: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่
.....
หน้าแรก >>    
....

พระราชสิทธิมงคล(หลวงปู่สวัสดิ์ )
วัดศาลาปูน ได้มีเมตตาจุดเทียนชัย





พระครูสังฆรักษ์
(หลวงพ่อเฉลิม  เขมทัสสี)
วัดพระญาติการาม
จ.พระนครศรีอยุธยา





พระสุนทรธรรมานุวัตร
(หลวงพ่อเอียด)
วัดไผ่ล้อม อยุธยา
ได้เมตตาอธิษฐานจิต






พระอาจารย์ชาตรี ปภัสโร (จ.สกลนคร)





พระอาจารย์ยอด (จ.หนองคาย)








พระเถรานุเถระได้เมตตามาร่วมพิธี





..

ตำนานความเป็นมาในการสร้างพระพุทธรูป

พระพุทธรูป หรือ “พระพุทธปฏิมา” 
 

ตามภาษาบาลี
 หมายถึง รูปเหมือน หรือพระรูปที่ใช้แทนองค์พระพุทธเจ้า
ผู้เป็นพระศาสดาในพระพุทธศาสนา

         

การสร้างพระพุทธรูปนั้นปรากฏอยู่ในตำนานพระแก่นจันทน์
ซึ่งได้กล่าวถึงพุทธประวัติ   ตอนที่พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปเทศนา
โปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  และทรงจำพรรษา
อยู่ที่ดาวดึงส์สวรรค์นั้น ๑ พรรษา 

พระเจ้าปเสนทิโกศลเมื่อมิได้เห็นและฟังธรรมจากผู้มีพระภาคเจ้า
เหมือนเช่นแต่ก่อนมา ทำให้บังเกิดความระลึกถึงสุดที่ จะระงับ
เฝ้าแต่รำพึงรัญจวนอยู่มิสร่างซา ทั้งนี้ก็ด้วยความเคารพและศรัทธา
พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงสั่งเจ้าพนักงานหาท่อนไม้แก่นจันทน์หอมอย่างดี
มาถวาย แล้วโปรดให้นายช่างแกะเป็นรูปพระพุทธเจ้าปางประทับนั่ง

มีพระรูปโฉมโนมพรรณงามละม้ายคล้ายพระบรมศาสดาประดิษฐาน
ไว้ในพระราชนิเวศน์ที่พระพุทธองค์เคยประทับเพื่อทอดพระเนตร
และสักการบูชาเหมือนแต่ก่อนมาพอให้คลายความอาวรณ์
การระลึกถึงได้บ้าง

ครั้นภายหลังเมื่อพระบรมศาสดาเสด็จจากดาวดึงส์พิภพกลับมาสู่นครสาวัตถี
พระเจ้าปเสนทิโกศล จึงอาราธนาทูลให้ ้เสด็จทอดพระเนตรไม้แก่นจันทน์
ที่นายช่างจำลองขึ้นอันประดิษฐานอยู่ ณ พระราชสถานในพระราชนิเวศน์
พระไม้แก่นจันทน์นั้นได้กระทำเหมือนหนึ่งจิตรู้จักปฏิสันถารในกิจที่ควร
อันต้องลุกขึ้นถวายความเคารพพระบรมศาสดาจึงขยับพระองค์เขยื้อน
เลื่อนลงจากพระแท่นที่ประทับ พระพุทธองค์ได้ทรงยกพระหัตถ์ซ้ายขึ้นห้าม
พร้อมตรัสว่า
          “เอวํ นิสีทถ ขอพระองค์จงประทับอยู่อย่างนั้นเถิด”
มื่อสิ้นกระแสพุทธานุญาต พระไม้แก่นจันทน์นั้นได้ลีลาขึ้นไปประดิษฐาน
ยังพระแท่นดุจเดิม พระเจ้าปเสนทิโกศลประสบความอัศจรรย์บังเกิด
ความโสมนัส ทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคพร้อมเหล่าภิกษุสงฆ์
ให้รับอาหารบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ท้าวเธอได้เสด็จอังคาส
(ถวายอาหาร)ด้วยพระองค์เองครั้นเสร็จพุทธกิจแล้วพระบรมศาสดา
จึงพาเหล่าภิกษุสงฆ์ เสด็จกลับไปประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลโปรดให้สร้างขึ้น
ตามตำนานดังกล่าวมานี้ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรก ใ
นพระพุทธศาสนา ซึ่งสาธุชนจะได้ใช้เป็นแบบอย่างสร้างพระพุทธรูป
เมื่อพระพุทธองค์ทรงล่วงลับไปแล้ว 

