: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ สงบ สะอาด ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่ ..วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ อ.พาน จ.เชียงราย โทร.053 184 325
 

บวชเนกขัมมภาวนา
บวชชีพราหมณ์
การรักษาอุโบสถศีล

การบวชเนกขัมมภาวนา
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ จัดปฏิบัติธรรมบวชเนกขัมมภาวนา รักษาศีล ๘ หรือ ที่เรียกว่า บวชชีพราหมณ์ นั้น มี ๒ ประการคือ

  1. ปฏิบัติธรรมประจำปีของวัด หรือ ในวันสำคัญทางศาสนาและวันนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดสำคัญของชาติ ซึ่งกำหนดเวลาจะมีประกาศแจ้งในหน้าเว็บไซต์ หรือ เฟชบุ๊ค face-book ของ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
    เวลาขอรับศีล ๘ วันละ ๒ รอบ
    ๐ รอบเช้า
    เวลา ๐๙.๐๐ น.ในศาลาใหญ่
    ๐ รอบค่ำ  
    เวลา ๑๗.๐๐ น.หรือตามประกาศ

  2. ปฏิบัติธรรมส่วนบุคคลประจำวัน อาราธนาศีล ๘
    เวลาขอรับศีล ๘ ทุกวัน วันละ ๒ รอบ
    ๐ รอบเช้า
      
    เวลา ๐๘.๐๐ น.หรือหลังจากฉันเช้าแล้ว
    ๐ รอบค่ำ  
      
    เวลา ๑๗.๐๐ น.

ด้วยการลดลงของโรคโควิด-19
จึงเปิดให้เข้าปฏิบัติธรรมตามปกติ
แต่เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายรัฐ
จึงอยู่ร่วมกันโดยเว้นระยะห่าง

ด้วยชีวิตปกติ..วิถีใหม่

New Normal.!!


สิ่งที่ต้องเตรียม

สิ่งที่ต้องเตรียม

  1. เตรียมตัว เตรียมตนเองให้พร้อม นำบัตรประชาชนไปแสดงตัวเพื่อกรอกประวัติลงทะเบียน ซึ่งเป็นกฏของมหาเถรสมาคมที่ทุกวัดต้องปฏิบัติตาม
  2. เสื้อผ้า ชุดขาว
    ผู้หญิง : เสื้อขาวชุดปฏิบัติธรรม แขนสามส่วนคล้ายของแม่ชีใช้ ผ้าถุงสีขาว

    ผู้ชาย : เสื้อขาวชุดปฏิบัติธรรม คอกลมแขนสั้นหรือเสื้อยืดขาว กางเกงสีขาวหลวม
  3. ของใช้ส่วนตัว ของที่ไม่ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น ยารักษาโรคที่ตนเองจำเป็นต้องใช้อยู่เป็นประจำ ยาตามแพทย์สั่ง และของใช้ส่วนตัวอื่นเช่น สบู่ ยาสีฟัน เครื่องใช้ส่วนตัวอื่น
  4. เครื่องนอน ที่วัดมีให้บริการ เช่น หมอน ผ้าห่ม ผ้านวม ควรช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดให้เรียบร้อย หรือหากท่านใดจะนำมาจากที่บ้านเป็นของใช้ส่วนตัวก็อนุญาต
  5. ดอกไม้ ธูป เทียน ทึ่จะเตรียมไปรับศีล ขอศีลบวชชีพราหมณ์
    หากเป็นไปได้ ควรเตรียมไปจากที่บ้านให้เรียบร้อย
    ด้วยบางเวลาในวัดอาจไม่มี
  6. เคารพกฏ ระเบียบ ทางวัดได้วางไว้อย่างเรียบร้อยดีงาม
    เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุข
  7. งดใช้โทรศัพท์มือถือหรือส่งเสียงดังในขณะปฏิบัติธรรม ห้ามพูดคุยหรือส่งเสียงดัง จะเป็นการรบกวนผู้อื่นที่ต้องการความสงบขณะปฏิบัติธรรม
  8. หากจะรับศีลตั้งแต่เช้าให้เดินทางไปถึงที่วัดตามเวลา ดังนี้
    ช่วงเช้า รับศีล 8.00 น.
    ช่วงบ่าย รับศีล 17.00 น. ควรไปถึงวัดไม่เกิน 15.00 น.
   

