ป ริ ว า ส ก ร ร ม
ปริวาสกรรม เป็นชื่อของสังฆกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งการอยู่ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า "การประพฤติวุฒฏฐานวิธี" หรือ ปริวาสกรรม
"ปริวาส เป็นพระวินัยสงฆ์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ หมายถึง "การอยู่ใช้ หรือ การอยู่รอบ หรืออยู่เพื่อ "พิสูจน์ตนเอง" โดยปริวาสมีในบุคคล ๒ ประเภท คือ สำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา และสำหรับบุคคลนอกศาสนา หรือบุคคลจากศาสนาอื่นที่ประสงค์จะเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องอยู่ปริวาสเพื่อพิสูจน์ตนเองว่าตั้งใจและมีศรัทธาที่แท้จริงต่อพระพุทธศาสนา ไม่ได้ปลอมตัวมาบวชเพื่อมาทำลายพระพุทธศาสนา เช่นในสมัยพุทธกาลมีตัวอย่างคือสุภัททะปริพาชก ที่เคยเป็นคนนอกศาลนาที่นับถือลัทธิอื่นมาก่อน เมื่อมีศรัทธามาขอบวช พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตโดยให้สุภัททะปริพาชกได้พิสูจน์ตนเองโดยการอยู่ปริวาสกรรม ซึ่งสุภัททะเมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอรหันต์องค์สุดท้ายที่ทันได้บวชกับพระพุทธองค์ สุภัททะปริพาชก จึงยอมตนขออยู่ปริวาสรับใช้สงฆ์สาวกเป็นเวลาถึง ๔ ปี แม้ในปัจจุบันก็ยังมีชาวต่างชาติที่มีศรัทธามาขอบวชในพระพุทธศาสนา ครูบาอาจารย์สายวัดป่าท่านจึงให้อยู่เป็นผ้าขาวรับใช้พระภิกษุสงฆ์ในวัดเป็นเวลานาน เพื่อพิสูจน์ตนอง จนกว่าจะแน่ใจว่าบุคคลผู้นั้นมีศรัทธาและความตั้งใจแน่วแน่ในการที่จะบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อเห็นว่าบุคคลผู้นั้นมีศรัทธาจริงและตั้งใจแน่วแน่ พระอุปัชฌาย์จึงทำการบรรพชา-อุปสมบทให้ ดังมีตัวอย่างให้เห็นในปัจจุบันหลายแห่ง
ปริวาสกรรม หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประพฤติวุฏฐานวิธี คือ อยู่ให้ครบกระบวนการของการอยู่ปริวาสกรรม ตามพระวินัยของสงฆ ์เพื่อเป็นการชำระศีลาจารวัตรให้บริสุทธิ์
เหตุแห่งการอยู่ปริวาสกรรม
การอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ เป็นพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ ชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์จากการล่วงละเมิดสิกขาบท ๑๓ ประการ ซึ่งเรียกโทษที่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นว่า สังฆาทิเสส และจะชำระศีลโดยวิธีอื่นไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้ชำระด้วยการอยู่ปริวาสกรรมเท่านั้น
สังฆาทิเสส คือ ประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติ ที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด ๑๓ ประการดังนี้
- พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
- แตะต้องสัมผัสกายสตรี
- พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
- ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
- ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
- สร้างกุฏิด้วยการขอ
- มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
- ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
- แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
- ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
- เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
- ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
- ประจบสอพลอคฤหัสถ์
คำว่าสังฆาทิเสส แปลว่า อาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือ เมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ ๔ รูปเพื่อขอประพฤติวัตรที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา ๖ คืน เมื่อพ้นแล้วจึงขอให้สงฆ์ ๒๐ รูป ทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติเหล่านี้
ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรมเท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาสหนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป
พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่ปริวาสกรรม สำหรับบุคคล ๒ ประเภท คือ
- ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์หรือคนนอกศาสนา
- ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่แล้วในพระพุทธศาสนาแต่ต้องครุกาบัติ
ปริวาสมี ๔ ชนิด คือ
- อัปปฏิจฉันนปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องครุกาบัติแล้วไม่ปิดไว้
- ปฏิจฉันนปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องครุกาบัติแล้วปิดไว้ ซึ่งนับวันได
- สุทธันตปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ มีส่วนเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง
- สโมธานปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ครุกาบัติแล้วปิดไว้ ต่างวันที่ปิดบ้าง ต่างวัตถุที่ต้องบ้าง
|
|
พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสังวโร
เมตตาแสดงธรรม |
|
ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์
ปริวาส คำนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เนื่องด้วยมีคฤหัสถ์มากมายที่ไม่ใช่ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา หรือ
ไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
หรือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่น ๆ
มาก่อน ซึ่งคนจำพวกนี้เรียกว่า เดียรถีย์ซึ่งเดียรถีย์เหล่านั้นเมื่อได้ฟังพระธรรม จากพระพุทธเจ้าบ้าง หรือพระอัครสาวกบ้าง ก็เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธในพระพุทธศาสนา คิดจะเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา โดยจะยังครองเพศเป็นคฤหัสถ์เช่นเดิม หรือจะขอบวชก็ตามพระพุทธเจ้าทรงพิจารณา เห็นว่าควรจะให้คนเหล่านี้ได้อบรมตน ให้เข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาเสียก่อน
เป็นเวลา ๔ เดือน
จึงได้ทรงอนุญาตให้อยู่ประพฤติตนเรียกว่า ติตถิยปริวาส ไว้
ผู้ที่ถูกกำหนดว่าเป็นเดียรถีย์ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนนั้นได้แก่
- เดียรถีย์ หรือคนนอกศาสนาที่ไม่เคยบวชในพระศาสนานี้มาและ
- อาชีวก ได้แก่คนที่นุ่งผ้าสไบเฉียงข้างบนผืนเดียว
ส่วนข้างล่างเปลือย
- อเจลกะ ได้แก่คนที่เปลือยกายทั้งหมด ควรให้ปริวาส ๔ เดือน
คือ ติตถิยปริวาส ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอัปปฏิจฉันนปริวาสฯ (สมนต.๓/๕๓-๕๔)
- ปริพาชก คือส่วนที่เป็นดาบสชีปะขาวอื่น
เป็นต้น ยังมีผ้าพันกายเป็นเครื่องหมายของลัทธิอยู่ ถือว่าได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องอยู่ปริวาสก่อน
๔ เดือน
เพราะท่านเหล่านี้
เรียกว่า สันสกฤติสัทธาได่แก่ผู้ที่มุ่งหน้าเข้ามาหาหรือถามปัญหาโดยมีศรัทธาเป็นประธาน ซึ่งก็ได้แก่ผู้ที่เป็นสาวกบารมีญาณแก่กล้าเต็มที่แล้วนั่นเอง
ในทางคัมภีร์ชั้นบาลีนั้น ผู้ที่ไม่ได้เป็นชีเปลือยก็เคยมีปรากฏว่าอยู่ติตถิยปริวาสมาบ้างแล้ว ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตติตถิยปริวาส ๔ เดือน นี้ ได้แก่พวกเดียรถีย์
(วินย.๔/๘๖/๑๐๑-๒) ท่านหมายเอาคนนอกศาสนาผู้มีความเห็นผิดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิเข้าด้วย เช่น สถิยพราหมณ์ ผู้นึกดูหมิ่นพระพุทธเจ้า (สภิยสูตร ๒๕/๕๔๘) และปสุรปริพาชกผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ เป็นต้น คนเหล่านี้ก็ยังมีเสื้อผ้าอยู่ และการอนุญาตติยถิยปริวาสให้แก่อเจลกกัสสปะ ชาวเมืองอุชุญญนคร ซึ่งทั้งสามท่านที่ยกตัวอย่างมานี้ ภายหลังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงขออยู่ปริวาสถึง ๔ ป
