"ชมพูทวีป"

ชมพูทวีป หมายถึง โลกมนุษย์ทั้งหมด ไม่ใช่อินเดีย-เนปาล อย่างที่หลาย ๆ คน
เข้าใจ ดังมีหลักฐานในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ดังนี้

ที่อยู่ของมนุษย์ หรือ มนุสสภูมิ นั้น อยู่บนพื้นดิน (หรือเรียกว่า ดาวเคราะห์) ลอยอยู่ กลางอากาศ ในระดับเดียวกับไหล่เขาพระสุเมรุ ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ ของเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล (หรือทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเรียก กาแล็กซี่)ผืนแผ่นดินใหญ่ (ดาวเคราะห์)ทั้ง ๔ ที่ลอยอยู่ในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ทวีป
มีชื่อและที่ตั้ง ดังนี้

  1. ปุพพวิเทหทวีป  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ
  2. อมรโคยานทวึป(อปรโคยานทวีป)  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเขาพระสุเมรุ
  3. ชมพูทวีป(โลกมนุษย์ที่เราอยู่)  ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ
  4. อุตตรกุรุทวีป  ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเขาพระสุเมรุ

ชมพูทวีป
ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ (เขาพระสุเมรุ)

  • มีธาตุมรกตอยู่ทางทิศใต้ของเขาสิเนรุ แสงสะท้อนของธาตุมรกตทำให้ทองฟ้า และมหาสมุทรของชมพูทวีปมีสีน้ำเงินแกมเขียว
  • มนุษย์ที่ชมพูทวีป มีความสูง ๔ ศอก มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี
    (อาจตายก่อนอายุได้ ไม่แน่นอน)
  • มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในทวีปนี้ อายุยิ่งหย่อนขึ้นอยู่กับคุณธรรม ไม่แน่นอน
  • สมัยหนึ่งมนุษย์ในชมพูทวีปเคยมีอายุถึง ๘๐,๐๐๐ ปี แต่เมื่อคุณธรรม
    เสื่อมลง อาหารเลวลง อายุก็ลดลง
  • ต่อไปภายภาคหน้ามนุษย์ในชมพูทวีป จะมีอายุเพียง ๑๐ ปี เท่านั้น
    และตัวจะเตี้ยถึงขนาดต้องสอยมะเขือกิน
  • ดอกไม้ประจำชมพูทวีปคือ "ชมพู (ไม้หว้า)" ...เพราะเหตุนี้ ถึงเรียกว่า
    "ชมพูทวีป" เพราะดอกไม้ประจำทวีปนี้คือ ดอก"ชมพู"

เรื่องของชมพูทวีป
เหตุที่เรียกชื่อดังนี้ เพราะทวีปนี้มีไม้หว้าเป็นพญาไม้ประจำทวีป (ต้นชมพู แปลว่า ต้นหว้า) ไม้หว้าต้นนี้อยู่ในป่าหิมพานต์ ลำต้นวัดโดยรอบ ๑๕ โยชน์ จากโคนถึงยอดสูงสุด ๑๐๐ โยชน์ จากโคนถึงค่าคบสูง ๕๐ โยชน์ ที่ค่าคบมีกิ่งทอดออกไปในทิศทั้ง ๔ แต่ละกิ่งยาว ๕๐ โยชน์ วัดจากโคนต้นไปทางทิศไหนก็จะสูงเท่ากับความยาวในแต่ละทิศ คือ ๑๐๐ โยชน์ ใต้กิ่งหว้าทั้ง ๔ นั้น เป็นแม่น้ำใหญ่ไหลผ่านไปในทิศทั้งหลาย ผลหว้ามีกลิ่นหอม รสหวานปานน้ำผึ้ง หมู่นกทั้งหลายชวนกันมากินผลหว้าสุกนั้น บางทีผลสุกก็หล่นลงตามฝั่งแม่น้ำ แล้วงอกออกเป็นเนื้อทอง และถูกน้ำพัดออกไปจมลงในมหาสมุทร เรียกทองนั้นว่า ทองชมพูนุท เพราะอาศัยเกิดมาจาก ชมพูนที