อาคารที่พักผู้ปฏิบัติธรรม
โรงทาน

  • ในวัดมีที่พัก อุปกรณ์การนอน หมอน ผ้าห่ม ผ้านวม เสื่อ เพียงพอสำหรับให้ผู้ปฏิบัติธรรมพักอาศัยได้อย่างปลอดภัย หรือจะนำไปเองก็ได้
  • มีโรงทาน ศาลาโรงฉัน สะดวก สะอาด ปลอดภัย
  • มีอาหาร-น้ำปานะ บริการทุกวัน ฟรี

ตารางเวลาปฏิบัติธรรม

ตารางเวลาในการปฏิบัติธรรมประจำวัน
โปรดรักษาเวลา และตรงต่อเวลา
เพราะหลวงพ่อและคณะสงฆ์ท่านจะเน้นย้ำเรื่องการตรงต่อเวลาที่สุด
อีกทั้งการตรงต่อเวลานั้นยังทำให้ไม่เป็นการรบกวนสมาธิของผู้อื่น ซึ่งกำลังเข้าสู่เวลาแห่งการปฏิบัติธรรม


วันที่ เวลา กิจกรรม หมายเหตุ
เมื่อมี
กิจกรรม
รับศีล
๐๙.๐๐ น.
หรือ ๑๗.๐๐ น.ทุกวัน
เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นระเบียบเรียบร้อย
ภาคเช้า
๐๔.๐๐ น.
สัญญาณระฆังเตรียมพร้อม ซึ่งขณะเดียวกันก็จะเปิด
ธรรมคีตะเพื่อให้ตื่นรู้และทำภารกิจส่วนตัวให้เสร็จ
ภายในเวลา เมื่อธรรมคีตะจบก็เริ่มทำวัตรเช้า
๐๔.๓๐ น.
ปฏิบัติธรรม-สวดมนต์ทำวัตรเช้า นั่งสมาธิ-เดินจงกรม ตามแต่โอกาส รับฟังพระธรรมบรรยาย
จนถึงเวลา ๐๖.๐๐ น. รับประทานอาหารเช้า

๐๘.๐๐ น.
หลวงพ่อนำพระภิกษุสงฆ์รับบิณฑบาตภายในวัด
ภาคสาย
๐๘.๓๐ น.
สัญญาณระฆังเตรียมพร้อม(เปิดเทปธรรมคีตะ ๓๐ นาที)
 
๐๙.๐๐ น.
ปฏิบัติธรรม-สวดมนต์ทำวัตรเช้า เดินจงกรม
รับฟังพระธรรมบรรยาย
 
๑๑.๐๐ น.
พระภิกษุสงฆ์รับภัตตาหารเพล..
ผู้ร่วมปฏิบัติธรรมพักรับประทานอาหาร
 
๑๒.๐๐ -
๑๓.๓๐ น.
...ทำภารกิจส่วนตัว-พักผ่อนตามอัธยาศัย...
ภาคบ่าย
๑๓.๓๐ น.
สัญญาณระฆังเตรียมพร้อม(เปิดเทปธรรมคีตะ ๓๐ นาที)
 
๑๔.๐๐ น.
ปฏิบัติธรรม-สวดมนต์ นั่งสมาธิ รับฟังพระธรรมบรรยาย จนถึงเวลา ๑๖.๐๐ น. พักผ่อน-ทำภารกิจส่วนตัว
ภาคค่ำ
๑๗.๓๐น.
สัญญาณระฆังเตรียมพร้อม(เปิดเทปธรรมคีตะ ๓๐ นาที)
   
๑๘.๐๐ น.
ปฏิบัติธรรม-สวดมนต์ทำวัตรเย็น นั่งสมาธิ
รับฟังพระธรรมบรรยายจนถึงเวลา ๒๐.๐๐ น.
โดยประมาณ พักผ่อนตามอัธยาศัย
 
...จงดูจิต ระวังจิต รักษาจิต...
วันปกติ
เวลา
เช้า-เริ่ม 03.30-06.00 น. และ
เย็น-เริ่ม 18.00-20.00 น.
ในระหว่างวันจะมีผู้นำปฏิบัติตามควรหรือปลีกตัว
ปฏิบัติด้วยตนเองในถ้ำ ใต้ร่มไม้ ที่ว่างที่สงบ

