป็นวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฎฐานวิธีอย่างหนึ่ง คือ
gมื่อภิกษุต้องครุกาบัติแล้ว อยู่ปริวาสยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดไว้ หรือ ประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันจำเป็นอันควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น
เรียกว่า ขึ้นวัตร คือ การสมาทานวัตร
การสมาทานวัตร นิยมสมาทานหลังจากที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติธรรมประจำวัน จากนั้นก็แยกย้ายกันเข้าปรก พอได้เวลาตีสามหรือตามเวลาที่คณะสงฆ์กำหนด
ก่อนทำวัตรเช้าก็สมาทานครั้งหนึ่ง ซึ่งการสมาทานวัตรเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องสมาทานทั้งเช้าและเย็น เพราะการสมาทานวัตรนั้นตราบใดที่ยังไม่มีการเก็บวัตร
แล้วก็ห้ามสมาทานซ้ำอีก ส่วนการบอกวัตรนั้นจะบอกวันละกี่ครั้งก็ได้ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า
กิจที่จะต้องสมาทานวัตรอีกย่อมไม่มีแก่ผู้มิได้เก็บวัตร
หรือ สำหรับผู้มิได้เก็บวัตรไม่มีกิจที่จะต้องสมาทานวัตรอีก
หมายความว่า ห้ามสมาทานวัตรซ้อนวัตรนั่นเอง
การบอกวัตร
การบอกวัตร นั้น ขณะประพฤติปริวาสไม่จำเป็นต้องบอกวัตรทุกวันก็ได้ แต่การบอกทุกวันก็ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร และการบอกวัตรต้องบอกแก่คณะสงฆ์ ที่เป็นอาจารย์กรรมหมดทุกรูปตราบใดที่ยังไม่ได้เก็บวัตร
เมื่อเห็นพระอาคันตุกะมาก็ต้องบอกวัตรเช่นกันไม่ว่าเวลาไหน
ถ้าไม่บอกก็เป็นรัตติเฉท ถ้ามีเจตนาไม่บอกก็เป็นอาบัติทุกกฎและในเวลาที่พระอาคันตุกะผ่านมาและบอกวัตรนั้น มีขอบเขตเช่นไร ซึ่งมีมติของพระสังฆเสนาภยเถระ ความว่า ได้ยินว่าเมื่อไม่บอกในวิสัยเป็นรัตติเฉทด้วยเป็นทุกกฎเพราะวัตตเภทด้วย แต่ในเหตุสุดวิสัยไม่เป็นทั้งสองอย่างฯ
(สมนต.๓/๒๘๙) ซึ่งเป็นมติที่เหมาะสม
ซึ่งการบอกวัตรนี้จะบอกใคร นิกายไหน หรือมีความแตกต่างไหนนั้น
ซึ่งในคัมภีร์บาลีเดิม หรือชั้นอรรถกถาไม่ได้ใช้คำว่า นิกาย แต่ดูความแตกต่างที่ลัทธิปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะมีนิยามเกี่ยวกับ นานาสังวาส และ สมานสังวาส เช่น
สงฆ์ฝ่ายธรรมยุต และสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย จะเป็นนานาสังวาส หรือสมานสังวาสนั้น จะได้นำความเห็นของพระอรรถกถาจารย์
เป็นดังนี้ ธรรมเป็นที่อยู่ร่วมกันมีอุโบสถเป็นต้นกับบุคคลใดมีอยู่
บุคคลนั้นชื่อว่า สังวาสเสมอกันฯ
บุคคลนอกนั้น ชื่อว่าผู้เป็นนานาสังวาสกันฯ
(สมนต.๓/๔๙๑) นั่นหมายถึง ไม่ว่าจะเป็นนิกายไหน มหานิกายหรือธรรมยุต
หากยังทำสังฆกรรมร่วมกัน ภายในอุโบสถเดียวกัน ก็เป็นสมานสังวาสกัน