|
|
|
|
ปริวาสสำหรับพระภิกษุสงฆ์
ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์นี้ เป็นปริวาสตามปกติสำหรับภิกษุผู้บวชอยู่แล้วในพระพุทธศาสนา
ซึ่งตามพระวินัยบัญญัติ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระวินัยไว้ให้สงฆ์ปฏิบัติตาม แต่หากสงฆ์ประมาทพลาดพลั้งกระทำผิดพระวินัย เรียกว่า อาบัติ ซึ่ง อาบัติ หมายถึง การต้องโทษทาง พระวินัย ก็ทรงบัญญัติมีหนทางให้สงฆ์ได้แก้ไขตนเองตามแต่วิธีที่ทรงบัญญัติไว้
พระวินัย หมายถึง กฎระเบียบข้อบังคับของสงฆ์หรือขนมธรรมเนียมประเพณีที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปในทางเดียวกันของหมู่ภิกษุสงฆ์เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เพื่อมีอาจาระอันงามเป็นระเบียบเรียบร้อย อันจะนำไปสู่การประพฤติปฏิบัติชอบ เป็นการเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติธรรมทางจิตต่อไป พระวินัยนี้ก็เปรียบกับกฎระเบียบหรือกฏหมายของบ้านเมืองของสังคมทางโลกที่ต้องปฏิบัติตาม
พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติพระวินัย(สิกขาบท)หรือศีล ไว้เป็นกฎข้อบังคับสำหรับพระสาวกได้ปฏิบัติ ซึ่งพระวินัยที่ทรงบัญญัตินั้นมีลักษณะใหญ่ๆ ๒ ประการ คือ
- พุทธบัญญัติ คือ ข้อที่พระองค์บัญญัติไว้ห้ามมิให้ประพฤติ ถ้าภิกษุรูปใดฝ่าฝืนพุทธบัญญัตินี้ จะมีโทษปรับอาบัติตั้งแต่เบาๆ จนถึงมีโทษหนักที่สุด คือ ขาดจากความเป็นภิกษุ
- อภิสมาจาร คือ ข้อปฏิบัติหรือขนมธรรมเนียมที่พระสงฆ์จะต้องประพฤติตาม เพื่อให้มีอาจาระเป็นที่น่าเลื่อมใสแก่ผู้พบเห็น เช่น การตัดผม การตัดเล็บ การอาบน้ำ การนุ่งห่ม การยืน การเดิน การนั่ง การนอน การฉันขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งพระวินัยในส่วนนี้ไม่มีการปรับอาบัติไว้โดยตรง แต่หากสงฆ์ไม่เอื้อเฟื้อตามวิธีปฏิบัตินี้ ก็ปรับโทษเพียงอาบัติเบาๆ คือทุกกฏเท่านั้น
โดยพระวินัยทั้งสิ้นที่บัญญัติรับเป็นข้อปฏิบัติของสงฆ์ โดยพระวินัยนั้นได้ถูกจัดหมวดหมู่แบ่งออกเป็น
- ปราชิก ๔
- สังฆาทิเสส ๑๓
- อนิยต ๒
- นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
- ปาจิตตีย์ ๙๒
- ปาฏิเทสนียะ ๔
- เสขิยวัตร ๗๕
- อธิกรณสมถะ ๗
รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๒๗ ข้อ ซึ่งก็คือศีลสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จำนวน ๒๒๗ ข้อการที่ภิกษุสงฆ์กระทำพลาดพลั้งผิดพระวินัย เรียกว่า อาบัติ ซึ่ง อาบัติ หมายถึง การต้องโทษทาง พระวินัย เพราะทำความผิดต่อพระพุทธบัญญัติ หรืออภิสมาจารที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ ห้ามมิให้ประพฤติ ผู้ฝ่าฝืนต้องมีโทษตามที่กำหนดไว้ในพระวินัยแต่ละสิกขาบท ซึ่งมีการกำหนดโทษไว้ลดหลั่นกันไปจาก
- โทษหรืออาบัติที่หนักที่สุดคือขาดจากความเป็นภิกษได้แก่ ปราชิก๔
- โทษอย่างกลางต้องอยู่กรรมประพฤติมานัตจึงจะพ้นได้ ได้แก่สังฆาทิเสส ๑๓
- โทษอย่างเบาต้องประจานตนเองต่อหน้าภิกษุอื่นหรือคือการปลงอาบัติจึงจะพ้นได้ ซึ่งการลงโทษในทางพระวินัยไม่มีความยุ่งยาก ไม่ต้องสอบสวนหาผู้กระทำความผิด ยกเว้นอาบัติปาราชิกและอาบัติสังฆาทิเสส เช่นการลักทรัพย์ที่เจ้าของมิได้ให้ เป็นต้น
เมื่อสงฆ์กระทำผิดพระวินัยในแต่ละหมวดหมู่ ก็จะมีโทษให้กระทำคืนตามพระวินัยบัญญัติไว้
การอยู่ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จึงจำเป็นให้ประพฤติปริวาสตามเงื่อนไขทางพระวินัย และ เงื่อนไขของสงฆ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการประพฤติวุฏฐานวิธี
การประพฤติวุฏฐานวิธี
วุฏฐานวิธี คือ กฎระเบียบเป็นเครื่องออกจากอาบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับภิกษุเพื่อออกจากครุกาบัติ มีทั้งหมด ๔ ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนการประพฤติวุฎฐานวิธี แบ่งเป็น ๔ ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
- ปริวาส หรือ การอยู่ประพฤติปริวาส หรือ อยู่กรรม (โดยสงฆ์เห็นชอบที่ ๓ ราตรี)
- มานัต การอยู่ประพฤติมานัต ๖ ราตรี หรือนับราตรี ๖ ราตรีแล้วสงฆ์สวดระงับอาบัติ
- อัพภาน หรือ การเรียกเข้าหมู่ โดยพระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดให้อัพภาน
- ปฏิกัสสนา ประพฤติมูลายปฏิกัสสนา (ถ้าต้องอันตราบัติในระหว่างหรือการชักเข้าหาอาบัติเดิม)
ทั้ง ๔ ขั้นตอนนี้รวมกันเข้าเรียกว่า การประพฤติวุฎฐานวิธี แปลว่า ระเบียบหรือขั้นตอนปฏิบัติตนเพื่อออกจากอาบัติ
การประพฤติวุฏฐานวิธีประกอบด้วยสงฆ์ ๒ ฝ่าย
ขั้นตอนการประพฤติวุฎฐานวิธีนั้น จะต้องประกอบด้วยสงฆ์ที่ทำสังฆกรรม คือ
ประกอบด้วยคณะสงฆ์ ๒ ฝ่าย
- พระภิกษุผู้ประพฤติปริวาส หรือ ภิกษุผู้อยู่กรรม หรือ พระลูกกรรม คือสงฆ์ที่ต้องอาบัติ แล้วประสงค์ที่จะออกจากอาบัตินั้น จึงไปขอปริวาสเพื่อประพฤติวุฏฐานวิธี ตามขั้นตอนที่พระวินัยกำหนด
- พระปกตัตตะภิกษุ (ปะ-กะ-ตัด-ตะ)หรือคณะสงฆ์พระอาจารย์กรรม(หรือพระพี่เลี้ยง) ซึ่งเป็นสงฆ์ฝ่ายที่พระวินัยกำหนดให้เป็นผู้ควบคุมดูแลความประพฤติของสงฆ์ฝ่ายแรก ผู้ขอปริวาสซึ่งสงฆ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอนุเคราะห์เกื้อกูลนี้ ทำหน้าที่เป็น พระปกตัตตะภิกษุ หรือ ภิกษุโดยปกติพระภิกษุผู้มีศีลไม่ด่างพร้อย
|
|
ระเบียบขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๒.ความหมายของปริวาส
๐ ประเภทของปริวาสกรรม
๐ ปริวาสสำหรับสงฆ์-คฤหัสถ์
๐ ขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี
อ่านต่อ >>
|
๓.ประเภทของปริวาส
๐ อัปปฏิฉันนปริวาส
๐ ปฏิฉันนปริวาส
๐ สโมธานปริวาส
๐ สุทธันตปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๔.เงื่อนไขของปริวาส
๐ รัตติเฉท-วตตเภท
๐ สหวาโส-วิปวาโส
๐ อนาโรจนา
อ่านต่อ >> |
๕.วัตร..บอกวัดร-เก็บวัตร
๐ การสมาทานวัตร
๐ การบอกวัตร
๐ การเก็บวัตร
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๖.ขึ้นมานัต
๐ สหวาโส -วิปปวาโส
๐ อนาโรจนา-อูเน คเณ จรณํ
๐ การขอหมู่-สวดหมู่
๐ การขอหมู่-สวดเดี่ยว
๐ การขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว
อ่านต่อ>> |
๗.คำขอปริวาสกรรม
๐ คำขอสุทธันตะอย่างจุลสุทธันตะ
๐ กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส
๐ คำสมาทานปริวาส
๐ คำบอกสุทธันตปริวาส
๐ การเก็บปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๘.การขอมานัต
๐ คำขอสุทธันตขอมานัต
๐ กรรมวาจาให้มานัต
๐ คำสมาทานมานัต
๐ คำบอกมานัต
๐ คำเก็บมานัต
อ่านต่อ >> |
๙.การขออัพภาน
๐ คำขออัพภาน
๐ กรรมวาจาให้อัพภาน
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพกิจกรรมภายในวัด
หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร เมตตานำพระภิกษุสงฆ์ รับบิณฑบาตจากอุบาสก-อุบาสิกา ทุกเช้าภายในวัด เวลา ๐๗.๕๐ น.
อ่านต่อ>>
|
ภัตตาหาร-น้ำปานะบริการ..ฟรี
มีภัตตาหารถวายพระ
และบริการญาติธรรม
ตลอดงานปฏิบัติธรรม
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐อาคารที่พักญาติธรรม
มีอาคารที่พักของญาติธรรม ที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมแยกต่างหากเป็นสัดส่วน
๐ห้องน้ำ-ห้องสุขา
มีห้องน้ำ-ห้องสุขาภายในวัดประมาณ ๑๐๐ ห้อง
สะอาด สดวก ปลอดภัย อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|