: : ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานปฏิบัติธรรม กับธรรมชาติที่สัปปายะ ป่าไม้ ถ้ำ และภูเขา บนเนื้อที่ ๘๐ ไร่
.....
หน้าแรก >>    
....
 

พระพุทธเมตตา
และสถูปเจดีย์พุทธคยาจำลองจากอินเดีย
ณ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ



พระพุทธเมตตา
เป็นพระประธานในพระมหาเจดีย์พุทธคยา
เมืองคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย


พระพุทธเมตตา เป็นศาสนวัตถุสำคัญ ที่ประดิษฐานอยู่ในบริเวณ
พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
ที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมเดินทางไปกราบสักการะกันมาก
พระพุทธเมตตา เป็นพระพุทธปฏิมาอันงดงามยิ่งประดิษฐาน
ณ ห้องบูชาชั้นล่างสุด ของพระมหาเจดีย์พุทธคยา ผินพระพักตร์
ไปทางประตูด้านทิศตะวันออก หน้าตักกว้าง ๑๔๗ เซนติเมตร
สูง ๑๖๕ เซ็นติเมตร มีอายุประมาณ ๑๔๐๐ ปี ใกล้เคียงกับยุคสมัย
ของ หลวงพ่อพระพุทธเจ้าองค์ดำ หรือ “หลวงพ่อองค์ดำ”
แห่งเมืองนาลันทา ประเทศอินเดีย ซึ่งก็เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์
ที่ชาวพุทธศรัทธานับถือเช่นกัน

พระพุทธลักษณะ
ขององค์พระพุทธเมตตา แกะสลักจากหินสีดำเนื้อละเอียด
ศิลปะสมัยราชวงศ์ปาละ คนไทยเรียกว่าเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย

หรือ ปางชนะมาร ส่วนคนอินเดียเรียกว่า ปางภูมิสัมผัส
หรือ ปางภูมิผัสสะ แปลว่า ทรงชี้ให้แผ่นดินหรือพระแม่ธรณี
เป็นพยานแห่งการทำความดีในอดีต
ในขณะที่พระโพธิสัตว์
ทรงบำเพ็ญก่อนการตรัสรู้ ในขณะนั้น พระยามารท้าววสวัตตี
(วะ-สะ-วัด-ตี) หรือท้าวปรนิมมิตวสวัตตีพร้อมเสนามาร
มาผจญพร้อมขับไล่พระองค์ให้ลุกหนีไปเสียจากพุทธบัลลังก์
ที่ประทับ พระองค์ไม่ทรงลุกหนี พร้อมทั้งทรงประกาศชี้
ให้พระแม่ธรณีมาเป็นพยานในการทำความดีในอดีตของพระองค์

ในครั้งนั้นพระแม่ธรณีได้มาเป็นพยานโดยได้บีบน้ำในมวยผม
ที่พระองค์ได้ทรงทำคุณความดี กรวดน้ำฝากไว้ในการทำบุญ
สร้างกุศลทุกครั้ง เมื่อพระแม่ธรณีบีบมวยผมก็มีน้ำไหลออกมาเนืองนอง
จนท่วมแผ่นดินและเหล่าพระยามารท้าววสวัตตี (วะ-สะ-วัส-ตี)
หรือท้าวปรนิมมิตวสวัตตี ต้องพาบริวารถอยร่นหลบหนี
กระทั่งในที่สุดทำให้พระยามารต้องพ่ายแพ้ต่อพระบารมี

ปัจจุบันมีชาวพุทธผู้มีจิตศรัทธาได้เดินทางไปปิดทอง
องค์พระพุทธเมตตาจนเหลืองอร่ามสุกใสงดงาม
ฉัพพรรณรังสีประดับด้วยอัญมณีและพลอยมากค่า

าเหตุที่เรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธเมตตา”
มีประวัติที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์พระพุทธเมตตา คือ ในศตวรรตที่ ๑๓
มีกษัตริย์ฮินดู นามว่า พระเจ้าสาสังกาซึ่งเป็นกษัตริย์จากรัฐเบงกอล
พระองค์ี่ไม่ประสงค์จะอยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นมคธ
ซึ่งมีพระเจ้าปุรณวรมา เป็นกษัตริย์ปกครองในยุคนั้น

