วันเข้าพรรษา
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระภิกษุจำพรรษา ๓ เดือน
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในปีอธิกมาส
ความเป็นมา :
กล่าวถึงการบัญญัติพระวินัยเรื่องการเข้าพรรษาไว้ในพระไตรปิฏกกล่าวคือ สมัยเมื่อพระพุทธเจ้า
ได้ทรงประกาศธรรม สั่งสอนธรรม ได้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาในพระธรรมของพระพุทธเจ้าจึงได้เข้ามาอุปสม-บรรพชาเป็นพระภิกษุมากขึ้น ซึ่งเวลานั้นพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติให้ิ้พระภิกษุจำพรรษา ดังนั้น
พระภิกษุจึงเที่ยวจาริกตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ทำให้คนทั้งหลายติเตียนที่พระภิกษุได้เที่ยวจาริกไปตลอดฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน อีกทั้งได้เผลอเหยียบย่ำต้นข้าว แปลงนา
พืชพันธัญหาร พืชผลทางการเกษตรเสียหาย และอาจเบียดเบียนสัตว์เล็กสัตว์น้อยจำนวนมากจนตาย นอกจากนี้คนทั้งหลายได้บอกให้ดูอย่างพวกนอกศาสนาที่ยังหยุดพักในช่วงฤดูฝน เมื่อพระภิกษุ
ได้ยินคนพวกนั้นติเตียน จึงนำเรื่องการถูกติเตียนนี้กราบทูลแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาตลอดถ้วนไตรมาส ๓ เดือน
พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติให้พระภิกษุจำพรรษาในฤดูฝนตลอดระยะเวลา ๓ เดือน
โดยวันเข้าพรรษาที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมีอยู่ ๒ วัน คือ
- ปุริมิกา หรือ ปุริมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาต้น
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หรือ วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ หลัง ในปีอธิกมาส
(วันถัดจากวันอาสาฬหบูชา) และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
- ปัจฉิมิกา หรือ ปัจฉิมพรรษา หรือ วันเข้าพรรษาหลัง ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งบัญญัติไว้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถเข้าพรรษาต้น
ก็ให้เลื่อนไปเข้าพรรษาในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๙ ก็ได้ และไปออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
การเข้าพรรษา คือ การที่พระภิกษุสงฆ์ตกลงตั้งใจว่าจะอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งตลอดถ้วนไตรมาส ๓ เดือนในฤดูฝนโดยเมื่อตกลงใจที่จะอยู่จำพรรษาที่วัดใดแล้วในช่วงตลอดระยะเวลา ๓ เดือน
นั้นพระภิกษุสงฆ์ไม่อาจเปลี่ยนแปลงที่อยู่จำพรรษา โดยไม่มีเหตุจำเป็นอันมีบัญญัตไว้ในพระวินัย
หากพระภิกษุรูปใดฝ่าฝืนถือว่าอาบัติ ซึ่งการอยู่จำพรรษานี้ถือเป็นข้อ ปฏิบัติสำหรับพระภิกษุโดยตรง
โดยมีพระวินัยบัญญัติไว้ให้พระภิกษุสงฆ์ปฏิบัติตามทุกรูป และละเว้นไม่ได้ไม่ว่ากรณีใดๆ
แต่อย่างไรก็ตามพระพุทธเจ้าได้ทรงอนุโลมให้เดินทางได้ในระหว่างพรรษา เรียกว่าสัตตาหกรณียะ คือ มีกิจจำเป็นซึ่งพระวินัยได้อนุญาตให้ไปค้างแรมที่อื่นได้โดยมีข้อจำกัดว่าจะต้องกลับมายังสถานที่ที่อยู่จำพรรษาเดิมภายใน ๗ วัน ซึ่งกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงอนุโลมได้แก่
