"ศากยพุทธวงศ์"

ชมพูทวีป..
ก่อนนั้นดินแดนแถบนี้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกมิลักขะ ซึ่งมีความเจริญน้อยมาก ต่อมา
มีพวกอริยกะหรืออารยัน อพยพเข้ามาตั้งรกรากและราชธานี ณ เชิงเขาหิมาลัย ชน
เผ่าที่อพยพเข้ามาในภายหลังนี้นับถือพราหมณ์อย่างเคร่งครัด และเชื่อถือในระบบ
วรรณะอย่างสุงสุด ซี่งชนเผ่านี้แบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ โดยเชื่อว่าวรรณะทั้ง ๔ นี้
ไม่สามารถที่จะแต่งงานข้ามวรรณะกันได้ ถ้าแต่งงานบุตรจะกลายเป็นจัณฑาลทันที ซึ่งพวกอารยันถือว่าตนยิ่งใหญ่ และบริสุทธิ์กว่าในวรรณะอื่น ๆ จึงมีกฏระเบียบเรื่อง
การแต่งงานกันเองภายในหมู่พี่น้องและวงศาคณาญาติ ซึ่งมีอยู่ ๒ ตระกูล คือ
              
๑. ศากยวงค์
๒.โกลิยวงศ์

แคว้นสักกะและศากยวงศ์

เจ้าศากยะทั้งหลายมีเชื้อชาติเป็นชาวอริยะหรืออารยัน ซึ่งเหล่าศากยวงศ์ล้วนมี
ลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญประการหนึ่งคือถือตัวจัดด้วยถือว่าชาติตระกูลของตนอยู่
ในวรรณะกษัตริย์ อันเป็นวรรณะสูงสุด แม้ในเหล่าวรรณะกษัตริย์ด้วยกัน เจ้าศากยะ
ก็ถือตัวว่ายิ่งใหญ่และบริสุทธิ์โดยสายเลือดกว่าใคร ๆ ด้วยเหตุนี้บรรดาเจ้าศากยะ
จึงอภิเษกสมรสกันในหมู่พี่น้องร่วมพระบิดามารดาเดียวกัน หรือในหมู่วงศานุวงศ์
ใกล้ชิด เช่นกับราชวงศ์โกลิยะแห่งกรุงเทวทหะ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูล
เดียวกัน

ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะ คือ พระเจ้าโอกากราช จนถึงสมัยพระเจ้าสุทโธทนะ กับ
พระนางสิริมายาปกครองกรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ ในสมัยนั้นสักกะเป็นแคว้น
เล็ก ๆ ไม่มีกำลังทหารกล้าแข็ง อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศล คือ ตกเป็น ประเทศราชซึ่งพระเจ้ามหาโกศลกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้ให้อำนาจการปกครอง
แก่พระเจ้าสุทโธทนะตามสมควร ดังนั้นจึงมีการปกครองแบบประชาธิไตยแบบสืบ
สันตติวงศ์ ต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายนันทะและเจ้าชายราหุล
ทรงออกผนวชหมดแล้ว ระบอบการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นแบบสามัคคีธรรม
คือเจ้าศากยะผลัดเปลี่ยนกันปกครองแคว้น วาระละ ๑ ปี

ในทัศนะของคนเนปาลเอง เชื่อว่าพระพุทธเจ้าเป็นชายเนปาล ไม่ใช่อินเดีย เพราะ
พระองค์ประสูติในฝั่งเนปาลไม่ใช่อินเดีย ซึ่งความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น เพราะว่าสถาน ที่ประสูติอยู่ในลุมพินีและกรุงกบิลพัสดุ์เองก็ตั้งอยู่ในฝั่งเนปาล แต่เมื่อก่อนคำว่า
อินเดีย เนปาลยังไม่เกิด มีแต่คำว่าชมพูทวีป พระพุทธองค์ใช้ชีวิตเติบโตใน่ฝั่งอินเดีย
เพราะขณะที่ยังพระชนม์ชีพอยู่นั้น กรุงกบิลพัสดุ์ของพระองค์ก็ร้างลง ซึ่งเขตแดน
กบิลพัสดุ์ และลุมพินียังอยู่ในชมพูทวีปที่เป็นฝั่งอินเดีย จนอังกฤษเข้าปกครองอินเดีย และยกกรุงกบิลพัสดุ์หรือลุมพินีให้เนปาล ดินแดนประสูติของพระพุทธองค์จึงตกไปอยู่ ในเนปาล ซึ่งอังกฤษยกให้เนปาล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๕

จึงเป็นข้อถกเถียงกันถึงสถานที่ประสูติของพระพุทธองค์ แต่ในสมัยพุทธกาลนั้น ดินแดนแถบนี้ทั้งหมดถูกเรียกว่า ชมพูทวีป มิได้แบ่งเป็นเขตประเทศอย่างในปัจจุบัน

                 

ต้นตระกูลของศากยวงศ์

ต้นตระกูลของศากยวงศ์ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าโอกกากราช และแบ่งออก
เป็น ๒ เมือง, ๒ ตระกูล คือ

๐ เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นนครหลวงของแคว้นสักกะ
๐ เมืองเทวทหะ
เป็นนครหลวงของแคว้นโกลิยะ