ความที่กล่าวไว้ในตำนานประสงค์ที่จะอ้างว่าพระพุทธรูปแก่นจันทน
์องค์นั้นเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปซึ่งสร้างกันต่อมาภายหลัง 
หรืออีกนัยหนึ่งคือว่าพระพุทธรูปมีขึ้นโดยพระบรมพุทธานุญาต
และเหมือนพระพุุทธองค์เพราะตัวอย่างสร้างขึ้นตั้งแต่ในครั้งพุทธกาล


จากหลักฐานทางศิลปกรรม การสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าที่เป็น
รูปมนุษย์ปรากฏเป็นครั้งแรกในศิลปะอินเดียสมัยคันธารราฐ ในช่วง
พุทธศตวรรษที่ ๖ - ๗ หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จสู่ปรินิพพานแล้ว
ประมาณ ๗๐๐ ปี 
ดยปรากฏหลักฐานว่าในอินเดียโบราณสมัย
ก่อนหน้านั้นประมาณพุทธศตวรรษที่ ๓ - ๖ ในสมัยของพระเจ้า
อโศกมหาราช
ยังไม่มีการสร้างรูปเคารพของพระพุทธเจ้าในรูป
ที่เป็นมนุษย์ แต่จะใช้รูปที่เป็นสัญลักษณ์แทนโดยเฉพาะพุทธประวัติ
ที่ปรากฏอยู่ตามศาสน-สถาน เช่น ที่สถูปสาญจีและตามเจติยสถานต่างๆ  

หากเป็นรูป
ตอนประสูติ จะแสดงด้วยรูปพระนางสิริมหามายาทรงยืน
เหนี่ยวกิ่งไม้ รูปตอนตรัสรู้แสดงด้วยต้นโพธิ์ และบัลลังก์ และ
รูปตอนปฐมเทศนาแสดงด้วย ธรรมจักรกับกวางหมอบ แสดงให้เห็นว่า
ยังไม่มีประเพณีการสร้างพระพุทธรูปหรืออาจยังเป็นข้อห้ามอยู่

หลักฐานการสร้างพระพุทธรูปที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดียปรากฏขึ้นราว
พุทธศตวรรษที่ ๗ โดยเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ากนิษกะ
แห่งราชวงศ์กุษาณะที่แคว้นคันธารราฐ ราวๆ พ.ศ. ๖๖๓ - ๗๐๕ 
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่พระเจ้า อเล็กซานเดอร์มหาราช 
กษัตริย์แห่งอาณาจักรมาซิโดเนียทางตอนเหนือของประเทศกรีซ
ได้สร้างจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่่ ครอบคลุมคาบสมุทรบอลข่าน อียิปต์ 
ตุรกี และเปอร์เซียจนมาถึงดินแดนภาคตะวันตก เฉียงเหนือของ
อินเดียที่แคว้น คันธารราฐ ในพุทธศตวรรษที่ ๓ คติการสร้าง
รูปเคารพเป็นพระพุทธรูปจึงน่าจะได้แรงบันดาลใจจากอิทธิพล
ของชาวกรีกที่แพร่หลายตั้งแต่ในครั้งนั้น และนำเอาคติความเชื่อ
ต่าง ๆ เข้ามาผสมผสานกับ ความเชื่อเดิมของ ชาวพื้นเมือง 
ส่งผลให้นำความนิยมในการสร้างรูปเคารพเทพเจ้าของชาวกรีก
มาสร้างเป็นพระพุทธรูปขึ้น ดังนั้น พระพุทธรูปสมัยคันธารราฐ 
ซึ่งเป็นสมัยแรกสุดที่มีการสร้างพระพุทธรูปจึงมีลักษณะเป็นแบบ
ชาวกรีกค่อนข้างมากทั้งรูปร่างหน้าตาและลักษณะการครองจีวร 

