"ฝังลูกนิมิต ผูกพัทธสีมาอุโบสถ"
วั ด ถ้ ำ พ ร ะ บ ำ เ พ็ ญ บุ ญ
ลูกนิมิต
นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย
ลูกนิมิต
๐ ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
หมายถึง ลูกที่ทำกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร มักทำด้วยหิน
ใช้ฝังเป็นเครื่องหมายเขตอุโบสถ
๐ ส่วนพจนานุกรมฉบับมติชนให้ความหมายว่า
"ก้อนหินที่วางบอกเขตพัทธสีมาในการทำสังฆกรรม"
สรุปแล้ว ลูกนิมิต ก็คือ ลูกหินกลม ๆ มีขนาดเท่าบาตรของพระสงฆ์
ที่ใช้ฝังเพื่อเป็นเครื่องหมาย
บอกให้ทราบว่าตรงไหนเป็นเขตของอุโบสถ
หรือโบสถ์เพื่อให้พระสงฆ์ได้ใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรมนั่นเอง
เพราะคำว่า นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย
อุโบสถ (อ่านว่า อุโบสด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจาก
เป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรม
ของพระภิกษุสงฆ์จะใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่
สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง สีมา เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน
จากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐาน
พระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มา สักการะบูชา
และ ร่วมทำบุญ เป็นจำนวนมากพระอุโบสถจึงถูกสร้างขึ้นเป็นอาคารถาวร
และมักมีการ
ประดับตกแต่ง อย่างสวยงาม
ยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง
- สถานที่ที่พระสงฆ์ ประชุมทำสังฆกรรมตามพระวินัย
เช่นสวดพระปาติโมกข์ในวันพระทุกกึ่งเดือน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ หรือ
วันพระแรม ๘ ค่ำ แรม ๑๕ ค่ำ หรือ การอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุ
หรือ การสวดเข้าอยู่ปริวาสกรรมของพระภิกษุสงฆ์ หรือสังฆกรรมใด ๆ
ที่ต้องเกิดขึ้นในอุโบสถ ตาม พระวินัยบัญญัติ เรียกตามคำวัดว่า
อุโบสถาคาร บ้าง อุโบสถัคคะ บ้าง แต่เรียกโดยทั่วไปว่า โบสถ์
- การเข้าจำ คือการรักษาศีล ๘ ของอุบาสก อุบาสิกา ในวันขึ้นและ
แรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ เรียกว่า รักษาอุโบสถ
และรักษาอุโบสถศีล
- วันพระหรือวันฟังธรรมของคฤหัส วันขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ
ซึ่งเป็นวันที่คฤหัสถ์รักษาอุโบสถกัน
เรียกว่า วันอุโบสถ
- วันที่พระสงฆ์ลงฟังพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือน เรียกว่า วันอุโบสถ
- การสวดพระปาติโมกข์ทุกกึ่งเดือนหรือทุกวันอุโบสถของพระสงฆ์
เรียกว่า การทำอุโบสถ
- โบสถ์ เป็นคำเรียกสถานที่สำหรับพระสงฆ์ใช้ประชุมกันทำสังฆกรรม
ตามพระวินัย เช่นสวดพระปาติโมกข์
ให้อุปสมบท มีสีมา
เป็นเครื่องบอกเขต คำว่า โบสถ์เป็นคำที่ใช้เฉพาะใน พระพุทธศาสนา
- โบสถ์ เรียกเต็มคำว่า อุโบสถ หรือ โรงอุโบสถ ถ้าเป็นของ
พระอารามหลวงเรียกว่า พระอุโบสถ
บางถิ่นเรียกว่า สีมา หรือ สิม
- โบสถ์ เป็นสถานที่ศักดิ์ศิทธิ์ เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้า
เป็นเขตแดนที่พระเจ้าแผ่นดิน พระราชทานให้แก่สงฆ์เป็นพิเศษ
เรียกว่าพระราชทาน วิสุงคามสีมา
ก่อนที่จะมาเป็นโบสถ์ที่ถูกต้องตามพระวินัยจะต้องมีสังฆกรรม
ที่เรียกว่า ผูกสีมา หรือ ผูกพัทธสีมา ก่อน
มูลเหตุความเป็นมา
ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาและมีผู้มาขอ
อุปสมบทบรรพชาเป็นพระสาวก
พระพุทธองค์ทรงประทาน เอหิภิกขุ
ให้ได้สำเร็จเป็นพระภิกษุสงฆ์ดังประสงค์ เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์มากถึง
จำนวน ๖๐ รูปเป็นพระสงฆ์สาวกในเวลาอันรวดเร็วนั้น พระพุทธองค์
ทรงมีพระพุทธประสงค์ให้พระภิกษุสงฆ์
สาวกเหล่านั้นกระจายกัน
ออกจาริกไปยังทิศต่าง ๆ เพื่อเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และ
พระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์จึงทำให้ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมนั้น
มีความเลื่อมใสศรัทธาประสงค์ที่จะขออุปสมบทบรรพชาเป็นพระสาวก
มากขึ้น
พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นก็จะนำผู้ที่จะข ออุปสมบทบรรพชา
