ปริวาสแต่ละประเภท
ปริวาสกรรม ขั้นตอนการอยู่ประพฤติปริวาส พระวินัยกำหนดไว้จะกี่ราตรี
การนับราตรีนี้มีอยู่หลายแบบสกรรม ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของปริวาสนั้นๆ ว่าสงฆ์ท่านขอปริวาสอะไร ซึ่งลักษณะและเงื่อนไขของปริวาสแต่ละประเภทนั้นพอจะสังเขปได้คือ
อัปปฏิฉันนปริวาส
อัปปฏิฉันนปริวาส ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาถูกจัดให้เป็นปริวาสสำหรับพวกเดียรถีย
ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเมื่อพวกเดียรถีย์มีศรัทธาเลื่อมใส และมีความประสงค์ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ก็อนุญาตให้คนเหล่านี้ต้องอยู่ประพฤติอัปปฏิฉันนปริวาสนี้เป็นเวลา ๔ เดือน และการอยู่ประพฤติอัปปฏิฉันนปริวาสของพวกเดียรถีย์นี้จะไม่มีการบอกวัตร จึงทำให้อัปปฏิฉันนปริวาสนำไปใช้ในสมัยพระพุทธองค์เท่านั้นและถูกยกเลิกไป
ปฏิจฉันนปริวาส
ปฏิจฉันนปริวาส แปลว่า อาบัติที่ต้องครุกาบัติเข้าแล้วปิดไว้ เมื่อขอปริวาสประเภทนี้
จะต้องอยู่ประพฤติให้ครบตามจำนวนราตรีที่ตนปิดไว้นั้น โดยไม่มีการประมวลอาบัติใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานเท่าใดก็ต้องประพฤติปริวาสนานเท่านั้น
ดังในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา กล่าวถึงการปิดอาบัติไว้นานถึง ๖๐ ปี(สมนต.๓/๓๐๓) ในคัมภีร์จุลวรรคยังได้กล่าวถึง พระอุทายีที่ต้องอาบัติสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิแล้วปิดไว้หนึ่งวัน เมื่อท่านประสงค์จะประพฤติปริวาส พระพุทธองค์จึงมีพระดำรัสให้สงฆ์จตุวรรคให้ปริวาสแก่ท่านเพียงวันเดียว ซึ่งเรียกว่า เอกาหัปปฏิจฉันนาบัติ ซึ่งเท่ากับท่านอยู่ปริวาสเพียงวันเดียวเท่านั้น(วิ.จุล.๖/๑๐๒/๒๒๘)
สโมธานปริวาส
สโมธานปริวาส คือ ปริวาสที่ประมวลอาบัติที่ต้องแต่ละคราวเข้าด้วยกัน แล้วอยู่ประพฤติปริวาสตามจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานที่สุด ซึ่งในขณะที่กำลังอยู่ประพฤติปริวาส ประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่นั้น ภิกษุนั้นต้องครุกาบัติซ้ำเข้าอีก
ไม่ว่าจะเป็นอาบัติเดิมหรืออาบัติใหม่ที่ต้องเพิ่มขึ้น ซึ่งทางวินัยเรียกว่า
มูลายปฏิกัสสนา หรือ ปฏิกัสสนา แปลว่า การชักเข้าหา อาบัติเดิม
หรือ กิริยาที่ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่ง มูลายปฏิกัสสนา นั้น ถึงต้องในระหว่าง
ก็ไม่ได้ทำให้การอยู่ปริวาสเสียหายแต่ประการใด เพียงแต่ทำให้การประพฤติปริวาสล่าช้าไปเท่านั้นเอง จึงทำให้ภิกษุนั้นต้องขอปฏิกัสสนากับสงฆ์
๔ รูป
ซึ่งปริวาสในครั้งที่ ๒ ที่ต้องซ้ำเข้ามานี้จะเป็นปริวาสชนิดใดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังนี้ คือ
- ในขณะกำลังประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่แล้วต้องอาบัติตัวเดิมหรือตัวใหม่ซ้ำเข้าแล้วปกปิดไว้ ถ้าปิดไว้เช่นนี้ต้องขอปฏิกัสสนาแล้วต้องขอสโมธานปริวาส เพื่อที่จะประมวลอาบัติที่ต้องในระหว่างเข้าปริวาส กับอาบัติตัวเดิมที่เคยต้องมาแล้วอยู่ประพฤติปริวาสจนครบกับจำนวนราตรีที่ภิกษุท่านปกปิดไว้
เหตุที่ต้องขอ สโมธานปริวาส เท่านั้น เพราะสโมธานปริวาสเหมาะสำหรับอาบัติที่ปิดไว้ เพื่อให้รู้ว่าปิดไว้กี่วัน ซึ่งคณะสงฆ์จะได้ประมวลเข้ากับอาบัติเดิมที่อยู่มาก่อน เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติขอปริวาสไว้
๑๕ ราตรี พออยู่ไปได้ ๕ ราตรี ภิกษุท่านต้องอาบัติซ้ำ หรือเพิ่มขึ้นอีกแล้วท่านปิดไว้ไม่ได้บอกใคร พอถึงราตรีที่ ๑๒ ก็นับว่าท่านปิดอาบัติที่ต้อง ครุกาบัติซ้ำเข้าไปนั้นแล้ว (๑๒-๕)เท่ากับ ๗ ราตรี และการที่ท่านอยู่ปริวาสมาจนถึงราตรีที่ ๑๒ ในจำนวน ๑๕ ราตรีที่ขอนั้น ก็เท่ากับท่านได้เพียงแค่ ๕ ราตรีเท่านั้นที่ไม่เกิดอาบัติซ้ำ ส่วนอีก ๗ ราตรีที่ประพฤติปริวาสไปแล้วนั้นถือเป็นโมฆะนับราตรีไม่ได้ คณะสงฆ์ก็ต้องให้สโมธานปริวาส ประมวลอาบัติที่ปิดไว้ ๗ ราตรี รวมกับส่วนที่ต้องครุกาบัติก่อนแล้วท่ากับต้องอยู่ประพฤติปริวาส รวมทั้งหมดเป็น ๒๒ วันนับแต่ราตรีที่ ๑
หรือหากนับจากราตรีที่ ๖ ไปอีก ๑๗ วัน
- ถ้าต้องอันตราบัติแล้วภิกษุท่านนั้นมิได้ปกปิดไว้ ก็ขอปฏิกัสสนากับสงฆ์แล้วก็ขอมานัตได้เลย
- ถ้าไม่ต้องอาบัติตัวใดซ้ำหรือเพิ่มเติมในขณะอยู่ประพฤติปริวาสก็ให้ประพฤติปริวาสนั้น ตามเงื่อนไขของการอยู่ประพฤติปริวาสตามปกติ
|
|
|
|
สุทธันตปริวาส
เป็นปริวาสที่ไม่มีกำหนดแน่นอน นับราตรีไม่ได้
ในปัจจุบันนี้นิยมจัดแต่สุทธันตปริวาส ทั้งนี้ก็เพราะเป็นปริวาสที่จัดว่าอยู่ในดุลยพินิจของสงฆ์
อยู่ในอำนาจของสงฆ์
คือให้สงฆ์เป็นใหญ่ หากคณะสงฆ์จะให้อยู่ถึง ๕ ปีก็ต้องยอมปฏิบัติตาม โดยไม่มีทางเลือกและถ้าสงฆ์ให้อยู่ราตรีหนึ่ง
หรือสองราตรีแล้วขอมานัตได้ก็ถือว่าเป็นสิทธิของคณะ สงฆ์ และทั้งนี้ก็เพราะสุทธันตปริวาสนี้
มีเงื่อนไขน้อยที่สุดแต่ให้้ความมั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติมากที่สุดซึ่งภิกษุที่ท่านขอปริวาส
สุทธันตปริวาส มี ๒ ลักษณะ ดังนี้ คือ
- จุฬสุทธันตปริวาส แปลว่า สุทธันตปริวาสอย่างย่อย คือปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติหลายคราว แต่ละคราวก็ปิดไว้ แต่ก็ยังพอจำจำนวนอาบัติได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งได้บ้าง จึงขอจุฬสุทธันตปริวาสและอยู่ประพฤติปริวาส จนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์
แต่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้คณะสงฆ์ก็นิยมสมมติให้อยู่ ๓ ราตรีเป็นเกณฑ์ น้อยกว่านี้ไม่ได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ไม่เป็นไร