ดาวน์โหลดใบสมัครปฏิบัติธรรม

 




 

แนวทางการปฏิบัติ

วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ใช้หลักและวิธีการสอนโดย
ใช้หลักมหาสติปัฏฐาน ๔ บริกรรมพุท-โธ ยืน เดิน นั่ง นอน หรือ พิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เป็นแนวทางการปฏิบัติที่ใช้ในการปฏิบัติภาวนา โดยส่วนใหญ่แล้วมีอยู่ด้วยกัน ๒ ประการ คือ

  1. สมถภาวนา และ
  2. วิปัสสนาภาวนา  
  • สมถภาวนา(สะ-มะ-ถะ) คือ การเจริญสมถกรรมฐาน ทำจิตให้แน่วแน่เป็นสมาธิ เป้าหมายของสมถภาวนา คือ ฌาน ได้แก่การบริกรรมพุท-โธ หรือเพ่งอารมณ์จนจิตใจแน่วแน่ตั้งมั่นเป็นอัปนาสมาธิ หรือภาวะจิตสงบประณีต อานิสงส์มีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
  • วิปัสสนาภาวนา(วิ-ปัด-สะ-นา) คือ การเจริญวิปัสนาให้เกิดความเห็นแจ้ง คือ เห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม มีปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดในสังขารเีสียได้ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัด ในภาวะของสิ่งของทั้งหลายตามความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป

    แนวทางการปฏิบัติทั้งสมถะภาวนาและวิปัสนากรรมฐานใช้พุทธานุสติ (พุท-โธ) เป็นอารมณ์พระกรรมฐาน

สติปัฏฐาน ๔ เป็นหลักการภาวนาตามมหาสติปัฏฐานสูตร เป็นข้อปฏิบัติเพื่อรู้แจ้ง คือเข้าใจตามเป็นจริงของสิ่งทั้งปวงโดยไม่ถูกกิเลสครอบงำ สติปัฏฐาน มี ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต และธรรม

กิจกรรมภายในวัด
เมื่อเข้าร่วมปฏิบัติธรรม

เวลาในการทำความเพียร
ก่อนเริ่มการปฏิบัติธรรม ทางวัดจะแจ้งเตือนโดย:-

  1. ให้สัญญาณระฆัง เพื่อเตรียมตัว 30 นาทีในเวลาเช้าและเย็น
  2. จากนั้นจะเปิดเสียงธรรม เสียงปลุก เสียงปลง เป็นเสียงตามสายประมาณ ๓๐ นาที เปิดเพื่อเตือนให้ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านได้เตรียมตัว ซึ่งในระยะเวลา ๓๐ นาทีนี้ หากท่านใดยังไม่ได้เตรียมตัวก็ให้ทุกท่านเตรียมทำภารกิจส่วนตัวให้พร้อม
  3. หากเมื่อพร้อมแล้วก็ให้เข้าสู่สถานที่ปฏิบัติธรรมประจำวันในศาลา ถ้ำ อุโบสถ หรือสุดแท้แต่คณะสงฆ์เห็นสมควรว่าจะนำปฏิบัติที่ไหนตามสถานการณ์ หรือดูสภาพอากาศ
  4. เมื่อเสียงธรรมะหยุดลง ก็เป็นเวลาเริ่มทำวัตรเช้าหรือทำวัตรเย็นและเจริญสติภาวนายืน เดิน นั่ง และรับฟังธรรมบรรยายจากพระอาจารย์ผู้์ให้คำแนะนำด้านการปฏิบัติวิปัสนากรรมฐาน

เมื่อถึงเวลาปฏิบัติธรรม: 

  1. ขั้นตอนที่ ๑
    ทำวัตร สวดมนต์แปลประมาณ ๒๐-๓๐ นาท
    ขั้นตอนที่ ๒
    เจริญสติ นั่งสมาธิ หรือเดินจงกรม ๓๐-๖๐ นาที
    ขั้นตอนที่ ๓
    ฟังธรรมบรรยายจากหลวงพ่อหรือพระวิปัสนาจารย์ ๓๐-๔๕ นาที
  2. ในระหว่างปฏิบัติธรรมห้ามใช้โทรศัพท์หรืองดส่งเสียงรบกวนผู้ือื่น

