: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่
.....
หน้าแรก >>    
....


แบบอุโบสถ รูปด้านหน้า



แบบอุโบสถ รูปด้านข้าง



พระครูบาเจ้าบุญชุ่ม ญานสังวโร
ได้เมตตามาร่วมอธิษฐานจิตพื้นที่สร้างอุโบสถ
 

ได้เมตตาเจิมแผ่นศิลาฤกษ์




กรวดน้ำแผ่เมตตาลงสู่จุดวางศิลาฤกษ์
..


ก า ร ส ร้ า ง อุ โ บ ส ถ          
  "วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ"               
                                                                   

"วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ" หรือสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งนี้ได้ถูกค้นพบ
และก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณในราว ปีพุทธศักราช ๒๔๗๗ โดยชาวบ้าน
นิยมเรียกกันว่า “ถ้ำพระ” ทั้งนี้เพราะในอดีตมีพระพุทธรูปโบราณเก่าแก่
ปางต่าง ๆ อยู่ในถ้ำเป็นจำนวนมาก โดยก็มิมีใครทราบว่าพระพุทธรูป
โบราณเหล่านี้มาจากไหน จึงเป็นที่เรียกกันของชาวบ้านว่า “ถ้ำพระ”
จึงทำให้มีพระสายปฏิบัติกรรมฐานแวะเวียนมาพักปฏิบัติธรรมชั่วคราว
สับเปลี่ยนหมุนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยมาจึงมีชื่อสถานปฏิบัติธรรม
โดยรับอนุญาตอย่างถูกต้องว่า
"สถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานถ้ำพระบำเพ็ญบุญ"


ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๓ ทางกระทรวงศึกษาธิการได้เล็งเห็นประโยชน์
คุณูปการดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงมีคำสั่งแต่งตั้งสำนักสงฆ์
วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ เป็น “ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ
ประจำจังหวัดเชียงราย
โดยกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องใน
มหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
อดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๖ รอบ
ในปีพุทธศักราช  ๒๕๔๒”

   ริเริ่มสร้างโบสถ

    จากการที่พระครูจันทนิภากร หรือ หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร
    ได้เป็นผู้นำปฏิบัติธรรม
และเผยแผ่ธรรม จนเป็นที่รู้จักกัน
    อย่างกว้างขวางในหมู่พระภิกษุสงฆ์ผู้จาริกแสวงบุญและธุดงค์
    แวะเวียนมาปฏิบัติธรรมยังสถานที่แห่งนี้ ท่านได้ขอจัดตั้ง
    สถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานถ้ำพระบำเพ็ญบุญ แห่งนี้
    เป็น "วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ" และได้ริเริ่มจัดงาน "ปริวาสกรรม"
    เพื่อสงเคราะห์แก่หมู่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งปัจจุบันก็เป็นเวลา
    ร่วม ๒๐ กว่าปี เนื่องจากวัดถ้ำพระแห่งนี้ตั้งอยู่ในป่ารกชัฏ
    เป็นที่สัปปายะ อุดมไปด้วยป่าไม้นานาพันธุ์น้อยใหญ่ที่ล้อมรอบ
    ไปด้วยภูเขาหิน และมีถ้ำที่เป็นธรรมชาติอยู่จำนวน ๔-๕ ถ้ำ

    ดังนั้น ท่านจึงใช้ "ถ้ำ" โดยสมมติเป็นอุโบสถชั่วคราว ซึ่งทั้งนี้
    วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญยังไม่มีอุโบสถใช้ แต่การจัดงานปริวาสกรรม
   
สำหรับพระภิกษุสงฆ์ทั่วประเทศที่ได้มาอยู่ปริวาสกรรม     
    ยังวัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญแห่งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้อุโบสถ
    ในการทำสังฆกรรม เพื่อการสวดขอปริวาสกรรม การขึ้นมานัต
    และการออกอัพภาณตามพระวินัยบัญญัติ

    แต่เมื่อมีพระภิกษุสงฆ์ได้มาอยู่ประพฤติปริวาสเป็นจำนวน
    หลายร้อยรูป "ถ้ำ"ที่ใช้เป็นอุโบสถชั่วคราวก็คับแคบลง
    บรรจุพระภิกษุสงฆ์ได้ประมาณ ๒๐-๓๐ รูป ในการทำสังฆกรรม
    และในระหว่างจำพรรษา "ถ้ำ" ก็มีน้ำเจิ่งนอง ซึ่งเมื่อพระภิกษุสงฆ์
    ใช้ถ้ำในการทำสังฆกรรมพื้นถ้ำก็ชื้นแฉะไปด้วยน้ำ ก่อให้เกิด
    ความลำบากแก่พระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมาก


    ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จึงก่อให้เกิดความจำเป็นที่ หลวงพ่อถวิล จนฺทสโร
    ท่านมีดำริที่จะสร้างอุโบสถขึ้นมาเพื่อเป็นประโยชน์โดยตรงไว้
    ในพระพุทธศาสนาและเพื่อประโยชน์ใหญ่แก่หมู่พระภิกษุสงฆ์
    ที่จำเป็นต้องใช้อุโบสถในการทำสังฆกรรมไม่เพียงเฉพาะ
    งานปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุเท่านั้น แต่ยังใช้เป็นสถานที่
    อุปสมบท-บรรพชาพระภิกษุ สามเณร ที่ประสงค์จะมาอยู่ยัง

    สถานปฏิบัติธรรม วัดถ้ำพระบำเำพ็ญบุญ แห่งนี้หรือกุลบุตร
    ผู้ยากไร้หรือขาดแคลนปัจจัยที่ประสงค์จะอุปสมบท-บรรพชา
    ในพระพุทธศาสนาหลวงพ่อท่านยังได้เมตตาอุปถัมป์ให้ได้
    รับการอุปสมบท-บรรพชาในพระพุทธศาสนานี้เช่นกัน


    ดังนั้น อุโบสถ หรือ โบสถ์ ที่ปรากฏขึ้นบนพื้นที่ของ
    วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ จึงมากด้วยประโยชน์คุณูปการดังกล่าว
    โบสถ์ จึงมิใช่เพียงสิ่งปลูกสร้างทั่วไปที่มีขึ้นเพียงเพื่อมีไว้
    ประดับพื้นที่ของวัดเท่านั้น แต่หากเป็นวิสุงคามสีมา เพื่อยังประโยชน์
    สำหรับสืบทอดพระพุทธศาสนาและเกื้อกูลแก่หมู่สงฆ์ สมณชีพราหมณ์
    ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงพระธรรมวินัย
    และสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง เป็นอานิสงส์อย่างยิ่ง
    แห่งการสร้างโบสถ์ ซึ่งเป็น วิหารทาน ที่
    องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสสรรเสริญถึงอานิสงส์
    แห่งบุญ ไว้แล้วในพระไตรปิฏกที่ยกมา

                                                                                                  

 

อ่านต่อหน้า >> 1 I 2 I 3 I 4 I หน้าแรก >>                

วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ
ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย  :  ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐ โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕ โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

www.watthampra.com             email : info@watthumpra.com