- มหาสุทธันตปริวาส คือ สุทธันตปริวาสอย่างใหญ่ คือ ปริวาสของภิกษุ ผู้ต้องครุกาบัติหลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ จำจำนวนอาบัติไม่ได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งไม่ได้ จึงขอจุฬสุทธันตปริวาส และอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ โดยการกะประมาณว่าตั้งแต่บวชมาจนถึงเวลาใด ที่ยังไม่ต้องครุกาบัติเลยเช่น อาจบวชมาได้ ๑ เดือน แต่ต้องครุกาบัติจนเวลาล่วงผ่านไปแล้ว ๕ เดือน ๑๐ เดือนหรือ ๑ ปี แต่จำจำนวนที่แน่นอนไม่ได้เลย จึงต้องขอปริวาสและกะประมาณว่าประมาณ ๑ เดือนนั้น ในความรู้สึก ก็ถือว่าบริสุทธิ์และใช้ได้ ซึ่งมหาสุทธันตปริวาสนี้ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะยุ่งยากและกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้
|
|
ระเบียบขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๒.ความหมายของปริวาส
๐ ประเภทของปริวาสกรรม
๐ ปริวาสสำหรับสงฆ์-คฤหัสถ์
๐ ขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี
อ่านต่อ >>
|
๓.ประเภทของปริวาส
๐ อัปปฏิฉันนปริวาส
๐ ปฏิฉันนปริวาส
๐ สโมธานปริวาส
๐ สุทธันตปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๔.เงื่อนไขของปริวาส
๐ รัตติเฉท-วตตเภท
๐ สหวาโส-วิปวาโส
๐ อนาโรจนา
อ่านต่อ >> |
๕.วัตร..บอกวัดร-เก็บวัตร
๐ การสมาทานวัตร
๐ การบอกวัตร
๐ การเก็บวัตร
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๖.ขึ้นมานัต
๐ สหวาโส -วิปปวาโส
๐ อนาโรจนา-อูเน คเณ จรณํ
๐ การขอหมู่-สวดหมู่
๐ การขอหมู่-สวดเดี่ยว
๐ การขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว
อ่านต่อ>> |
๗.คำขอปริวาสกรรม
๐ คำขอสุทธันตะอย่างจุลสุทธันตะ
๐ กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส
๐ คำสมาทานปริวาส
๐ คำบอกสุทธันตปริวาส
๐ การเก็บปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๘.การขอมานัต
๐ คำขอสุทธันตขอมานัต
๐ กรรมวาจาให้มานัต
๐ คำสมาทานมานัต
๐ คำบอกมานัต
๐ คำเก็บมานัต
อ่านต่อ >> |
๙.การขออัพภาน
๐ คำขออัพภาน
๐ กรรมวาจาให้อัพภาน
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพกิจกรรมภายในวัด
หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร เมตตานำพระภิกษุสงฆ์ รับบิณฑบาตจากอุบาสก-อุบาสิกา ทุกเช้าภายในวัด เวลา ๐๗.๕๐ น.
อ่านต่อ>>
|
ภัตตาหาร-น้ำปานะบริการ..ฟรี
มีภัตตาหารถวายพระ
และบริการญาติธรรม
ตลอดงานปฏิบัติธรรม
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐อาคารที่พักญาติธรรม
มีอาคารที่พักของญาติธรรม ที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมแยกต่างหากเป็นสัดส่วน
๐ห้องน้ำ-ห้องสุขา
มีห้องน้ำ-ห้องสุขาภายในวัดประมาณ ๑๐๐ ห้อง
สะอาด สดวก ปลอดภัย อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|