- เมื่อทายก ทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศลแล้วมานิมนต์ ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้
- ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได
- ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์เป็นไข้เจ็บป่วย เมื่อทราบก็ให้ไปได้
- พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้
- เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วมก็ให้ไปจากที่นั้นได
- เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความ
เลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้
- เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลนอาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุงได้รับความลำบาก
ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
- ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้
- หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้
ธรรมเนียมปฏิบัติในวันเข้าพรรษา
|
|
|
|
- ธรรมเนียมสงฆ์
ธรรมเนียมปฏิบัติในวันเข้าพรรษาจะเป็นพิธีทางสงฆ์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งธรรมเนียมปฏิบัติของพระภิกษุุนั้นจะเริ่มตั้งแต่ก่อนจะถึง วันเข้าพรรษา เมื่อพระภิกษุสงฆ์ท่านได้ตกลงตั้งใจที่จะอยู่จำพรรษาที่วัดใดตลอด
ถ้วนไตรมาส ๓ เดือนนั้นแล้ว พระภิกษุจะทำการซ่อมแซมเสนาสนะที่ชำรุดทรุดโทรมให้อยู่ในสภาพที่ดี เหมาะแก่การใช้เป็นที่อยู่อาศัยตลอดจนปัดกวาดเช็ดถูให้สะอาด สำหรับสาเหตุุที่ต้องดูแลเสนาสนะให้มั่นคงและสะอาด ก็เพื่อจะได้ใช้บำเพ็ญสมณกิจในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาได้เต็มที่ ไม่ต้องกลัวฝนจะรั่วรดอุโบสถในขณะที่ทำสังฆกรรมไหว้พระสวดมนต์
เมื่อวันเข้าพรรษาเวียนมาบรรจบ พระภิกษุสามเณรทั้งหมดภายในวัดจะเตรียมดอกไม้ ธูป
เทียนใส่พานหรือภาชนะที่สมควร เพื่อใช้สักการะปูชนียวัตถุต่างๆ ในวัดและใช้ทำสามีจิกรรม
คือ การทำความเคารพกัน ตามธรรมเนียมของพระภิกษุสามเณรในระหว่างผู้ใหญ่กับผู้น้อยตามธรรมเนียมสงฆ์
โดยจะเตรียมให้พร้อมก่อนกำหนดเวลา และการประกอบพิธีดังกล่าวต้องประชุมพร้อมกันในอุโบสถ
ส่วนกำหนดเวลานั้นก็อยู่ที่สงฆ์ประชุมตกลงกันตามที่เห็นสมควร แต่โดยส่วนมากจะกำหนดในตอนเย็น
ก่อนค่ำ เพื่อความสะดวกแก่เวลาที่พระภิกษุและสามเณรต้องลงอุโบสถ การจัดที่นั่งในอุโบสถนั้นก็โดย
จัดให้นั่งตามลำดับอาวุโสพรรษา โดยพระภิกษุท่านจะสอบถามพรรษากันว่าท่านไหนมีพรรษา คือ
บวชมานานก่อนท่านอื่นๆ แล้วก็ จัดเรียงการนั่งตามลำดับพรรษาจากมากที่สุด ไปจนถึงพรรษาน้อยที่สุด
ไม่ใช่นั่งตามศักดิ์ และเรียงแถวจากขวามือไปซ้ายมือหันหน้าเข้าหาพระพุทธรูปที่เป็นองค์ประธาน
การลงอุโบสถ
มีสิ่งที่พระภิกษุสงฆ์และสามเณรจะพึงปฏิบัติ คือ
- ทำวัตรเย็น
- การแสดงพระธรรมเทศนา เรื่องวัสสูปนายิกากถา หรืออ่านประกาศเรื่องวัสสูปนายิกา
โดยแสดงเป็นเทศนาตามหนังสือเทศน์ที่มี หรือ อ่านเป็นประกาศเพื่อให้พระภิกษุ สามเณร ที่ประชุมกันนั้นได้ทราบเรื่องวัสสูปนายิกาเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้ถือตามธรรมเนียมนิยมของวัดนั้นๆ