สำหรับผู้ที่เข้าไปปฏิบัติธรรมเป็นการส่วนบุคคลในแต่ละวัน เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจการทำวัตรปฏิบัติธรรมแล้ว อนุญาตให้พักหรือจะช่วยกันทำหน้าที่ต่างๆ ต่อไปโดยความสมัครใจ หากเป็น

  • ช่วงเช้า พระภิกษุสงฆ์ก็จะออกรับบิณฑบาตรโปรดญาติโยมในเวลา ๐๖.๐๐ น.
    อุบาสก(ชาย)อาจช่วยติดตามพระภิกษุสงฆ์ในการออกรับบิณฑบาตร หรือช่วยกันทำความสะอาดสถานที่ภายในวัด
    อุบาสิกา อาจช่วยกันจัดเตรียมสำรับ คาว-หวาน เมื่อถึงเวลาภัตตาหารเช้าก็จะให้สัญญาณระฆัง ทุกท่านก็พร้อมเพรียงกันที่ศาลาโรงฉัน เพื่อทำกิจวัตรในเรื่องภัตตาหารให้เรียบร้อย เมื่อเสร็จสิ้นแล้วก็ให้ทำภาระธุระส่วนตัว ในช่วงสายหรือบ่ายที่ว่างก็ให้หาเวลาปลีกวิเวกไปปฏิบัติตามปกติ
  • เย็น เริ่มที่เวลา ๑๖.๐๐ น. (๔ โมงเย็น) ทุกท่านก็พร้อมใจช่วยกันทำความสะอาดบริเวณวัดตามความสมัครใจ เช่นการกวาดใบไม้ หรือทำความสะอาดรอบบริเวณวัด กุฏิ ศาลา จนถึงเวลา ๑๗.๐๐-๑๗.๓๐ น. เมื่อสัญญาณระฆังในการทำวัตรเย็นดังขึ้น ทุกท่านก็เตรียมทำภารกิจส่วนตัวให้พร้อมก่อนขึ้นทำวัตรเย็นต่อไป
  • ทำวัตรเย็น ๑๘.๐๐-๒๐.๐๐ น. (๖โมงเย็น-๒ ทุ่ม) 

ขั้นตอน
ลำดับพิธีบวชชี-บวชชีพราหมณ์

ลำดับพิธีบวชชี-บวชชีพราหมณ์
เบื้องต้น ผู้ที่ประสงค์จะปฏิบัติธรรมรักษาศีล ให้นุ่งขาว ห่มขาว

วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญจัดงานปฏิบัติธรรม ๒ กรณี

  • ปฏิบัติธรรมใหญ่ประจำปีของวัด หรือ ในวันสำคัญทางศาสนาและวันนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดสำคัญของชาติ
    กำหนดการขอศีลหรือรับศีล๘ แบ่งเป็น ๒ เวลา คือ
    เวลา ๑๗.๐๐ น.หรือ ๐๙.๐๐ น.ของทุกวัน
    โดยผู้ตั้งใจไปปฏิบัติธรรมควรเตรียมตัวให้พร้อม หากจะให้ได้อานิสงส์ยิ่งขึ้นในวันที่จะไปรับศีล๘ ควรทานอาหารเที่ยงก่อนเวลาเที่ยง(เวลาเพล) หลังเที่ยงควรงดทานอาหารทานได้แต่น้ำหรือปานะที่เป็นของเหลว เพราะเมื่อรับศีล ๘ ในวันนั้น จะได้อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรมเพิ่มอีก ๑ วัน
  • ปฏิบัติธรรมส่วนบุคคลประจำวัน อาราธนาศีล๘ เวลา ๑๖.๓๐ น.หรือ ๐๙.๓๐ น.

