: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ..วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ อ.พาน จ.เชียงราย โทร.053 184 325
 

อุโบสถ
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ

อานิสงส์แห่งวิหารทาน
ารสร้างวัด สร้างโบสถ์ ของพระสงฆ์หรืออุบาสกอุบาสิกาต่อพุทธศาสนาก็ดี จัดเป็นวิหารทาน เป็นทานอันเลิศตามที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในพระไตรปิฎก

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสรรเสริญและแสดงธรรมเกี่ยวกับเรื่องการสร้างวัด หรือส่วนประกอบของวัด เช่น ที่ดิน หรือศาสนวัตถุต่างๆ โบสถ์ วิหาร ศาลา กุฏิสงฆ์ เสนาสนะ เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบไว้ดังนี้

  1. ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ผู้นั้นชื่อว่าให้สิ่งทั้งปวง" (สังยุตตนิกาย)
  2. ผู้ใดให้ที่พักอาศัย ย่อมมีบุญเจริญในกาลทุกเมื่อทั้งกลางวันและกลางคืน เขาทั้งหลายตั้งอยู่ในธรรมสมบูรณ์ด้วยศีลและเป็นผู้ไปสวรรค์"(วนโรปสูตร)
  3. พระพุทธองค์ทรงยืนยันให้เห็นชัดเจนว่า การถวายวิหาร(วัด) ที่อยู่อาศัยแด่พระภิกษุสงฆ์เป็นสมุฏฐาน ก่อให้เกิดประโยชน์สุขทั้งผู้รับและผู้ถวาย ซึ่งทรงแสดงอานิสงส์ไว้ว่าเป็นยอดของสังฆทานและเป็นปัจจัยให้ประสบความเกษมศานต์ จนบรรลุถึงพระนิพพาน(วิหารทานกถา) โดยตรัสไว้ว่า

"วิหารย่อมป้องกันหนาว ร้อน และเนื้อร้าย นอกจากนั้นยังป้องกันงูและยุง ฝนในสิสิรฤดู นอกจากนั้นวิหารยังป้องกันลมและแดดอันกล้าที่เกิดขึ้นได้ การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อหลีกเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณาและเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล คนผู้ฉลาดเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันรื่นรมย์ ให้ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตอยู่ในวิหารนี้เถิด อนึ่งพึงมีใจเลื่อมใสถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะ อันเหมาะสมแก่พวกเธอ ในพวกเธอผู้ซื่อตรง เพราะพวกเธอย่อมแสดงธรรมอันเป็นเครื่องบรรเทาสรรพทุกข์แก่เขา เขารู้ทั่วถึงแล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้"

ทานํ สคฺคสฺส โสปนํ ทานกุศลจัดว่าเป็นบันได้ขั้นแรกที่จะนำขึ้นสู่สวรรค์
ทานํ ปาเถยฺยมุตตมํ ทานกุศลจัดว่าเป็นเสบียงอันประเสริฐ
ทานํ อุชุคตํ มคฺคํ    ทานกุศลจัดว่าเป็นทางสายตรงไปสู่พระนิพพาน
ทานํ โมกฺขปทํ วรํ   ทานกุศลจัดว่าเป็นบาทให้ถึงซึ่งความหลุดพ้น

ชม การจัดสร้างพระพุทธรูป
พระประธานในอุโบสถ

กดลิ้งค์ที่รูป
 
 
 
 

"วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ" สถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ได้ถูกค้นพบขึ้นเมื่อประมาณในราวปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า“ถ้ำพระ” จึงทำให้มีพระสายปฏิบัติกรรมฐานแวะเวียนมาพักปฏิบัติธรรม สับเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยมา กระทั่งเมื่อมีพระภิกษุจาริกธุดงค์มาปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ในถ้ำแห่งนี้ คือ หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร ท่านได้มาพักบำเพ็ญเพียรอยู่ในถ้ำ พร้อมกับชักชวนญาติธรรม และ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาร่วมปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก จึงได้ตั้งชื่อสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ว่า "ถ้ำพระบำเพ็ญบุญ" จนกระทั่งสถานปฏิบัติธรรมแห่งนี้ได้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้มุ่งมั่นปฏิบัติธรรม หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร จึงได้ขอแต่งตั้งสถานที่แห่งนี้โดยรับอนุญาตอย่างถูกต้องว่า "สถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานถ้ำพระบำเพ็ญบุญ" จากนั้นหลวงพ่อถวิล จนฺทสโร จึงได้ขออนุญาตจัดตั้งเป็น วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ ให้ถูกต้องตามกฏหมายและกฏมหาเถระสมาคม

เมื่อมีการจัดทำสังฆกรรมขึ้นที่นี่ ท่านจึงใช้ "ถ้ำ" โดยสมมติเป็นอุโบสถชั่วคราว ทั้งนี้ ถ้ำพระบำเพ็ญบุญยังไม่มีอุโบสถ แต่การจัดงานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศ ที่ได้มาอยู่ปริวาสกรรมยังถ้ำพระบำเพ็ญบุญแห่งนี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้อุโบสถในการทำสังฆกรรมตามพระวินัยบัญญัติ

เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์ได้มาอยู่ปฏิบัติธรรม บรรพชา อุปสมบท ประพฤติปริวาสเป็นจำนวนหลายร้อยรูป "ถ้ำ" ที่ใช้เป็นอุโบสถชั่วคราวก็คับแคบลง บรรจุพระภิกษุสงฆ์ได้ประมาณ ๒๐-๓๐ รูปในการทำสังฆกรรม และในระหว่างจำพรรษา"ถ้ำ" ก็มีน้ำเจิ่งนอง ซึ่งเมื่อพระภิกษุสงฆ์ใช้ถ้ำ ในการทำสังฆกรรม พื้นถ้ำก็ชื้นแฉะไปด้วยน้ำก่อให้เกิดความลำบากแก่พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก

 
   

หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร ท่านจึงมีดำริที่จะสร้างอุโบสถขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงในพระพุทธศาสนาและเพื่อประโยชน์ใหญ่แก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ ที่จำเป็นต้องใช้อุโบสถในการทำสังฆกรรม ไม่เพียงเฉพาะงานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสถานที่อุปสมบท-พระภิกษุ บรรพชา-สามเณร ที่ประสงค์จะมาอยู่ยังสถานปฏิบัติธรรม วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญแห่งนี้

คุณประชุม มาลีนนท์ พร้อมครอบครัวมาลีนนท์ ได้มีศรัทธาเป็นเจ้าภาพต้นบุญนำคณะเพื่อนๆ ได้มอบหมายให้คุณพรเดช อุยะนันทน์ เป็นสถาปนิกดูแลร่วมด้วยคุณศิริชัย รณเกียรติ คุณศรีชัย รุจิรวัฒนกุล, คุณจมร ปรปักษ์ปลัย สถาปนิกจากกรมศิลปากรเป็นผู้ออกแบบอุโบสถ ท่านเหล่านี้ได้ดำเนินการริเริ่มก่อสร้างอุโบสถหลังดังกล่าว ซึ่งในการนี้ยังได้รับความเมตตาจาก พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญาณสังวโร ได้มีเมตตาช่วยเหลือกิจกรรมการก่อสร้างอุโบสถหลังนี้ ให้ดำเนินการลุล่วงลงด้วยดี โดยอุโบสถหลังนี้ หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร ท่านได้ปรับพื้นที่บนภูเขาให้เป็นพื้นที่ราบและกำหนดรูปแบบต่างๆลงบนพื้นที่อันเหมาะสม

ชม งานพิธีฝังลูกนิมิต
อุโบสถ

กดลิ้งค์ที่รูป
 
 

ูรูปแบบสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมของอุโบสถเป็นแบบล้านนาประยุกต์ ได้รับความอนุเคราะห์ในการออกแบบโดย คุณจมร ปรปักษ์ประลัย สถาปนิกแห่งกรมศิลปากรได้ปวารณาตัวในการออกแบบอุโบสถหลังนี้ โดยได้รับมอบหมายจากท่านเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ในการออกแบบโดยรูปแบบอุโบสถนั้น ทำเป็นอุโบสถแบบ ๒ ชั้น ศิลปล้านนาประยุกต์ มีความกว้าง ๑๓ เมตร ความยาว ๓๓ เมตร สามารถรองรับการทำสังฆกรรมสำหรับบรรจุพระสงฆ์ได้ประมาณ ๑๐๐-๑๒๐ ท่าน ซึ่งก็เป็นอุโบสถที่มีขนาดกระทัดรัด งดงาม

อุโบสถชั้นบน
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระประธาน "พระสุวรรติโลกนาถปุญญาวาสสถิต" และใ้ช้พื้นที่บริเวณชั้นบนนี้เพื่อทำสังฆกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์
ชั้นล่าง ของอุโบสถนั้นมีไว้เพื่อสำหรับอบรมการปฏิบัติธรรมที่เป็นหมู่คณะ หรือทำเป็นห้องสมุดด้วยส่วนหนึ่งเพื่อเก็บรวบรวมหนังสือธรรมะต่างๆ ให้ผู้ที่สนใจได้เล่าเรียน อ่านประดับความรู้
   

การก่อสร้างได้เริ่มดำเนินการโดยมีพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันจันทร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ กาำรดำเนินการก่อสร้างได้สำเร็จลงเป็นที่เรียบร้อยและได้้มีพิธียกช่อฟ้าอุโบสถ ผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิตประกาศเป็นอุโบสถกรรมตามพระวินัย
          
การก่อสร้างที่สำเร็จลุล่วงลงด้วยดีนี้จึงขออนุโมทนาแด่ท่านเจ้าภาพ ซึ่งได้แก่ คุณประชุม มาลีนนท์ และครอบครัวมาลีนนท์ พร้อมด้วยพนักงานในหน่วยงานไทยทีวีสีช่อง ๓ พร้อมด้วยคณะเพื่อนและทีมงานทุกท่าน ท่านสาธุชนผู้มีส่วนร่วมในบุญสร้างอุโบสถในครั้งนี้ ขอความเจริญด้วย อายุ วรรณ สุข พละ จงมีแก่ชีวิต ครอบครัว และกิจการงานของท่านจงทุกเมื่อเทอญฯ

                   

                   

                   

                   

                   

                   

ภายในอุโบสถ  
 

                 

                

                 

                













          
          
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐
โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

website : www.watthumpra.com
email : watthumprachiangrai@gmail.com