ปริวาสกรรม
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
เชิญร่วมงาน ปฏิบัติธรรม
ปริวาสกรรม
1-10 กุมภาพันธ์ 2568
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
- วันที่ 1 กุมภาพันธ์..ขอปริวาส
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์..ขึ้นมานัต
- วันที่ 10 กุมภาพันธ์..ออกอัพภาน
|
ปริวาสกรรมประจำปี มี 2 ครั้ง
๑.ปริวาสกรรมเดือน กุมภาพันธ์
- วันที่ ๑ กุมภาพันธ์..ขอปริวาส
- วันที่ ๔ กุมภาพันธ์..ขึ้นมานัต
- วันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์..ออกอัพภาน
๒.ปริวาสกรรมก่อนเข้าพรรษา ๑๕ วัน
-
วันแรก.......ขอปริวาส
-
ราตรีที่สาม..ขึ้นมานัต
-
วันสุดท้าย ..ออกอัพภาน
- การนับวันอยู่ปริวาสกรรมก่อนเข้าพรรษา โดยในแต่ละปีให้นับวันเข้าพรรษาตามปฏิทินสากล วันเข้าพรรษาในปฏิทิน ตรงกับวันที่ไหน ให้นับจากวันนั้นย้อนหลังก่อนเข้าพรรษาลงมา ๑๕ วัน ตรงกับวันที่อะไรในปฏิทินของแต่ละปี ให้นับวันที่ันั้นเป็นวันเริ่มขอปริวาสกรรมก่อนเข้าพรรษา ๑๕ วัน
- การนับจำนวนวันย้อนลงมา ๑๕ วัน เพราะเมื่ออยู่ประพฤติวัตรครบ ๑๐ จะยังคงเหลือเวลาอีก ๕ วัน สำหรับอำนวยความสะดวกแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่ท่านจะต้องเดินทางกลับไปยังวัดที่จะอยู่จำพรรษา จะได้ไม่เป็นการฉุกละหุกเกินไป พระภิกษุท่านจะได้เดินทางโดยไม่ต้องรีบเร่งมากนัก
หมายเหตุ :
- บิณฑบาตภายในวัดเวลา ๐๗.๓๐ น. ทุกวัน
- สำหรับพระภิกษุผู้อยู่ปริวาสให้นำบาตร กลด ของใช้ส่วนตัวไปด้วย
- หากไม่มีกลดของตนเองให้ติดต่อขอยืมที่กองอำนวยการของวัดได้
|
|
พระครูจันทนิภากร
(ลพ.ถวิล จนฺทสโร)
ประธานสงฆ์วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ |
|
ปฏิสันถารคารวตา
ทุกวันนี้งานปริวาสกรรมได้จัดขึ้นมากมายตามวัดและสำนักสงฆ์ต่างๆ ทั่วทุกภาคของประเทศไทย และดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ข้าพเจ้าเห็นความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในส่วนของงานปริวาสกรรม จึงมีศรัทธาจัดงานปริวาสกรรมขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ซึ่งกำหนดการจัดปริวาสกรรม สำหรับพระภิกษุนั้นจะมีขึ้นในวันที่ ๑-๑๐ กุมภาพันธ์ของทุกปี และ ปริวาสกรรมก่อนเข้าพรรษา ๑๕ วัน ในแต่ละครั้งนั้นจะมีพระภิกษุสงฆ์จากทั่วประเทศได้เข้ามาประพฤติปริวาสเป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังมีสามเณร อุบาสก-บาสิกา เข้ามาร่วมปฏิบัติธรรมด้วยเช่นกัน
ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดทำสังฆกรรมงานปริวาสกรรม นี้
จะยังประโยชน์ต่อพระภิกษุสงฆ์ และผู้สนใจใฝ่ในธรรมทุกท่าน
ซึ่งกุศลธรรมทั้งมวลที่ข้าพเจ้า และ คณะสงฆ์ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ ได้มีเจตนากระทำแล้วนี้
ขอถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา เพื่อประโยชน์เกื้อกูลต่อพระพุทธศาสนาสืบไป
พระครูจันทนิภากร (ถวิล จนฺทสโร)
คณะสงฆ์ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ต.ธารทอง อ.พาน จ.เชียงราย
โทรศพท์ : (๐๕๓) ๑๘๔-๓๒๕
เหตุแห่งการอยู่ปริวาสกรรม
การอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ เป็นพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ ชำระศีลของตนให้บริสุทธิ์จากการล่วงละเมิดสิกขาบท ๑๓ ประการ ซึ่งเรียกโทษที่ล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นว่า สังฆาทิเสส และจะชำระศีลโดยวิธีอื่นไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงกำหนดให้ชำระด้วยการอยู่ปริวาสกรรมเท่านั้น และอานิสงส์อีกประการที่พระภิกษุสงฆ์ท่านเข้าประพฤติวัตร ปฏิบัติธรรมปริวาสกรรม คือ การอยู่เพื่อลดทิฏฐิในตน เช่น พระภิกษุที่มีพรรษามาก หรือมีตำแหน่งทางการปกครอง ก็เข้าปฏิบัติธรรมเพื่อลดทิฏฐิ ยอมเคารพกราบไหว้พระภิกษุที่มีพรรษาอ่อนกว่า หรือแม้เป็นพระใหม่เพิ่งบวชได้เพียงวันเดียวก็ตาม แม้การเข้าประพฤติวุฒฐานวิธีจะระบุในสังฆาทิเสส ๑๓ ประการ ก็จริงอยู่ แต่โดยนัยแห่งการประพฤติปฏิบัติก็ยังมีให้เข้าร่วมประพฤติวัตรได้
สังฆาทิเสส คือ ประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติ ที่เรียกว่า
อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด ๑๓ ประการดังนี้
- แตะต้องสัมผัสกายสตรี
- พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
- พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
- ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