ลำดับพิธีบวชชี-บวชชีพราหมณ์
เบื้องต้น ให้ผู้ประสงค์ที่จะปฏิบัติธรรมรักษาอุโบสถศีล นุ่งขาวห่มขาวเตรียม

  1. ดอกไม้สด ๑ ช่อ หรือทางเหนือใช้สวยดอกไม้หรือกรวยใส่ดอกไม้
  2. ธูป ๓ ดอก
  3. เทียนเหลือง ๒ เล่ม

เตรียมพานดอกไม้เครื่องสักการะให้เรียบร้อย ซึ่งสิ่งของสำหรับเครื่องสักการะที่จำเป็น เช่น เมื่อพร้อมกันแล้วรอพระสงฆ์ผู้จะทำพิธีตามเวลาและสถานที่กำหนด ซึ่งกรณีไปเป็นหมู่คณะก็ทำพิธีพร้อมกัน หากไปเป็นการส่วนตัว ก็ให้เรียนถามกำหนดการ และเวลานัดหมายจากสถานที่นั้นๆ เมื่อถึงเวลาพึงปฏิบัติตามลำดับดังนี้

  • นำพานดอกไม้กราบถวายพระอุปัชฌาย์ ขึ้นอยู่กับกำหนดของแต่ละสถานที่ ที่วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญจะยกพานดอกไม้ถวายพระสงฆ์เป็นพิธีกรรมเท่านั้น
  • กราบพระอุปัชฌาย์  แล้วยกพานขึ้นกล่าวคำขอบวช
  • นำพานเข้าประเคนแล้วอาราธนาศีล ๘
  • สมาทานศีลโดยพร้อมกันจนจบ
  • ฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์หรือพระสงฆ์ที่เป็นประธานทำพิธีให้
  • ถวายเครื่องสักการะหรือเครื่องไทยธรรม (ถ้ามี)
  • รับพรจากพระสงฆ์แล้วกราบพระอีกหน เป็นเสร็จพิธี

ขั้นตอนการอาราธนาศีล๘

  1. ขั้นตอนที่ ๑
    ขออารธนารับศีล ๘ จากพระสงฆ์
    กราบพระ ๓ ครั้ง แล้วถวายพานดอกไม้-ธูป-เทียนขั้นตอนที่ ๒
    กล่าวคำขอบวชชีพราหมณ์
    เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัญจะ ภิกขุสังฆัญจะ ปัพพัชชัง มัง ภันเต
    สังโฆ ธาเรตุ อัชชะตัคเค ปาณุเปตัง สะระณัง คะตัง

    แปลว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เสด็จดับขันธปรินิพพานนานแล้ว กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ระลึก ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นผู้บวชในพระธรรมวินัย ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
  2. ขั้นตอนที่ ๓
    พระสงฆ์กล่าวนำคำรับไตรสรณคมน์

    พระสงฆ์กล่าวนำ โยมว่าตาม 3 จบ
    นโม ตสฺส ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ว่า ๓ จบ)
    พระสงฆ์กล่าวนำ โยมว่าตาม
    พุทฺธํ  สรณํ  คจฺฉามิ
    ธมฺมํ   สรณํ  คจฺฉามิ
    สงฺฆํ   สรณํ  คจฺฉามิ
        
    ทุติยมฺปิ  พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ  ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
         
    ตติยมฺปิ  พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ  ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉาม
     

กล่าวคำอาราธนาศีล ๘
  มะยัง(อะหัง) ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ(มิ)
  ทุติยัมปิ  มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
  ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะ สีลานิ ยาจามะ
  
(ถ้ากล่าวคนเดียวว่า อะหัง แทนคำ มะยัง)

ศีล ๘ (The Eight Precepts; training rules)

  1. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ (To abstain from taking life) ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) อะทินนา ทานา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (To abstain from taking what is not given) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการลัก ฉ้อ สิ่งของที่ผู้อื่นมิได้ให้ด้วยตนเองและไม่ให้ผู้อื่น ลัก ฉ้อ) อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ (To abstain from unchastity) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ  เว้นจากอสัทธรรม กรรมอันเป็นข้าศึกแก่การประพฤติผิดพรหมจรรย์) มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (To abstain from false speech) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการพูดปด พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ) สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (To abstain from intoxicants causing  heedlessness) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการดื่มสุราเมรัย เครื่องดองของทำใจให้คลั่งไคลต่าง ๆ้ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท) วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ (To abstain from untimely eating) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการบริโภคอาหารในยามวิกาล (หลังเที่ยงถึงวันใหม่)นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะ
    วิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทังสะมาทิยาม (To abstain from dancing, singing, music and unseemly shows, from wearing garlands, smartening with scents, and embellishment with unguents) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และประดับร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม เครื่องประดับ เครื่องทา เครื่องย้อม ผัดผิวให้งามต่างๆ)
  2. อุจฺจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    (To abstain from the use of high and large luxurious couches) (ข้าพเจ้าสมาทานซึ่งสิกขาบท คือ เว้นจากการนั่งนอนเหนือเตียงตั่งที่เท้าสูงเกินประมาณ และที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ภายในมีนุ่นหรือสำลี อาสนะอันวิจิตรไปด้วยลวดลายงามด้วยเงินทองต่างๆ)