ความเป็นอยู่ของมนุษย์ในทวีปทั้ง ๓ ยกเว้นชมพูทวีป มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีมลภาวะ ทำให้อาหารการกิน และน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ โรคภัยไข้เจ็บไม่เบียดเบียนเหมือนอย่างในชมพูทวีป ที่เป็นเช่นนี้เพราะมนุษย์ใน ๓ ทวีป มีศีลธรรมที่เป็นปกติ สม่ำเสมอ ส่วนมนุษย์ในชมพู-ทวีป มีความเป็นอยู่ที่แตก
ต่างกันมาก บางคนสุขสบาย บางคนลำบาก บางคนปานกลาง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการกระทำ ของแต่ละคน หรือบาป-บุญกุศล-บารมี ที่ได้สั่งสมไว้

แต่ละยุคในชมพูทวีป อาจกล่าวได้ว่า มนุษย์ในชมพูทวีป มีความแตกต่างกัน
มากที่สุดก็ว่าได้

                 

ลักษณะสังคมของชมพูทวีปสมัยพุทธกาล

การศึกษาพุทธประวัติ ควรเรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะสังคมของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล พอสังเขป เพื่อความเข้าใจและสามารถจะจำเนื้อหา ตลอดจนสถานที่ตั้งของเมือง
ต่าง ๆ รวมทั้งชื่อกษัตริย์ผู้ปกครองแต่ละแคว้นได้โดยไม่สับสน และเมื่อคนส่วนมาก
นึกถึงพระพุทธศาสนาหรือพระพุทธเจ้า ก็จะนึกถึงประเทศอินเดีย เป็นส่วนใหญ่
ในฐานะที่เป็นดินแดนที่เป็นจุดกำเนิดของพระพุทธเจ้า

แต่ตามภูมิศาสตร์ในสมัยพุทธกาลนั้นยังไม่มีการแบ่งแยกดินแดน เหล่านี้เป็นประเทศ อินเดีย เนปาล หรือประเทศใด แต่รวมเรียกดินแดนส่วนนี้ว่าเป็น “ชมพูทวีป”

                            

ชมพูทวีป หมายถึง อาณาบริเวณอันเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย ปากีสถาน  เนปาล และบังกลาเทศในปัจจุบัน
อินเดีย เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของชมพูทวีป 
๐ ปากีสถาน
เป็นพื้นที่แถบตะวันตกของชมพูทวีป 
๐ เนปาล
เป็นพื้นที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของชมพูทวีป
๐ บังกลาเทศ
  เป็นพื้นที่แถบตะวันออกของชมพูทวีป

ซึ่งชมพูทวีปหรืออินเดียในสมัยพุทธกาลนั้นมี ๑๖ นครรัฐและแคว้นเล็ก ๆ อีก ๕ แคว้น

  1. อังคะ
  2. มคธะ
  3. กาสี
  4. โกศล
  1. วัชชี
  2. มัลละ
  3. เจติ
  4. วังสะ
  1. กุร
  2. ปัญจาละ
  3. มัจฉะ
  4. สุรเสนะ
  1. อัสสกะ
  2. อวันตี
  3. คันธาระ
  4. กัมโพชะ

แคว้นเล็ก ๆ อีก ๕ แคว้นคือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ

แคว้นพระราชบิดาของพระพุทธองค์ก็อยู่ในแคว้นเล็ก ๆ นี้ อาณาจักรเหล่านี้ปกครอง ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย คือ พระราชามีอำนาจเด็ดขาดบ้าง ระบบ สามัคคีธรรม คือมีสภาเป็นที่ปรึกษาบ้าง ระบบประชาธิปไตยบ้าง แต่ส่วนมากจะ เป็นระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ด้วยเหตุที่พุทธศาสนาถือกำเนิดในแผ่นดินอินเดีย
จึงควรจะได้ศึกษาภูมิหลังของอินเดียในยุคก่อนการกำเนิดของพุทธศาสนาพอสังเขป
ดังนี้