ถ้าจะใช้แบบอ่านประกาศคำประกาศนั้นควรมีสาระสำคัญดังนี้
ก. บอกให้รู้เรื่องการอยู่จำพรรษา
ข. แสดงเรื่องที่มาในบาลีวัสสูปนายิกขันธกะวินัยโดยใจความ
ค. บอกเขตของวัดนั้นๆ ที่จะต้องรักษาพรรษาหรือเรียกกันว่า รักษาอรุณ
ง. บอกเรื่องการถือเสนาสนะและประกาศให้รู้ว่าจะให้ถืออย่างไร หรือเมื่อถือเสนาสนะแล้วจะต้องปฏิบัติอย่างไร
จ. หากมีกติกาอื่นใดในเรื่องจำพรรษาร่วมกันนี้ ก็ให้บอกได้ในประกาศนี้ ซึ่งการอ่านประกาศนี้
จะอ่านบนธรรมมาสน์เทศน์ หรือที่สำหรับสวดปาติโมกข์ หรือนั่งประกาศข้างหน้าสงฆ์ ก็ได้
- ทำสามีจิกรรม คือ ขอขมาโทษต่อกัน
- เจริญพระพุทธมนต์
- สักการะบูชาปูชนียวัตถุสถานภายในวัด
ซึ่งในวันเข้าพรรษาถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่จะต้องมีการ อธิษฐานพรรษา ที่ปฏิบัติสืบกันมาโดยที่ พระภิกษุผู้จะเข้าอยู่จำพรรษาจะต้องจั้งจิตอธิฐานเปล่งวาจาว่า จะขออยู่จำพรรษาในวัด สถานที่ใดสถานที่หนึ่งสถานที่เดียวจนครบกำหนดถ้วนไตรมาส ๓ เดือน
สำหรับวิธีปฏิบัติคือ เมื่อเสร็จพิธีที่ควรปฏิบัติในเบื้องต้นดังกล่าวแล้ว ให้ภิกษุสามเณรทั้งหมดนั่งคุกเข่าขึ้นพร้อมกัน หันหน้าไป ทางพระพุทธรูปองค์ประธาน
แล้วกราบพระ ๓ ครั้ง
จากนั้นพระเถระผู้เป็นประธาน หรือเจ้าอาวาสนำประณมมือตั้งว่า นโม ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต; อะระหะโต; สัมมาสัมพุทธัสสะ (พร้อมกัน ๓ จบ)
ต่อจากนั้นนำเปล่งวาจา คำอธิษฐานพรรษา เป็นภาษาบาลีว่า
อิมัสะมิง อาวาเส อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ หรือ
อิมัสะมิง วิหาเร อิมัง เตมาสัง วัสสัง อุเปมิ
แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในอาวาสนี้ หรือในวิหารนี้ โดยกล่าวพร้อมกัน ๓ จบ เสร็จแล้วจึงกราบพระพร้อมกัน ๓ ครั้ง แล้วจึงนั่งราบพับเพียบกับพื้น
ธรรมเนียมราษฎร์
- ธรรมเนียมราษฎร์
พิธีการปฏิบัติในวันเข้าพรรษาของพุทธศาสนิกชนนั้น สามารถกระทำได้ตั้งแต่ก่อนวันเข้าพรรษา
พระภิกษุสงฆ์ทำความสะอาดเสนาสนะ กุฏิวิหาร หากมีสิ่งใดชำรุดก็จะช่วยกัน
ซ่อมแซม หากมีสิ่งใดชำรุด ก็จะช่วยกันซ่อมแซม เพื่อให้พระภิกษุได้บำเพ็ญศาสนกิจได้อย่างเต็มที่
ในช่วงเข้าพรรษาและเมื่อถึงวันเข้าพรรษาพุทธศาสนิกชนจะนิยมทำบุญตักบาตรกัน ๓ วัน
คือวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ สิ่งของที่นิยมนำไปถวายพระภิกษุสงฆ์ได้แก่ขนมที่นิยมทำกันในวันเข้าพรรษาได้แก่
ขนมเทียน
ก่อนวันเข้าพรรษามักมีธรรมเนียมสำหรับอุบาสก อุบาสิกา โดยจะนำเครื่องสักการะไปถวายพระภิกษุ-สามเณรที่ตนเคารพนับถือ เครื่องสักการะนั้นนิยมมีดอกไม้ ธูป เทียน ผ้าอาบน้ำฝน สบง จีวร และเครื่องปัจจัยสี่ เช่น สบู่ แปลงสีฟัน ยาสีฟัน
กระดาษชำระ เป็นต้น จัดเป็นสักการะถวายเฉพาะรูป
นอกจากนี้ พุทธศาสนิกชนบางส่วนยังปวารณาต่อพระสงฆ์เื่พื่อรับเป็นโยมอุปัฏฐากจัดหาเครื่องสักการะ
หรือจัดหาสิ่งที่ขาดเหลือมาถวายให้แก่พระภิกษุหรือสามเณร ที่ตนเองนับถือ หรือบางรายก็รับอาสามาดูแลทำความสะอาดวัดก็ได้อานิสงฆ์อย่างยิ่ง
|