(จากนั้นเมื่อพระสงฆ์นำ ให้ว่าตามครบ  3  ครั้ง)
อิมานิ  อัฏฐะ  สิกขาปะทานิ  สะมาทิยามิ 
     
ต่อจากนั้นพระสงฆ์กล่าวสรุปอานิสงส์ของศีล ดังนี้
(แม่ชี หรือ ผู้ขอบวชไม่ต้องว่าตาม แต่ให้พนมมือไหว้)
  อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สมาทิยามิ
  สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
  สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย

แม่ชี หรือ ผู้ขอบวช รับว่า สาธุ แล้วกราบ ๓ ครั้ง
เป็นอันเสร็จพิธี


หมายเหตุ :
หากมีเครื่องไทยทานที่จะถวายพระก็ให้ถวายตอนนี้ เมื่อพระสงฆ์กล่าวคำว่า ยะถา วาริวะหา.. พึงกรวดน้ำให้หมด เมื่อพระสงฆ์ขึ้นคำว่า สัพพีติโย..พึงประนมมือรับพร เหตุที่เป็นดังนี้ดังมีคำเปรียบเทียบว่า ยะถาให้ผี สัพพีให้คน คือ ยะถา.. เป็นคำกล่าวอุทิศให้ผู้ล่วงลับ ส่วนสัพพีติโย วิวัชชันตุ เป็นคำกล่าวอวยพรให้คน)
        

การสมาทานอุโบสถศีล(วันพระ)

ใช้สำหรับผู้ตั้งใจปฏิบัติศีลอุโบสถในวันพระ ๘ ค่ำ, ๑๔, ๑๕ ค่ำ ที่บ้าน เป็นเวลา ๑ วันกับอีก ๑ คืนของวันพระนั้นๆ ซึ่งขั้นตอนก็จะเหมือนกับการรับศีล ๘ หรือบวชพราหมณ์ที่วัด เพียงแต่คำสวดสมาทานต่างกัน ดังนี้

  1. ขั้นตอนที่ ๑
    กราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้งหน้าพระพุทธรูปที่อยู่ในบ้าน
  2. ขั้นตอนที่ ๒ กล่าวคำำอาราธนาอุโบสถศีล (คำในวงเล็บสำหรับกล่าวคนเดียว)
    มะยัง(อะหัง) ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ(ยาจามิ)
    ทุติยัมปิ มะยัง(อะหัง) ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนา คะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ(ยาจามิ)
    ตะติยัมปิ มะยัง(อะหัง) ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนา คะตัง อุโปสะถัง ยาจามะ(ยาจามิ)

  3. ขั้นตอนที่ ๓ พระสงฆ์กล่าวนำคำรับไตรสรณคมน์
    พระสงฆ์กล่าวนำ โยมว่าตาม ๓ จบ(กรณีทำเองที่บ้านสามารถกล่าวเอง)

    นโม ตสฺส ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
    (ว่า ๓ จบ)

    พระสงฆ์กล่าวนำ โยมว่าตาม(
    หากทำเองที่บ้านให้กล่าวเองได้)
    พุทฺธํ   สรณํ  คจฺฉามิ
    ธมฺมํ   สรณํ  คจฺฉามิ
    สงฺฆํ   สรณํ  คจฺฉามิ

    ทุติยมฺปิ   พุทธํ  สรณํ  คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ   ธมฺมํ  สรณํ   คจฺฉามิ
    ทุติยมฺปิ   สงฺฆํ  สรณํ   คจฺฉามิ