ชนชาติดั้งเดิมของอินเดีย
ชนชาติที่เชื่อกันว่า เป็นชนชาติดั่งเดิมของอินเดียคือ เผ่า
๐ ซานโตล
(Santole)
๐ มุนดา
(Mundas)
๐ โกลาเรีย
(Kolaria)
๐ ตูเรเนียน
(Turanians)
๐ ดราวิเดียน
(Dravidians) คนพวกนี้เป็นพวกผิวดำจำพวกหนึ่ง ปัจจุบันยังพอมีหลงเหลืออยู่ที่รัฐพิหาร และเบงกอล ของอินเดีย

ในสมัยพุทธกาล คือสมัยที่พระพุทธเจ้ายังดำรงพระชนม์ชีพอยู่นั้น ชมพูทวีปยังมิได้แบ่งเป็นประเทศต่าง ๆ ดังกล่าวมาข้างต้น หากแบ่งเป็น นครรัฐ หรือ แคว้น ต่าง ๆ เท่าที่พบหลักฐานปรากฏ มี  ๒๑ แคว้น ดังน

แคว้น ๒๑ แคว้นในสมัยพุทธกาลของอินเดีย

แคว้นในอดีต

เมืองหลวง

ชื่อปัจจุบัน

ที่ตั้งในปัจจุบัน

ปกครองโดย

๑.   มคธ

ราชคฤห์

ราชคีระ

มณฑลพิหาร

พระเจ้าพิมพิสาร,
พระเจ้าอชาตศัตรู

๒.  โกศล

สาวัตถี

สะเหตมะเหต

มณฑลโอธ

พระเจ้ามหาโกศล,
พระเจ้าปเสนทิโกศล

๓.  วัชชี

เวสาลี-
ไพศาลี

เบสาร์

บนฝั่งตะวันออก
ของแม่น้ำคันธกะ

มีการปกครอง
แบบสามัคคีธรรม

๔.  วังสะ

โกสัมพี

อัลลาฮาบัด

ใต้แม่น้ำยมุนา

พระเจ้าอุเทน

๕.  อวันตี

อุชเชนี

อุชเชน

ทางตะวันออก
เฉียงเหนือ
ของแคว้นอัสสกะ

พระเจ้า
จัณฑปัตโชติ

๖.  สักกะ

กบิลพัสดุ์

รัมมินเด

แขวงเปชวาว์
เขตประเทศเนปาล

-

๗. โกลิยะ

เทวทหะ หรือ
รามคาม

-

เขตประเทศเนปาล

ราชวงศ์โกลิยะ

๘.  มัลละ

 

กุสินารา
(กุสาวดี)

กาเซีย

 

 บริเวณที่แม่น้ำ
คันธกะบรรจบกัน

 

พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
ที่แคว้นนี้ภายหลัง
แยกเป็นกุสินารา  กับ
ปาวาชื่อเดิมคือ กุสาวดี

๙.   กาสี

พาราณสี

เบนาเรส

บริเวณแม่น้ำคงคา
กับแม่น้ำยมุนา
บรรจบกัน

-

๑๐.  คันธาระ

ตักกสิลา

-

ลุ่มแม่น้ำสินธุตอนบน

-

๑๑.   อังคะ

จัมปา

ภคัลปรุ

มณฑลเบงกอล

-

๑๒.  เจติ

โสตถิวดี

-

ถัดจากแคว้นอวันตี
ไปทางตะวันออกเฉียงใต้

-
-

๑๓.  กุรุ

อันทปัตถ์

-

มลฑลปัญจาบ

-

๑๔.  ปัญจาละ

กัมปิลละ

-

มลฑลอัครา

-

๑๕.  กัมโพชะ

ทวารกะ

ใต้แคว้นคันธาระ

-

๑๖.  มัจฉะ

สาคละ

-

ระหว่างแม่น้ำสินธุกับ
แม่น้ำยมุนาตอนบน

-

๑๗.  สุรเสนะ

มถุระ

มัตตรา

ระหว่างแม่น้ำสินธุกับ
แม่น้ำยมุนาตอนล่าง

-

๑๘.  อัสสกะ

โปตลิ

-

ลุ่มแม่น้ำโคธาวารี

-

๑๙.  ภัคคะ

สุสุงมารคีระ

-

 -

-

๒๐. วิเทหะ

มิถิลา

-

 -

-

๒๑.อังคุตตราปะ

อาปณะ

-

 -

-