- ทำตัวเป็นพ่อสื่อ เช่นเป็นพระหมอดู ชักสื่อให้ชาย-หญิงมีความสมัครรักใคร่ในกาม
- สร้างกุฏิด้วยการขอ
- มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
- ใส่ความว่า ปาราชิกโดยไม่มีมูล
- แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่า ปาราชิกโดยไม่มีมูล
- ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
- เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
- ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
- ประจบสอพลอคฤหัสถ์
คำว่าสังฆาทิเสส แปลว่า อาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือ เมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ ๔ รูปเพื่อขอประพฤติวัตรที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา ๖ คืน เมื่อพ้นแล้วจึงขอให้สงฆ์ ๒๐ รูป ทำสังฆกรรมสวดอัพภานให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติเหล่านี้
ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของ "ปริวาสกรรม"
- เพื่อดำรงพระธรรมวินัยให้ยั่งยืน เพราะมีครูบาอาจารย์มาให้ความรู้ทางธรรม
ทั้งด้านปริยัติธรรม และการปฏิบัติธรรม
- เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรที่บวชมาในพระพุทธศาสนา และต้องการชำระสิกขาบท(ศีล)ให้บริสุทธิ์
- เพื่อเปิดโอกาสให้นักปฏิบัติธรรมทั้งพระภิกษุ-สามเณร อุบาสก-อุบาสิกา ได้เจริญสมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน
- เป็นการรวมพระภิกษุต่างถิ่นต่างอาวาสได้อย่างมาก
บ่งบอกถึงความสามัคคีในหมู่สงฆ์ ว่ายังแน่นแฟ้นดีอยู่
เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญในพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย..
การแสวงหาทางออกอย่างพวกเธอนี้ประเสริฐแท้ การแก่งแย่งกันเป็นใหญ่เป็นโตนั้น ในที่สุดทุกคนก็รู้เอง
เหมือนแย่งกันเข้าไปสู่กองไฟ มีแต่ความรุ่มร้อนกระวนกระวาย
เสนาบดีดื่มน้ำด้วยภาชนะทองคำ กับคนจนดื่มน้ำด้วยภาชนะที่ทำจากกะลามะพร้าวฉันใด.. เมื่อมีความพอใจ ย่อมมีความสุขเท่ากัน
นี่เป็นข้อยืนยันว่าความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ..
อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมมุงด้วยใบไม้
ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่า
แน่นอนทีเดียว คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนั้นมิใช่คนใหญ่คนโต
แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุข สงบเยือกเย็น
ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย
|
|
ระเบียบขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๒.ความหมายของปริวาส
๐ ประเภทของปริวาสกรรม
๐ ปริวาสสำหรับสงฆ์-คฤหัสถ์
๐ ขั้นตอนการประพฤติวุฒฐานวิธี
อ่านต่อ >>
|
๓.ประเภทของปริวาส
๐ อัปปฏิฉันนปริวาส
๐ ปฏิฉันนปริวาส
๐ สโมธานปริวาส
๐ สุทธันตปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๔.เงื่อนไขของปริวาส
๐ รัตติเฉท-วตตเภท
๐ สหวาโส-วิปวาโส
๐ อนาโรจนา
อ่านต่อ >> |
๕.วัตร..บอกวัดร-เก็บวัตร
๐ การสมาทานวัตร
๐ การบอกวัตร
๐ การเก็บวัตร
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๖.ขึ้นมานัต
๐ สหวาโส -วิปปวาโส
๐ อนาโรจนา-อูเน คเณ จรณํ
๐ การขอหมู่-สวดหมู่
๐ การขอหมู่-สวดเดี่ยว
๐ การขอเดี่ยว-สวดเดี่ยว
อ่านต่อ>> |
๗.คำขอปริวาสกรรม
๐ คำขอสุทธันตะอย่างจุลสุทธันตะ
๐ กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส
๐ คำสมาทานปริวาส
๐ คำบอกสุทธันตปริวาส
๐ การเก็บปริวาส
อ่านต่อ >> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๘.การขอมานัต
๐ คำขอสุทธันตขอมานัต
๐ กรรมวาจาให้มานัต
๐ คำสมาทานมานัต
๐ คำบอกมานัต
๐ คำเก็บมานัต
อ่านต่อ >> |
๙.การขออัพภาน
๐ คำขออัพภาน
๐ กรรมวาจาให้อัพภาน
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ภาพกิจกรรมภายในวัด
หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร เมตตานำพระภิกษุสงฆ์ รับบิณฑบาตจากอุบาสก-อุบาสิกา ทุกเช้าภายในวัด เวลา ๐๗.๕๐ น.
อ่านต่อ>>
|
ภัตตาหาร-น้ำปานะบริการ..ฟรี
มีภัตตาหารถวายพระ
และบริการญาติธรรม
ตลอดงานปฏิบัติธรรม
อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
๐อาคารที่พักญาติธรรม
มีอาคารที่พักของญาติธรรม ที่ไปร่วมปฏิบัติธรรมแยกต่างหากเป็นสัดส่วน
๐ห้องน้ำ-ห้องสุขา
มีห้องน้ำ-ห้องสุขาภายในวัดประมาณ ๑๐๐ ห้อง
สะอาด สดวก ปลอดภัย อ่านต่อ>> |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญร่วมบุญโรงทาน
ผู้ให้อาหาร..ชื่อว่าให้กำลัง
|