    ตติยมฺปิ   พุทธํ  สรณํ  คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ   ธมฺมํ  สรณํ   คจฺฉามิ
    ตติยมฺปิ   สงฺฆํ  สรณํ   คจฺฉามิ


  4. ขั้นตอนที่ ๔ คำให้อุโบสถศีล กล่าวเหมือนศีล ๘ ทุกประการ
    ๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๒. อะทินนา ทานา เวระมะณี สิกฺขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๓. อะพรัหมะจะริยา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๔. มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๕. สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฺฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๖. วิกาละโภชะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ ธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    ๘. อุจฺจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 

เมื่อกล่าวคำรับอุโบสถศีลแล้ว ให้กล่าวคำสมาทานอุโบสถศีลต่อดังนี้
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง,
อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะ อภิรักขิตุง สะมาทิยามิ

กล่าวคำแปล
:
ข้าพเจ้าขอสมาทานซึ่งองค์อุโบสถ ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ดังสมาทานมาแล้วนี้ เพื่อจะรับรักษาไว้ให้ดีมิให้ขาดมิให้ทำลาย ตลอดวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เพลาวันนี้ ขอกุศลอันนี้จงเป็นอุปนิสัย และเป็นปัจจัย แก่การกระทำให้แจ้งซี่งพระนฤพานในอนาคตกาล ชาตินี้ชาติหน้าโน้นเทอญ.

หากกล่าวรับอุโบสถศีลที่วัด พระสงฆ์จะกล่าวอานิสงส์แต่หากรับที่บ้านก็กล่าวเองด้วยบทนี้คือ
  อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ อุโปสะถะสีละวะเสนะ
  สาธุกัง กัตวา อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิฯ
  
(กล่าวรับว่า อามะ ภันเต)

 สีเลนะ สุคะติง ยันติ   สีเลนะ โภคะสัมปะทา
 สีเลนะ นิพพุติง ยันติ   ตัสมา สีลัง วิโสธะเย
(กล่าวรับว่า สาธุ แล้วกราบ ๓ ครั้ง)

เมื่อพ้นจากวันพระ ๑ วันกับอีก ๑ คืนแล้ว เมื่อจะลาสิกขาให้กล่าวคำลาสิกขาในวันถัดไปดังนี้

  1. กราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง
  2. กล่าวไตรสรณคมน์ (ตั้งนะโม ๓ ครั้ง)
  3. กล่าวคำลาสิกขา ดังนี้
    "สิกขัง ปัจจักขามิ คิหีติ มัง ธาเรถะ" ขอพระสงฆ์ทั้งปวง จงจำคำข้าพเจ้าไว้ แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ บัดนี้ข้าพเจ้าขอลาสิกขา
  4. เสร็จสิ้นพิธีการ กราบพระรัตนตรัย ๓ ครั้ง เป็นอันสิ้นสุดพิธีการ

ความหมายและอานิสงส์
"ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง อุโบสถศีล กับ ศีล ๘"

  1. อุโบสถศีล กับ ศีล ๘ มีข้อห้าม ๘ ประการเหมือนกัน
  2. คำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกัน
  3. อุโบสถศีล มีวันพระเป็นกำหนด สมาทานรักษาได้เฉพาะวันพระเท่านั้น
  4. ส่วนศีล ๘ สมาทานรักษาได้ทุกวัน
    อุโบสถศีล มีอายุ ๒๔ ชั่วโมง (วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง) ส่วนศีล ๘ ไม่มีกำหนดอายุในการรักษา
  5. อุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีลของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ซึ่งกรณีนี้ท่านผู้ปรารถนาจะรักษาอุโบสถศีลก็อาราธนารักษาที่บ้านก็ได้ในวันพระ ๘ ค่ำ ๑๔ หรือ ๑๕ ค่ำ
    ส่วนศีล ๘ เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ไม่อยู่ครองเรือนหรือผู้ออกจากเรือนเป็นการชั่วคราว
    หรือผู้ทิ้งเรือนไปปฏิบัติธรรมที่วัด เช่น แม่ชีผู้ขอบวชพราหมณ์ ชีพราหมณ์ เนกขัมนารี

