"วันแม่แห่งชาติ"
"ร่วมเทิดทูนพระคุณ..แม่"
วัตถุประสงค์ของการจัดวันแม่แห่งชาติ
- เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินินาถ
ซึ่งเป็น"แม่"แห่งแผ่นดิน
- เพื่อเทิดทูนพระคุณของแม่ และยกย่องบทบาทของแม่ที่มีต่อครอบครัวและสังคม
- เพื่อให้ลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวทีต่อ..แม่
- เพื่อให้ผู้เป็น..แม่ สำนึกในหน้าที่และความรับผิดชอบของตน
กิจกรรมวันแม่
กิจกรรมในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในทุกๆ ปี
จะมีการประดับธงชาติในทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ราชการ โรงเรียน บริษัทฯ
และบ้านเรือน เพื่อถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน และยังมีกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่าน เช่น การบริจาคโลหิต การทำความสะอาดแม่น้ำลำคลอง ถนน
โรงพยาบาล และประดับพระบรมฉายาลักษณ์(รูป) ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถไว้ที่หน้าบริษัทหรือหน่วยงานต่างๆ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ท่านด้วย
กิจกรรมสำหรับลูกในวันแม่แห่งชาติ คือ ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือบำเพ็ญกุศล แก่ "แม่" ผู้ให้กำเนิดแก่บุตร-ธิดาของตนเอง
เช่น
การปฏิบัติธรรม การทำคุณความดีต่างๆ การตักบาตรทำบุญแก่พระสงฆ์
และการ
แสดงความกตัญญูกตเวทิตาแก่บิดา-มารดาพร้อมกันในวันแม่แต่ก็เน้นความสำคัญแก่มารดาหรือแม่เพราะเป็นวันของท่าน ทำบุญใส่บาตร หรือการปฏิบัติธรรมเป็นเวลา
๓ วัน ๕ วัน เพื่ออุทิศส่วนกุศล และระลึกถึงพระคุณของ..แม่
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมประกาศเกียรติคุณ แม่ตัวอย่าง หรือแม่ดีเด่นโดยกำหนดคุณสมบัติ คือ มีอายุ ๔๐ ปีขึ้นไป ส่งเสริมการศึกษาของบุตร ธิดา
นับถือศาสนาโดยเคร่งครัด งดเว้นอบายมุขทุกชนิด อุทิศตนเพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชน
และมสามีเพียงคนเดียว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ ๒ ปีพอดีในปี ค.ศ.๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗) โดยประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ
และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ แบบ
คือ ถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู
วันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม
พ.ศ.๒๔๘๖ ณ.สวนอัมพรโดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีกแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนด วันแม่ไปหลายครั้งแต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ ๑๕ เมษายน
โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๓ กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปีก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ ผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๕
แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่าควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมา
เหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ส่งกลิ่นหอมไปไกล และหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปีเปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรกที่เด็ก สามารถทำเสียงได้โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่างดังเช่น ภาษาไทย แม่,
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า, ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์),
ภาษาอังกฤษ mom, mam,
ภาษาโซ่ ม๋เปะ,
ภาษามุสลิม มะ, ภาษาไทใต้คง เม