การสร้างพระพุทธรูปไม่ใช่การสร้างรูปเหมือนของพระพุทธเจ้า  
แต่เป็นสัญลักษณ์แทนพระพุทธองค์  ดังนั้นลักษณะของพระพุทธรูป
ในแต่ละสกุลช่างและแต่ละสมัยจึงแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม
ถึงแม้ว่าพระพุทธรูปจะมีรูปแบบที่ แตกต่างกันแต่ในการสร้าง
พระพุทธรูป จะมีสัญลักษณ์สำคัญที่บ่งบอกว่ารูปนั้นเป็นพระพุทธองค์
เรียกว่า มหาปุริลักษณะ หรือ ลักษณะของมหาบุรุษรวม ๓๒ ประการ  
เช่น มีขนระหว่างคิ้ว เรียกว่า อุณาโลม มีส่วนบนของศีรษะนูนสูงขึ้น
คล้ายสวมมงกุฎ เรียกว่าอุณหิส หรืออุษณีษะ หรือพระเกตุมาลา
นอกจากนี้ยังมีพระรัศมีที่เปล่งออกมาจากพระเศียรของพระพุทธรูป
ทำเป็นตุ่มกลมคล้ายดอกบัวตูม หรือชูสูงขึ้นคล้ายเปลวไฟ

หากจะถามว่าพระพุทธรูปเริ่มเข้ามาปรากฏในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใดนั้น
จากหลักฐานทางโบราณคดีซึ่งได้มีการค้น พบพระพุทธรูปในประเทศไทย
รุ่นเก่าแก่สุด คือ พระพุทธรูปสมัยอมราวดี (ศิลปะอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษ
ที่ ๗-๙) และ ศิลปะสมัยคุปตะ (ศิลปะอินเดีย ช่วงพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๑) 
เป็นพระพุทธรูปขนาดเล็ก จึงสันนิษฐานว่าเป็นสิ่งที่ชาวอินเดียนำติดตัว
เข้ามาพร้อมกับการเดินทางค้าขาย และน่าจะเป็นผู้ที่นำเอาพระพุทธศาสนา
เข้ามาเผยแผ่ในดินแดนแถบนี้ด้วย

ส่วนการสร้างพระพุทธรูปในดินแดนไทยน่าจะเกิดขึ้นราวๆ พุทธศตวรรษ
ที่ ๘ - ๙ ในสมัยก่อนทวารวดี  โดยได้พบ หลักฐานการสร้างศาสนสถาน 
พระพุทธรูป และรูปพระสงฆ์ที่บริเวณเมืองโบราณอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ลักษณะของพระพุทธรูป และ รูปพระสงฆ์ที่พบนี้ สามารถเปรียบเทียบได้
ใกล้เคียงกับศิลปะอมราวดี จึงกำหนดอายุ อยู่ในราวๆ พุทธศตวรรษ
ที่ ๘ - ๙  และเป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าดินแดนไทย เริ่มรับ
พระพุทธศาสนาแบบเถรวาท และรู้จักการสร้างศาสนสถานและพระพุทธรูป
เป็นครั้งแรกแล้วในช่วงระยะเวลานี้ ก่อนที่จะพัฒนาเป็น ศิลปกรรมในสมัย
ทวารวดีที่แพร่หลายในที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทยในช่วงระหว่าง
พุทธศตวรรษที่ ๑๒ - ๑๖
         

                           
         
                               
         

อ่านต่อหน้า >> 1 I 2 I 3 I 4 I 5 I 6 I  หน้าแรก >>                     

วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย  :  ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐ โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

www.watthampra.com             email :info@watthumpra.com