"ปฐมบิณทบาตรมื้อแรก
ภายหลังบรรพชา"
ภายหลังจากที่นายฉันทะเดินทางกลับกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว พระองค์ได้เสด็จไปเสวยสุข ณ ป่าไม้มะม่วงอันมีนามว่า อนุปิยอัมพวัน ตำบลนี้อยู่ในเขตแขวงมัลลชนบท ประทับอยู่
ที่นี่
โดยเว้นจาการเสวยพระกระยาหารเป็นเวลา ๗ วัน ด้วยอิ่มในบรรพชาสุข คือ สุขจากการบวช ครั้นล่วงสู่วันที่ ๘ จึงเสด็จเข้าไปบิณฑบาตรในกรุงราชคฤห์แห่งแคว้นมคธ แล้วเสด็จไปยังบัณฑวบรรพต และหยุดประทับ ณ หน้าผาอันร่มรื่นแห่งหนึ่งเพื่อการเสวยภัตตาหาร
เมื่อทอดพระเนตรภัตตาหารในบาตร เห็นว่าไม่สะอาดไม่ประณีตเหมือนที่เคยเสวย แต่ได้ทรงประทานดำริแก่พระองค์เองว่า
"ดูก่อนสิทธัตถะ ตัวท่านบังเกิดในขัตติยสุขุมาลชาติ
หรือกษัตริย์ผู้อยู่ในตระกูลที่สูงส่ง
เคยบริโภคแต่อาหารอันประณีตมีรสเลิศ
แต่บัดนี้ท่านเป็นบรรพชิตอยู่ในสมณสารูป
เที่ยวบิณฑบาตเลี้ยงชีพ จะได้โภชนาหาร
อันสะอาดประณีตแต่ใดมาเล่า และสรรพสิ่ง
ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้น
ถึงอาหารบิณฑบาตนี้ก็เปรียบประดุจดังธาตุ
ที่ถูกนำมาปรุงแต่งเช่นเดียวกัน
ครั้นให้โอวาทแก่พระองค์เองฉะนี้แล้ว จึงเสวยภัตตหารนั้น นับเป็นวันแรกที่ได้เสวยอาหารหลังจากบรรพชามา ๘ วัน
ในวันที่พระโพธิสัตว์เสด็จออกรับบิณฑบาตในเมืองมคธ แห่งกรุงราชคฤห์นั้น ชาวเมืองต่างเกิดอาการ ตื่นโกลาหลทั่วพระนคร เพราะได้เห็นนักบวชที่ทรงรูปสิริลักษระเลิศบุรุษ จะว่าเป็นเทวดา หรือนาค หรือครุฑ คนธรรพ์ หรือประการใดก็มิอาจรู้ได้ที่เสด็จเข้าสู่พระนคร เที่ยวโคจรบิณฑบาต ต่างก็โจษจันกันทั่วเมือง
เหตุนี้เพราะพระโพธิสัตว์ หรือเจ้าชายสิทธัตถะ หรือมหาบุรุษขณะนั้น ทรงเกิดในขัตติยสกุล คือ สกุลกษัตริย์ ทรงเป็นอุภโตสุชาต คือ ทรงมีพระชาติกำเนิดเป็นกษัตริย์บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายพระราชบิดาและพระราชมารดา ทรงมีผิวพรรณที่ภาษาบาลีเรียกว่า "กาญจนวัณโณ" แปลว่า ผิวทอง หมายถึง มีผิวเหลืองขาว ทรงมีพระรูปโฉมสง่างาม ถึงแม้จะทรงปลงพระเกศา ปลงหนวด และทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสดุ์อย่างนักบวชผู้สละทิ้งความงามทางฆราวาสวิสัยแล้วก็ตาม แต่พระอาการกิริยาเวลาเสด็จดำเนินนั้นก็ยังคงลีลาของกษัตริย์ชัดเจน คือ สง่างามผิดแผกสามัญชน
ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองราชคฤห์เมื่อได้เห็น จึงแตกตื่นโจษขานจันจนความทราบไปถึงพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธในยามนั้น
|