ส่วนเรื่องเวลาบอกวัตรนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่มติของคณะสงฆ์อาจารย์กรรมเป็นผู้กำหนด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยแห่งสงฆ์ ซึ่งการบอกวัตรนี้สามารถกำหนดตั้งแต่ได้อรุณจนถึง ๙ โมงเช้า
ส่วนการบอกวัตรแก่พระอาคันตุกะ
ก็สุดแท้แต่สงฆ์จะเป็นผู้กำหนด จะบอกเป็นรายบุคคล หากมารูปเดียว หรือมาสองรูปบอกสองรูป
หรือสามรูป หรือสี่รูป ซึ่งถ้าสี่รูปจึงบอกเป็นสงฆ์
มารูปเดียว ใช้คำว่า มํ อายสมา ธาเรตุ
มาสองรูป ใช้คำว่า มํ อายสฺมนตา ธาเรนตุ
มาสามรูป ใช้คำว่า มํ อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ
ส่วนสี่รูป(องค์สงฆ์)ใช้คำว่า มํ สงฺโฆ ธาเรตุ
แต่เพื่อป้องกันความผิดพลาดและรัดกุมนั้น ควรบอกเป็นสงฆ์ดีที่สุด ไม่ว่าพระอาคันตุกะท่านจะมา หนึ่งรูป สองรูป สามรูป
หรือสี่รูป
หรือเกินนั้นก็ตาม เพราะถ้าบอกเป็นรายบุคคลก็ต้องนับพรรษาด้วย
ดังนั้นจึงบอกเป็นสงฆ์ดีที่สุด เพราะทุกอย่างเป็นสังฆกรรมที่กระทำโดยสงฆ์รับรองโดยสงฆ์ จึงใช้ มํ สงฺโฆ ธาเรตุ ดีที่สุด
|
|
|
|
การเก็บวัตร
การเก็บวัตร ก็คือ การพักวัตรไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งที่นิยมนั้นก็จะเก็บวัตรในเวลากลางวัน ทั้งนี้ก็เพราะเหตุที่ในเวลากลางวันนั้นอาจมีพระอาคันตุกะแวะเวียนผ่านมาบ่อย เมื่อเก็บวัตรแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องบอกวัตร ซึ่งประโยชน์ของการเก็บวัตรนั้นก็คือการไม่ต้องบอกวัตรบ่อยๆ
และประโยชน์ในการที่คณะสงฆ์ทำสังฆกรรม เช่น ในวันออกอัพภานซึ่งอาจจะมีสงฆ์ไม่ครบองค์ตามพระวินัยกำหนด
ซึ่งในกรณีนี้ท่านอนุญาตให้ พระอัพภานารหภิกษุ (ภิกษุผู้ควรเรียกเข้าหมู่) ผู้เก็บวัตรแล้วเข้าเป็นองค์นั่งในหัตถบาส เป็น ปูรกะภิกษุ ให้ครบองค์สงฆ์ตามพระวินัยกำหนดดังความว่า ก็เมื่อคณะไม่ครบพึงให้ปริวาสิกภิกษุเก็บวัตร แล้วทำให้เป็นคณะปูรกะก็ควรฯ ทั้งนี้เพราะภิกษุผู้เก็บวัตรแล้วก็คือ
ปกตัตตภิกษุ(สงฆ์ปกติ) ที่ไม่ได้เข้ากรรม หรือ ความว่าจริงอยู่ภิกษุนี้ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานะปกตัตตภิกษุ เพราะเธอเก็บวัตรเสียแล้วฯ" ดังนั้น ในวันออกอัพภาน จึงไม่ต้องเก็บวัตร เพราะต้องเสียเวลาในการสมาทานวัตรและบอกวัตร และประโยชน์ของการไม่เก็บวัตรในวันออกอัพภาน ก็เพราะถ้าเก็บวัตรแล้วไม่สมาทานวัตรใหม่ คณะสงฆ์ก็ไม่่สามารถสวดอัพภานให้ได้ เพราะสงฆ์จะทำกรรมกับผู้เก็บวัตรไม่ได้ ทั้งนี้เพราะผู้เก็บวัตรเป็น ปกตัตตภิกษุ ดังความว่า และสงฆ์จะทำอัพภานแก่ปกตัตตภิกษุย่อมไม่ควร
เพราะฉะนั้นพึงให้เธอสมาทานวัตร(ก่อน)ฯ เธอย่อมเป็นผู้ควรแก่อัพภาน ในเมื่อสมาทานวัตรแล้ว แม้เธอสมาทานวัตรแล้วก็ให้บอก(ก่อน)แล้วจึงขออัพภานฯ
นอกจากนี้ก็มีการเก็บวัตรเพื่อเป็นอุปัชฌาย์ในท่านที่เป็นอุปัชฌาย์
หรือเป็นอาจารย์สวด ในท่านที่เป็นพระกรรมวาจา ดังความว่า "เป็นอุปัชฌาย์ไม่พึงให้อุปสมบท