การรักษาศีลของอุบาสก(ผู้ชาย)หรือพราหมณ์
เป็นคำที่ใช้เรียกอุบาสกหรือโยมผู้ชายที่นุ่งขาวห่มขาว โดยมีความตั้งใจที่จะรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเช่นเดียวกับชี หรือชีพราหมณ์ เป็นวิธีการที่จะช่วยให้อุบาสกที่ปรารถนาจะฝึกปฏิบัติสมาธิ ฟังธรรม และพักอยู่ที่วัดเพื่อให้มีความสงบ และเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการอยู่ในวัด จึงมีระเบียบการปฏิบัติและการ แต่งกาย คือ นุ่งขาวห่มขาว และรักษาศีล ๘ เช่นเดียวกัน จึงนิยมเรียกโยมผู้ชายที่รักษาศีลว่า อุบาสก หรือ พราหมณ์

ชีพราหมณ์
เป็นคำที่ใช้เรียกอุบาสิกาหรือโยมผู้หญิงที่นุ่งขาวห่มขาว โดยมีความตั้งใจรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเช่นเดียวกับแม่ชี จะแตกต่างกันเพียงแต่ไม่ได้โกนผมโกนคิ้วอย่างแม่ชีเท่านั้น เป็นวิธีการที่จะช่วยให้อุบาสิกาที่ปรารถนาจะฝึกปฏิบัติสมาธิ ฟังธรรม และพักอยู่ที่วัด เพื่อให้มีความสงบ ปลอดจากภาระต่างๆ ทางหน้าที่ การงาน ทางครอบครัว และสังคมภายนอก และเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการอยู่ในวัด จึงมีระเบียบการปฏิบัติและการแต่งกาย คือ นุ่งขาว ห่มขาว และรักษาศีล ๘ เช่นเดียวกันกับแม่ชี อุบาสิกาเหล่านั้นไม่ต้องการโกนผมโกนคิ้ว จึงเรียกให้เหมาะสมว่าเป็นชีพราหมณ์เพื่อให้แตกต่างจากแม่ชีโดยทั่วไป อุบาสิกาเหล่านี้แม้จะไม่ได้โกนผม โกนคิ้ว ก็ตั้งใจรักษาศีล ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง จึงมีคำเรียกอีกประการหนึ่งว่า ศีลจาริณี แปลว่า หญิงผู้รักษาศีล

เนกขัมมนารี
เนกขัมมนารีนิยมใช้เรียกเจาะจงที่เด็กหญิงวัยดรุณี หญิงแรกรุ่น หรือหญิงที่ยังไม่ได้ครองเรือน คือ ยังเป็นนารีวัย แรกรุ่น ยังไม่บรรลุนิติภาวะที่ตั้งใจรักษาศีลปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดเช่นเดียวกับชีพราหมณ์ ข้อปฏิบัติต่างๆ ก็เหมือน กับชีพราหมณ์ทุกประการ จึงนิยมเรียกดรุณีเหล่านี้ว่า เนกขัมมนารี แปลว่า เด็กหญิงหรือดรุณีผู้รักษาศีล

อานิสงส์ของเนกขัมมบารมี
เนกขัมมบารมี แปลว่า การสร้างบารมีด้วยการออกบวช ในบารมี ๓๐ ทัส หรือ การออกจากกาม หรือกำลังใจเต็ม พร้อมในการถือบวช หรือการรักษาศีล หรือ อุโบสถศีล ไม่ว่าจะบวชด้วยวิธีไหนก็ตาม  เช่น จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ บรรพชาเป็นสามเณร อุบาสกผู้นุ่งขาวห่มขาวผู้รักษาศีล บวชชี ชีพราหมณ์ เนกขัมมนารี จะโกนผม หรือ ไม่โกนผมก็ตาม จะสวมใส่อาภรณ์ชนิดใดก็ตามท่านมุ่งเน้นไปที่ การบวชใจ จะอยู่บ้าน อยู่วัดก็ได้อานิสงส์ คือ ได้บุญเต็มที่ครบถ้วน เพราะบุญ คือ การตั้งใจรักษาศีลซึ่งจัดเป็น เนกขัมมบารมี

จบบริบูรณ์
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ 

 

    




;






 

;

 

                 
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐
โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

website : www.watthumpra.com
email : watthumprachiangrai@gmail.com