"มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ"


“มหาบุรุษลักษณะ” เป็นคำเรียกลักษณะของพระพุทธเจ้าก่อนที่จะตรัสรู้
ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการ คือ

  1. มีพระบาทราบเสมอกัน (มีฝ่าเท้าราบเสมอกัน)
  2. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (พื้นพระบาทเป็นรูปรอยล้อเกวียน คือธรรมจักรนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำไป สู่ที่หมาย)
  3. มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์หรือแข้งตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓)
  4. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์หรือนิ้วมือและพระบาทยาวเรียว)
  5. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
  6. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
  7. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิหรือกระดูกข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาทกลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินหรือเดินผิดกว่าสามัญชน
  8. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
  9. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
  10. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
  11. มีฉวีวรรณ(ผิว)ดุจสีทอง
  12. พระฉวีละเอียด
  13. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
  14. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
  15. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
  16. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง {พระมังสะ=เนื้อ คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสา(บ่า)ทั้ง ๒, กับลำพระศอ(ลำคอ)}
  17. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)
  18. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง)
  19. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์, ๑ วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร)
  20. มีลำพระศอ กลมงามเสมอตลอด
  21. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
  22. มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (มีคางโค้งเหมือนวงพระจันทร์)
  23. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (มีฟันบน-ล่างข้างละ ๒๐ ซี่)
  24. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
  25. พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
  26. เขี้ยวพระทนต์ทั้ง 4 ขาวงามบริสุทธิ์
  27. พระชิวหาอ่อนและยาว (มีลิ้นอ่อนและยาวอาจแผ่ปกถึงพระนลาฏใต้คือหน้าผากส่วนหัวคิ้ว)
  28. พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
  29. พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
  30. ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
  31. มีอุณาโลมระหว่างพระขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (คือขนระหว่างคิ้ว)
  32. มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)