แต่จะเก็บวัตรแล้วให้อุปสมบทควรอยู่ฯ
เป็นพระกรรมวาจาแล้ว แม้กรรมวาจาก็ไม่ควรสวด เมื่อภิกษุอื่นไม่มีจะเก็บวัตรแล้วสวด สมควรอยู่ฯ แต่ทั้งนี้ก็ควรจะเอาไว้เป็นทางเลือกสุดท้ายตราบที่ยังมีสงฆ์ทำสังฆกรรมอยู่ ความว่า (ภิกษุผู้ประพฤติวุฏฐานวิธี)ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าในวิหาร คือไม่พึงเป็นผู้สวดปาฏิโมกข์ หรือ
เชิญแสดงธรรมฯ
สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาส พึงประพฤติชอบด้วยการประพฤติดังต่อไปนี้.. พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย
ที่นอนสุดท้ายที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอดังนี้ฯ"(วิ.จุล.๖/๗๖/๑๐๑)
|
|
|
|
|
|
ระเบียบขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๒.ความหมายของปริวาส
๐ ประเภทของปริวาสกรรม
๐ ปริวาสสำหรับสงฆ์-คฤหัสถ์
๐ ขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี
อ่านต่อ >>
|
๓.ประเภทของปริวาส
๐ อัปปฏิฉันนปริวาส
๐ ปฏิฉันนปริวาส
๐ สโมธานปริวาส
๐ สุทธันตปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๔.เงื่อนไขของปริวาส
๐ รัตติเฉท-วตตเภท
๐ สหวาโส-วิปวาโส
๐ อนาโรจนา
อ่านต่อ >> |
๕.วัตร..บอกวัดร-เก็บวัตร
๐ การสมาทานวัตร
๐ การบอกวัตร
๐ การเก็บวัตร
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๖.ขึ้นมานัต
๐ สหวาโส -วิปปวาโส
๐ อนาโรจนา-อูเน คเณ จรณํ
๐ การขอหมู่-สวดหมู่
๐ การขอหมู่-สวดเดี่ยว
๐ การขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว
อ่านต่อ>> |
๗.คำขอปริวาสกรรม
๐ คำขอสุทธันตะอย่างจุลสุทธันตะ
๐ กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส
๐ คำสมาทานปริวาส
๐ คำบอกสุทธันตปริวาส
๐ การเก็บปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๘.การขอมานัต
๐ คำขอสุทธันตขอมานัต
๐ กรรมวาจาให้มานัต
๐ คำสมาทานมานัต
๐ คำบอกมานัต
๐ คำเก็บมานัต
อ่านต่อ >> |
๙.การขออัพภาน
๐ คำขออัพภาน
๐ กรรมวาจาให้อัพภาน
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพกิจกรรมภายในวัด
หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร เมตตานำพระภิกษุสงฆ์ รับบิณฑบาตจากอุบาสก-อุบาสิกา ทุกเช้าภายในวัด เวลา ๐๗.๕๐ น.
อ่านต่อ>>
|
ภัตตาหาร-น้ำปานะบริการ..ฟรี
มีภัตตาหารถวายพระ
และบริการญาติธรรม
ตลอดงานปฏิบัติธรรม
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐อาคารที่พักญาติธรรม
มีอาคารที่พักของญาติธรรม ที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมแยกต่างหากเป็นสัดส่วน
๐ห้องน้ำ-ห้องสุขา
มีห้องน้ำ-ห้องสุขาภายในวัดประมาณ ๑๐๐ ห้อง
สะอาด สดวก ปลอดภัย อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|