พระเจ้าสาสังกา ต้องการประกาศตนเป็นอิสระ จึงได้กรีฑาทัพมาทำลาย
จุดศูนย์กลางของแคว้นมคธ คือ บริเวณดินแดนแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์
ด้วยหมายจะทำลายขวัญกำลังใจของกษัตริย์และประชาชนเสียก่อน
แล้วจึงค่อยยกทัพไปตีเมืองหลวงในขั้นต่อไป เนื่องด้วยบริเวณพุทธคยานี้
มีต้นพระศรีมหาโพธิ์และพระพุทธเมตตาเป็นหัวใจสำคัญที่ชาวพุทธ
ให้ความเคารพนับถือกราบไหว้บูชากันมาก ทำให้เกิดการขยายตัว
ทางพระพุทธศาสนาได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น พระเจ้าสาสังการ
กษัตริย์ฮินดู แห่งแคว้นเบงกอลได้เข้ายึดบริเวณพุทธคยาแล้ว
ได้รับสั่งให้ทหารเริ่มรานกิ่งก้านสาขาและตัดรากต้นพระศรีมหาโพธิ์
จนหมดสิ้น แม้แต่รากต้นพระศรีมหาโพธิ์จะเลื้อยชอนไชไปในทิศทางใด
ก็สั่งให้ทหารขุดรากออกให้หมด จากนั้นก็สั่งให้นำฟางอ้อยต่างเชื้อเพลิง
มาวางสุมที่ตอแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ แล้วราดน้ำมันจุดไฟเผา
ด้วยประสงค์จะมิให้หน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์
ได้มีโอกาสงอกขึ้นมาอีกเลย จากนั้นรับสั่งให้ทหารเข้าไป
ในพระมหาวิหาร แล้วสั่งให้เสนาบดีนำพระพุทธรูปปางมารวิชัยนั้น
ออกไปจากมหาวิหาร แต่เสนาบดีเป็นชาวพุทธ เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส
ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า คิดว่าถ้ามาตรแม้นว่าเราจะนำ
พระพุทธรูปองค์นี้ออกไปเสียจากวิหารแล้วก็เกรงกลัวว่าจะเกิดไม่ทัน
ศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย แต่ถ้าเราไม่นำออกไปตามพระบัญชา
เราก็จะต้องถูกประหารชีวิตโดยเป็นแน่ คิดดังนั้นจึงมีปฏิภานไหวพริบ
กราบทูลต่อพระเจ้าสาสังกาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่โตมาก
ยากที่จะนำออกไปในวันนี้ได้ ข้าพระองค์ใคร่ขอโอกาสสัก ๗ วัน
เพื่อหาทางนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากพระวิหารให้จงได้
พระเจ้าสาสังกาจึงตกลงตามนั้น ยอมให้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเสนาบดี

ฝ่ายท่านเสนาบดี ครั้นให้คำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้วจึงได้เริ่มแผนการ
ตามที่ตนคิดไว้ในใจ โดยใช้แผ่นอิฐมากก่อเป็นกำแพงกำบังพระพุทธรูปไว้
อย่างมิดชิด พร้อมกับตั้งประทีปโคมไฟบูชาไว้ภายในกำแพงที่กั้นปิดไว้
ครั้นครบ ๗ วัน จึงกราบทูลว่า "บัดนี้เกล้ากระหม่อมฉันได้จัดการ
นำพระพุทธรูปออกไปจากพระมหาวิหารแล้ว"
พระเจ้าสาสังกาเมื่อได้สดับคำเช่นนั้น แทนที่พระองค์จะยินดีปรีดา
เพราะความปรารถนาของพระองค์สำเร็จผลแล้ว แต่พระองค์
กลับทรงเสียพระทัย หวาดกลัวในอกุศลกรรมถึงกับมีพระโลหิต
ออกจากพระโอษฐ์(ปาก) และพระนาสิก(จมูก) ภายหลังต่อมา
ได้ล้มป่วยลง พระวรกายเน่าเปื่อย เนื้อหลุดเป็นชิ้นๆ ด้วยบาปกรรม
ที่สั่งให้ทำลายต้นพระศรีมหาโพธิ์และองค์พระพุทธเมตตา
พระเจ้าสาสังกาจึงเสด็จสวรรคต ณ ที่นั้นเอง

ในขณะที่กองทัพพระเจ้าสาสังกาตั้งทัพอยู่ ณ พุทธคยานั้น
กษัตริย์ชาวมคธคือพระเจ้าปุรณวรมาได้เสด็จยกทัพมาถึงพอดี
ฝ่ายพวกกองทัพของพระเจ้าสาสังกาซึ่งต่างอกสั่นขวัญหนีอยู่ก่อนแล้ว
ก็ยิ่งเสียขวัญต่างแยกย้ายหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง
พระเจ้าปุรณวรมาได้เสด็จเข้าสู่มหาวิหารและแกะรื้อแผ่นอิฐออก
จากพระพุทธเมตตาที่ถูกปกปิดไว้

ปัจจุบัน พระพุทธเมตตา ซึ่งเป็น พระประธานในพระเจดีย์พุทธคยา
ที่อยู่คู่กันกับต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระแท่นวัชรอาสน์
ทรงมีพระพักตร์ที่เปี่ยมด้วยความเมตตาเสมือนหนึ่งเป็นองค์เเทน
แห่งการระลึกถึงพระเมตตาคุณของพระพุทธองค์ที่เมื่อทรงตรัสรู้
พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เมตตาโปรดสั่งสอนเวไนยสัตว์
ทั้งเทวดา และมนุษย์ทั้งหลายให้ได้รู้ตามคำสั่งสอนของพระองค์

พุทธศาสนิกชนทุกมุมโลกต่างมุ่งเดินทางสู่พุทธคยา ประเทศอินเดีย
เพื่อจะไดกราบสักการะ เจริญจิตภาวนา สวดมนต์ ปฏิบัติบูชาถวายแด่
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันเป็นการบูชาสูงสุด
ในทางพระพุทธศาสนา

และในเวลาอีกไม่เนิ่นช้านี้ พระพุทธเมตตาจำลองจากพุทธคยา
ประเทศอินเดีย จะถูกจัดสร้างเพื่ออัญเชิญประดิษฐานไว้ให้สาธุชนชาวไทย
ได้สักการะกราบไหว้บูชา ณ วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ


..