ซึ่งมีโครงสร้างของราชตระกูลดังนี้

ฝ่ายศากยวงศ
ฝ่ายราชตระกูลศากยวงศ์ มีพระเจ้าชัยเสนเป็นต้นราชตระกูล มีพระราชโอรสและธิดา
๒ พระองค์ คือ

๑. พระเจ้าสีหนุ
๒. พระนางยโสธรา

ฝ่ายโกลิยวงศ
ฝ่ายราชตระกูลโกลิยวงศ์ มีพระราชาที่ไม่ปรากฏนาม มีโอรส ๑ และธิดา ๑ คือ

๑. พระเจ้าอัญชนะ
๒. พระนางกาญจนา

พระเจ้าสีหนุพระราชโอรสแห่งศากยวงศ์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางกาญจนา แห่งโกลิยวงศ์และทรงมีพระโอรสและธิดารวม ๗ พระองค์ คือ

๑. พระเจ้าสุทโธทนะ
๒. พระเจ้าสุกโกทนะ
๓. พระเจ้าอมิโตทนะ
๔. พระเจ้าโธโตทนะ
๕. พระเจ้าฆนิโตทนะ
๖. พระนางปมิตา
๗. พระนางอมิตา

พระเจ้าอัญชนะแห่งโกลิยวงศ์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราแห่งศากยวงศ์
มีพระราชโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์คือ

๑. พระเจ้าสุปปพุทธะ
๒. พระเจ้าทัณฑปาณิ
๓. พระนางสิริมหามายา
๔. พระนางมหาปชาบดีโคตมี

พระเจ้าสุทโธทนะ แห่งศากยวงศ์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายาแห่ง
โกลิยวงศ์ มีพระโอรส ๑ พระองค์ คือ

๑. เจ้าชายสิทธัตถะ(ซึ่งต่อมาคือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า)

ในภายหลังเมื่อพระนางสิริมหามายาสวรรคตลงเมื่อให้ประสูติกาลพระโอรสสิทธัตถะ พระราชบิดาหรือพระเจ้าสุทโธทนะ พระองค์ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางมหาปชาบดี
โคตมี มีพระโอรสและธิดา ๒ พระองค์ คือ

๑. เจ้าชายนันทะ
๒. เจ้าหญิงรูปนันทา

พระเจ้าสุปปพุทธะ แห่งโกลิยวงศ์ได้ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางอมิตาแห่งศากยวงศ์ มีพระโอรสธิดารวม ๒ พระองค ์คือ

๑. เจ้าชายเทวทัต
๒. พระนางยโสธรา(พิมพา)

พระเจ้าสุกโกทนะ แห่งศากยวงศ์ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางกิสาโคตมี
มีพระโอรสหนึ่งพระโอรส ๑ พระองค์ คือ

๑. เจ้าชายอานนท์

พระเจ้าอมิโตทนะ แห่งศากยวงศ์ มีพระโอรสธิดารวม ๓ พระองค์คือ

๑. เจ้าชายมหานาม
๒. เจ้าชายอนุรุทธะ
๓. เจ้าหญิงโรหิณี

พระเจ้ามหานาม ทรงครองราชสมบัติต่อจากพระเจ้าสุทโธทนะมีพระธิดาจากนางทาสี
๑ พระองค์ คือ

๑. พระนางวาสภขัตติยา

ซึ่งต่อมาได้เป็นพระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศลแห่งสาวัตถี มีพระโอรส ๑ พระองค์
คือ

๑. พระเจ้าวิฑูฑภะ


เนื่องจากจารีตประเพณีและความเชื่ออย่างเคร่งครัดและกฏระเบียบข้อห้ามในการ
เสกสมรสภายนอกตระกูลและต่างวรรณะ จึงทำให้พวกศากยวงศ์ต่างดูถูกเหยียดหยาม
พระเจ้าวิฑูฑภะ พวกศากยะกรุงกบิลพัสดุ์รังเกียจว่า พระมารดาของพระองค์ไม่ใช่ คนในวรรณะกษัตริย์ แต่เป็นทาสีซึ่งเป็นคนละวรรณกับพวกตน และช่วยกันปกปิด
ชาติกำเนิดของพระมาดดา จนเมื่อคราวเหตุจะเกิดที่พระเจ้าวิฑูฑภะได้เสด็จไปเยี่ยม
พระญาติฝ่ายศากยวงศ์ แล้วถูกดูถูกเหยียดหยามและไม่ยอมออกมาต้อนรับให้สม
พระเกียรติเพราะถือว่าเป็นพวกนอกตระกูล เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จกลับ ฝ่ายศากยวงศ์ จนเมื่อพระองค์เสด็จกลับก็สั่งให้คนรับใช้นำน้ำนมมาเทราดล้างพื้นทุกที่ ที่พระเจ้าวิฑูฑภะทรงนั่งหรือเหยียบย่างถึง จนความทราบถึงพระเจ้าวิฑูฑภะจึงมีความ โกรธแค้นพวกศากยวงศ์ จนยกทัพมาหมายทำลายล้างศากยวงศ์ให้สิ้นทราก
นี่คือชนวนของการทำลายล้างกรุงกบิลพัสดุ์ในเวลาต่อมา