"๕ แคว้นมหาอำนาจในอินเดีย
- แคว้นมหารัฐมคธ หรือ แคว้นมคธ เมืองหลวงชื่อ ราชคฤห์ กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าพิมพิสาร ทรงปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ต่อมาเมื่อพระราชโอรสคือ พระเจ้าอชาตศัตรู กระทำปิตุฆาต (ฆ่าพระราชบิดาตามคำยุยงของพระเทวทัต) และขึ้นเสวยราชย์เป็นกษัตริย์ปกครองสืบต่อมา พระองค์ทรงปกครองในระบอบเดิม
หลังพุทธกาลเล็กน้อย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงย้ายเมืองหลวงจากราชคฤห์ไปตั้ง ณ เมือง ปาตลีบุตร และรบชนะแคว้นวัชชี ได้แคว้นนี้เป็นเมืองขึ้น
- แคว้นมหารัฐโกศล หรือ แคว้นโกศล เมืองหลวงชื่อ สาวัตถีกษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้ามหาโกศล และพระราชโอรส คือ พระเจ้าปเสนทิโกศล ปกครองสืบต่อมา
พระเจ้ามหาโกศลเป็นกษัตริย์รุ่นเดียวกับ พระเจ้าสุทโธทนะ แห่งแคว้นสักกะ (ราชวงศ์ศากยะ) ส่วนพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเป็นพระสหายกับพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ
มหาลิแห่งแคว้นวัชชี พันธุละแห่งแคว้นมัลละ เจ้าชายสิทธัตถะแห่งแคว้นสักกะ (แคว้นสักกะเป็นเมืองขึ้นอยู่ในอาณัติการปกครองของแคว้นโกศล)
- แคว้นมหารัฐวังสะ หรือ แคว้นวังสะ เมืองหลวงชื่อโกสัมพี กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าอุเทน กรุงโกสัมพีเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัญในสมัยพุทธกาล มีการติดต่อกับแคว้นโกศล แคว้นมคธ แคว้นมัลละ และแคว้นอวันตี
- แคว้นมหารัฐอวันตี หรือ แคว้นอวันตี เมืองหลวงชื่ออุชเชนี กษัตริย์ผู้ปกครองคือ พระเจ้าจัณฑปัตโชติ เคยติดต่อกับแคว้นมคธ และทำสงครามกับแคว้นวังสะ
- แคว้นมหารัฐวัชชี หรือ แคว้นวัชชี เมืองหลวงชื่อเวสาลี มีการปกครองแบบสามัคคีธรรม ซึ่งบางท่านเรียกว่าการปกครองแบบ สาธารณรัฐประชาธิปไตยยุคแรก แคว้นที่ใช้การปกครองแบบนี้มีในสมัยพุทธกาลมีหลายรัฐ เช่น แคว้นสักกะ แคว้นมัลละ เป็นต้น
หลังสมัยพุทธกาลเล็กน้อย แคว้นวัชชีพ่ายแพ้แก่พระเจ้าอชาตศัตรู จึงถูกรวมการปกครองเข้ากับ แคว้นมคธแคว้นสักกะและศากยวงศ์
เจ้าศากยะทั้งหลายมีเชื้อชาติเป็นชาวอริยะหรืออารยัน ซึ่งเหล่าศากยวงศ์ล้วนมีลักษณะเฉพาะตัวที่สำคัญประการหนึ่งคือถือตัวจัดด้วย ถือว่าชาติตระกูลของตนอยู่ในวรรณะกษัตริย์ อันเป็นวรรณะสูงสุด แม้ในเหล่าวรรณะกษัตริย์ด้วยกัน เจ้าศากยะก็ถือตัวว่ายิ่งใหญ่และบริสุทธิ์โดยสายเลือดกว่าใคร ๆ ด้วยเหตุนี้ บรรดาเจ้าศากยะจึงอภิเษกสมรสกันในหมู่พี่น้องร่วมพระบิดามารดาเดียวกัน หรือในหมู่วงศานุวงศ์ใกล้ชิด เช่นกับราชวงศ์โกลิยะ แห่งกรุงเทวทหะ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลเดียวกัน
ต้นตระกูลของวงศ์ศากยะ คือ พระเจ้าโอกากราช จนถึงสมัยพระเจ้าสุทโธทนะ กับ พระนางสิริมายาปกครองกรุงกบิลพัสดุ์แห่งแคว้นสักกะ ในสมัยนั้นสักกะเป็นแคว้นเล็ก ๆ ไม่มีกำลังทหารกล้าแข็ง อยู่ภายใต้การปกครองของแคว้นโกศล คือ ตกเป็นประเทศราชซึ่งพระเจ้ามหาโกศลกษัตริย์แห่งแคว้นโกศลได้ให้อำนาจการ ปกครองแก่พระเจ้าสุทโธทนะตามสมควร ดังนั้นจึงมีการปกครองแบบประชาธิไตยแบบสืบสันตติวงศ์ ต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายนันทะและเจ้าชายราหุล ทรงออกผนวชหมดแล้ว ระบอบการปกครองจึงเปลี่ยนเป็นแบบสามัคคีธรรม คือเจ้าศากยะผลัดเปลี่ยนกันปกครองแคว้น วาระละ ๑ ปี
|