 

เหตุให้ทำบุญ

ครั้งหนึ่ง เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา
ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี ได้มีกษัตริย์ลิจฉวี ทรงพระนามว่า มหาล
ได้เข้าเฝ้ากราบทูลถามสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า..

 ..."ข้าแแต่พระองค์ผู้เจริญ..มีสิ่งใดเป็นเหตุเป็นปัจจัย
     แห่งการกระทำบุญ แห่งความเป็นไปเพื่อการกระทำบุญ พระเจ้าข้า"

องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...
 ..."ดูก่อนมหาลี..อโลภะ อโทสะ อโมหะ โยนิโสมนสิการ
     จิตที่ตั้งไว้ชอบ
 ทั้ง ๔ อย่างนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ทำกุศลกรรม
      ๐ บุคคลให้ทานได้ก็เพราะ..อโลภะ
      ๐ บุคคลให้ทานได้ก็เพราะ..อโทสะ
      ๐ บุคคลให้ทานได้ก็เพราะ..อโมหะ

 ... บุคคลจะสำเร็จ มรรค ผล นิพพานได้ ก็เพราะโยนิโสมนสิการ
     การกระทำความดีต่างๆ ได้ ก็เพราะจิตที่ตั้งไว้ชอบ
     การที่จิตตั้งไว้ชอบนั้นคือ ตั้งจิตไว้ในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
     หรือตั้งจิตไว้ในสัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา อย่างใดอย่างหนึ่ง
     หรือทั้ง ๔ อย่าง จิตที่ตั้งไว้ชอบนี้สามารถให้สมบัติทั้งปวงได้
     เพราะสมบัติใดๆ ที่มารดา-บิดา เป็นต้น ไม่สามารถยกให้ได้ในสมบัตินั้น
     จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบนี้แหละสามารถยกให้ได้" ดังคำว่า

    น ตํ มาตา ปิตา กยิรา        อญเญ วา ปน ญาตกา
     สมุมาปณิหิตํ จิตตํ             เสยโย นํ ตโต กเร.
        

    ความว่า.."จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบย่อมทำบุญใด้ดีกว่ามารดา-บิดา
   หรือญาติเหล่าอื่นจะทำได้"
ดังนี้ อธิบาว่าเมื่อมารดา-บิดา
    จะให้ทรัพย์แก่บุตรทั้งหลาย ก็ให้ได้เพียงในชาตินี้ แต่ไม่สามารถ
    ที่จะให้สมบัติจักรพรรดิ หรือทิพยสมบัติ ฌาน สมาบัติ
    มรรค ผล นิพพาน แก่บุตรนั้น ฉะนั้นจิตที่บุคคตั้งไว้ชอบนี้แหละ
    อาจให้สมบัติทั้งปวงได้

เพราะฉะนั้นจึงควรคำนึงไว้ว่า จิตที่ตั้งไว้ชอบ คือตั้งไว้ในสัทธา
ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หรือในกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ
ชื่อว่าเป็นจิตอันประเสริฐ เป็นปัจจัยอันวิเศษในการทำกัลยาณกรรม
คือ ความดีต่างๆ จึงควรที่ทุกคนพึงตั้งจิตไว้ในกุศลกรรมบถทั้งหลาย
การทำ การพูด การคิดก็เป็นสุจริตเสมอ ผลที่ได้ด้วยสุจริต
ก็เป็นผลที่ดีเสมอ และผลดีนั่นแล คือ "บุญ"

ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสพระวาจานี้ประทานแก่ท่านมหาลี
แล้วท่านทั้งหลายผู้มีศรัทธาได้สั่งสมบุญให้เกิดขึ้นแก่ตัวท่านแล้วหรือยัง

   
ติดต่อร่วมบุญเจ้าภาพสร้างพระพุทธเมตตาได้ที่:

      วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ โทร.๐๕๓-๑๘๔ ๓๒๕
      หรือ โอนปัจจัยร่วมสร้างบุญได้ในนามชื่อบัญชี :   


     


 

                                                                                                                                    อ่านต่อหน้า >> 1 I 2 I หน้าแรก>

วัดถ้ำพระบำเพ็ญบุญ

ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ ประจำจังหวัดเชียงราย  :  ศูนย์พัฒนาคุณธรรม-จริยธรรมประจำจังหวัดเชียงราย
๓๙๕ หมู่ ๑๑ ตำบลธารทอง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ๕๗๒๕๐ โทรศัพท์ (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕, โทรสาร (๐๕๓)๑๘๔ ๓๒๕

www.watthumpra.com             email : watthampra@hotmail.com หรือ  email : info@watthumpra.com