
"วรรณะทั้ง ๕ ในอินเดีย "
ระบบวรรณะเกิดจากพวก อริยะ หรือ อารยัน ซึ่งเข้ามารุกรานชนพื้นเมืองในอินเดียครั้งทำสงครามกับเจ้าของถิ่นเดิมซึ่งเรียกว่าพวก มิลักขะ (หรือ ทัสสยุ หรือทราวิฑ) จนได้รับชัยชนะ พวกมิลักขะต้องถอยร่นลงไปทางใต้ เหล่าอริยะจึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะ โดยถือว่าวรรณะทั้ง ๔ เกิดมาจากอวัยวะของพระพรหมที่ต่างกัน และพระพรหมได้กำหนดหน้าที่ให้วรรณะทั้ง ๔ ต่าง ๆ กันไว้เรียบร้อยแล้ว
วรรณะใหญ่ ๆ ในศาสนาพราหมณ์มีอยู่ ๔ วรรณะ ดังนี้
- วรรณะพราหมณ์ เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำ วรรณะคือสีขาวซึ่งแสดงถึงความบริสุทธิ์มีหน้าที่กล่าวมนต์ ให้คำปรึกษากับ พระเจ้าแผ่นดิน ตลอดจนสอนมนต์ให้แก่คนทั่วไป ส่วนพวกที่เป็นนักบวช
ก็ทำหน้าที่สอนไตรเภทและประกอบพิธีทางศาสนา
- วรรณะกษัตริย์ เกิดจากพระอุระของพระพรหม และถือว่าสืบเชื้อสายมาจาก พระอาทิตย์ สีเครื่องแต่งกายประจำวรรณะคือสีแดงซึ่งหมายถึงนักรบ ทำหน้าที่ รบ เพื่อป้องกันหรือขยายอาณาจักร รวมทั้งเป็นนักปกครอง เป็นพระเจ้าแผ่นดิน หรือ คณะผู้ปกครองแบบสามัคคีธรรม
- วรรณะแพศย์ เกิดจากพระเพลา (ตัก) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำ วรรณะคือ สีเหลือง เป็นพวกแสวงหาทรัพย์สมบัติ ได้แก่พวกพ่อค้า คหบดี
เศรษฐี และเกษตรกร
- วรรณะศูทร เกิดจากพระบาท(เท้า) ของพระพรหม มีสีเครื่องแต่งกายประจำ
วรรณะ คือ สีดำหรือสี อื่น ๆ ที่ไม่มีความสดใส มีหน้าที่เป็นกรรมกร ลูกจ้าง
- จัณฑาล เป็นอีกวรรณะหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นพวกต่ำสุด คือ จัณฑาล ลูกที่เกิดจาก พ่อแม่ต่างวรรณะกัน ถือเป็นพวกจัณฑาล ซึ่งจะถูกรังเกียจและเหยียดหยาม
ไม่มีคนในวรรณะอื่นคบหาสมาคมด้วย การถือวรรณะอย่างรุนแรงเช่นนี้ เป็น
พื้นฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมอินเดียทั้งก่อนพุทธกาลและในสมัย
พุทธกาล
อัคคัญญสูตร
ใน อัคคัญญสูตร ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงนี้มิได้มีจุดมุ่งหมายที่จะกล่าวถึงการ
กำเนิดของโลก และมนุษย์ ตลอดจนสรรพสิ่งโดยตรง เพียงแต่พระพุทธองค์ทรงแสดง แก่สามเณร
๒ รูป คือ วาเสฏฐสามเณร และภารทวาชสามเณร เพื่อจะบอกเหตุ อัน เป็นความเชื่อในเรื่องของวรรณะที่พวกพราหมณ์ยึดถือต่อ ๆ กันมาเนื่องจากสามเณร ทั้งสองนั้นเกิดมาจากวรรณะของพราหมณ์ ซึ่งในยุคสมัยนั้นถือกันว่า วรรณะพราหมณ์ เป็นวรรณะสูง จะเป็นรองก็เพียงวรรณะกษัตริย์เท่านั้น แต่ทั้งสองกลับมาบวชใน
พระพุทธศาสนาที่พวกพราหมณ์เรียกว่าเป็นสมณะโล้น จัดเป็นวรรณะที่เลวทราม
เกิดจากเท้าของพรหม
พระศาสดาเมื่อทรงสดับเช่นนั้น จึงทรงชี้ให้เห็นถึงที่มาที่ไปแห่งการเรียกชื่อของ วรรณะต่าง ๆ เพื่อให้สามเณรทั้งสองนั้นทราบ โดยทรงหยิบยกเอาเรื่องตั้งแต่การที่ จักรวาลยังกลายเป็นน้ำเรื่อยมา จนเกิดมีการสมมุติชื่อของวรรณะต่าง ๆ ขึ้น แล้วทรง สรุปว่า
"การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งจะประเสริฐหรือเลวทราม
ก็ด้วยการกำหนดจากธรรมและอธรรมที่เขาประพฤติเท่านั้น
หาได้กำหนดจากสิ่งอื่นไม"่
ถึงอย่างไรก็ตาม แม้พระสูตรจะมิได้มุ่งหมายที่จะกล่าวถึงการบังเกิดขึ้นของจักรวาล โลก มนุษย์ และสรรพสิ่งโดยตรง แต่เนื้อหาของพระสูตรก็ทำให้เราทราบว่ามนุษย์ ตลอดจนสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ที่เราต่างสงสัยและโต้เถียงกันมายาวนานนั้น มีจุดกำเนิด หรือที่มาอย่างไร
ปฐมเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง และได้ตรัสถึงเรื่องการกำเนิดจักรวาล โลก มนุษย์ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในอัคคัญญสูตร พระสูตรนี้กล่าวถึงการบังเกิดขึ้นของจักรวาล โลก มนุษย์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงของสิ่งเหล่านี้
|