ในพระพุทธศาสนา มาเข้าเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงพระเมตตา
ประทานการอุปสมบทบรรพชาให้แด่ผู้มีจิตศรัทธาเหล่านั้นซึ่งพระภิกษุสงฆ์
สาวกที่ออกจาริกเผยแผ่พระธรรมคำสอนและพระพุทธศาสนาไปยังดินแดน
ต่าง ๆ นั้นต่างก็อยู่ห่างไกลจากที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่จึงทำให้
การเดินทางกลับมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์เป็น ไปด้วยความยากลำบาก
เมื่อเป็นดังนี้ พระพุทธองค์ทรงคำนึงถึงความลำบากของเหล่าพระสงฆ์สาวก
ในการเดินทาง พระองค์จึงทรงมีพระกรุณาธิคุณโดยมีพระบรมพุทธานุญาต
ให้พระภิกษุสงฆ์สาวกเหล่านั้นทำการอุปสมบทบรรพชาให้กับผู้มีความเ
ลื่อมใส ศรัทธาโดยมิต้องสร้างความยุ่งยากลำบากในการนำผู้ที่ประสงค์
จะขออุปสมบทบรรพชามาเข้าเฝ้า ขอบรมพุทธานุญาตจากพระพุทธองค์
เป็นการลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลำบากแก่เหล่าพระสงฆ์สาวก
และการที่พระภิกษุสงฆ์สาวกออกไปอยู่ห่างไกลจากพระพุทธองค์นั้น
ประการหนึ่งนั้นก็เท่ากับห่างจากการฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์
ซึ่งในสมัยพุทธกาลนั้นพระธรรม
พระวินัยต่าง ๆ ที่พระพุทธองค์ทรง
บัญญัติไว้ให้พระสงฆ์สาวกปฏิบัติตามนั้นยังไม่มีการจดบันทึกรวบรวม
ไว้เป็นคัมภีร์ หรือรวบรวมเป็นพระไตรปิฏกจัดแยกหมวดหมู่ดังเช่นปัจจุบัน
ดังนั้น พระธรรม พระวินัยต่าง ๆ นั้น จึงต้องอาศัยการจดจำท่องจำ
โดยการสวดสืบต่อ ๆ กัน เรียกว่าการสวดพระปาติโมกข์ อีกทั้ง
เมื่อมีเหตุการณ์ใดที่พระสงฆ์สาวกจะต้องตัดสินใจร่วมกัน ให้พระสงฆ์
ได้มีการปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหา หรือทำกิจบางประการร่วมกัน
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้กำหนดให้พระสงฆ์ต้องประชุมร่วมกัน
หรือที่เรียกว่าทำ สังฆกรรม คือทำกิจของสงฆ์ให้สำเร็จลุล่วง
เช่น
การทบทวนพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้ หรือเรียกว่า
การสวดพระปาติโมกข์
การอุปสมบทบรรพชา หรือการบวชพระ
การกรานกฐิน และการปวารณากรรม เป็นต้น โดยกำหนดให้ทำ
สังฆกรรม ในบริเวณที่กำหนดไว้เท่านั้นเพื่อมิให้ฆราวาสมายุ่งเกี่ยว
กับกิจของสงฆ์ผู้ทรงศีลโดยเฉพาะแต่เนื่องจากในสมัยต้นพุทธกาลนั้น
พระภิกษุยังไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน
แม้ต่อมาพระเจ้าพิมพิสาร มหาราชแห่งแคว้นมคธจะมีศรัทธาถวาย
พื้นที่สวนไผ่ของราชวงศ์ให้เป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา
ชื่อ วัดเวฬุวัน ให้พระภิกษุสงฆ์โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานได้อยู่
แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นป่าตามธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อพระสงฆ์ต้องจาริก
ไปยังที่ต่าง ๆ จึงทรงดำริให้หมายเอาวัตถุบางอย่าง เป็นเครื่องกำหนด
เขตแดนขึ้น เรียกว่า การผูกสีมา ซึ่งคำว่า สีมา ที่แปลว่า เขตแดน
ซึ่งพระพุทธองค์ได้กำหนดไว้มี ๘ ประการ และเรียกเครื่องหมาย
บอกเขตแดนนี้ว่า นิมิต แต่นิมิตเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ
ทำให้การกำหนดเขตแดนที่จะทำสังฆกรรมกำหนดสถานที่ประชุมสงฆ์
ทำได้ยากและมักคลาดเคลื่อน เช่น หากใช้ต้นไม้เป็นสิ่งบอกเขต
แต่เมื่อต้นไม้นั้นล้มตายลง หรือหักโค่นจนตายไปก็ทำให้เขต
ที่อาศัยต้นไม้นั้นก็จะคลาดเคลื่อนไป
ต่อมาจึงได้มีการพัฒนากำหนดนิมิตขึ้นใหม่อีกประเภทหนึ่งขึ้นแทน
คือ เป็นนิมิตที่จัดสร้างหรือทำขึ้นเฉพาะ
เช่น ขุดบ่อน้ำ คูน้ำ สระน้ำ
และก้อนหิน โดยเฉพาะก้อนหินเป็นที่นิยมกันมากเพราะทนทาน
และเคลื่อนย้ายได้ยาก ครั้นเมื่อเทคโนโลยีมีความก้าวหน้ามากขึ้น
จึงได้มีการประดิษฐ์ก้อนหินให้เป็นลูกกลม ๆ ประมาณเท่าบาตร
ของพระสงฆ์เป็นอย่างน้อย เป็นเครื่องหมายที่ค่อนข้างถาวรขึ้นแทน
และเรียกกันว่า ลูกนิมิตดังที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันรวมถึง
มีการเรียกเขตแดนที่ใช้ทำสังฆกรรมนี้ว่า อุโบสถ หรือ โบสถ์
ซึ่งสมัยก่อนโบสถ์คงมีลักษณะตามธรรมชาติมากกว่าจะเป็นถาวรวัตถุ
เช่นปัจจุบัน และเมื่อมี ลูกนิมิต เป็นเครื่องหมายบอกเขต ต่อมาก็มีพิธี
ที่เรียกว่าการ ฝังลูกนิมิต ขึ้นด้วย
|