"พระบารมี ๑๐ ทัศ บารมี ๓๐ ทัศ "


พระบารมี ๑๐ และบารมี ๓๐

พระบารมี คือ ธรรมที่นำไปให้ถึงฝั่งพระนิพพาน หมายความว่า เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เฝ้าบำเพ็ญธรรมจนเต็มครบบริบูรณ์เต็มที่แล้วก็จะเป็นสะพาน
นำพระองค์ท่านให้บรรลุถึงฝั่ง คือ ได้ตรัสพระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ และเสด็จ
ดับขันธ์เข้าสู่ปรินิพพาน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พระบารมีธรรม” ซึ่งพระบารมีธรรม
นั้นมิใช่จะบำเพ็ญเพียง ๒๐-๓๐ ชาติเท่านั้น แต่ต้องบำเพ็ญเป็นเวลายาวนานหลาย
อสงไขย นับพระชาติที่เกิดไม่ถ้วน ดังนั้นพระบารมีที่สร้างแต่ละพระชาติจึงไม่เท่ากัน
คือ บางพระชาติก็สร้างอย่างธรรมดาปกติ บางพระชาติก็สร้างอย่างอุกฤษฏ์สูงสุด ฉะนั้นจึงจำแนกพระบารมีเหล่านี้ออกเป็นตรียางค์ คือ เป็นองค์สาม โดยจัดเป็น
พระบารมีอย่างธรรมดาประเภทหนึ่ง พระบารมีอย่างกลาง และพระบารมีอย่างสูงสุด
อุกฤษฏ์ ดังตัวอย่างพระบารมีประเภท “ทาน” เมื่อจำแนกออกเป็นตรียางค์ ก็กำหนด
โดยประเภทของทาน ดังต่อไปนี้

  1. ทานที่บำเพ็ญโดยสถานประมาณเป็นปกติธรรมดา บริจาคธนสารทรัพย์สมบัติน้อยใหญ่ ถึงแม้จะมากมายเพียงใดก็ดี จัดเป็นบารมีประเภทธรรมดา เรียกชื่อว่า “ทานบารมี”
  2. ทานที่บำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้น คือ ถึงกับบริจาคอวัยวะเลือดเนื้อในร่างกาย
    จัดเป็นพระบารมีประเภทมัชฌิมาปานกลาง เรียกชื่อว่า “ทานอุปบารมี”
  3. ทานที่บำเพ็ญยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก คือถึงกับต้องบริจาคชีวิตให้เป็นทาน
    นับเป็นการบริจาคอย่างใหญ่หลวงอุกฤษฏ์ นี้จัดเป็นพระบารมีประเภทสูงสุด อย่างยิ่งเรียกชื่อว่า “ทานปรมัตถบารมี”

แม้พระบารมีอย่างอื่นก็จำแนกออกเป็นพระบารมีละ ๓ ประเภท ซึ่งพระบารมีที่เป็น
องคธรรมมีอยู่ ๑๐ ประเภท เมื่อจำแนกออกเป็นองค์ละ ๓ พระบารมีจึงรวมเป็น
พระสมติงสบารมี คือ พระบารมี ๓๐ ถ้วนพอดี ดังจำแนกออกไปตามรายชื่อพระบารมี
ดังนี้ คือ

บารมี ๑๐ ทัศ

  1. ทานบารมี               บำเพ็ญด้วยการให้สิ่งที่ควรให้
  2. ศีลลารมี                 บำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์
  3. เนกขัมมบารมี         การออกจากกามซึ่งต้องบำเพ็ญให้ถึงที่สุด
  4. ปัญญาบารมี           บำเพ็ญด้วยการไต่ถามจากผู้รู้
  5. วิริยบารมี                บำเพ็ญด้วยการทำความเพียรอย่างถึงที่สุด
  6. ขันติบารมี              บำเพ็ญด้วยการอดทนอดกลั้นอย่างถึงที่สุด
  7. อธิษฐานบารมี       บำเพ็ญเด้วยการตั้งจิตไว้ให้มั่นคง
  8. สัจบารมี                 บำเพ็ญด้วยการรักษาวาจาสัตย์อย่างถึงที่สุด
  9. เมตตาบารมี           บำเพ็ญด้วยการมีเมตตาอย่างถึงที่สุด
  10. อุเบกขาบารมี         บำเพ็ญด้วยการวางเฉย คือมีใจเสมอกัน ไม่ว่าจะเป็น
                                  เรื่องดีหรือไม่ดีไม่ว่าจะมีลาภหรือเสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ
                                  สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์

รวมลงเป็นบารมี ๓๐ ทัศ

  1.  ทานบารมี
  2.  ศีลบารมี
  3.  เนกขัมมบารมี
  4.  ปัญญาบารมี
  5.  วิริยบารมี
  6.  ขันติบารมี
  7.  สัจบารมี
  8.  อธิษฐานบารม
  9.  เมตตาบารมี
  10. อุเบกขาบารมี   บารมี ๑-๑๐ จัดเป็นบารมีประเภทธรรมดา
  11. ทานอุปบารมี
  12. ศีลอุปบารมี
  13. เนกขัมมอุปบารมี
  14. ปัญญาอุปบารมี
  15. วิริยอุปบารมี
  16. ขันติอุปบารมี
  17. สัจอุปบารมี
  18. อธิษฐานอุปบารมี
  19. เมตตาอุปบารมี
  20. อุเบกขาอุปบารมี บารมี ๑๑-๒๐ จัดเป็นบารมีประเภทปานกลาง
  21. ทานปรมัตถบารมี
  22. ศีลมัตถบารมี
  23. เนกขัมมปรมัตถบารมี
  24. ปัญญาปรมัตถบารมี
  25. วิริยปรมัตถบารมี
  26. ขันติปรมัตถบารมี
  27. สัจปรมัตถบารมี
  28. อธิษฐานปรมัตถบารม
  29. เมตตาปรมัตถบารมี
  30. อุเบกขาปรมัตถบารมี บารมี ๒๑-๓๐ จัดเป็นบารมีประเภทอุกฤษ์สูงสุด

รวมเป็นพระบารมีธรรมที่พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จักต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์เต็มที่ ๓๐ ถ้วน ฉะนั้นจึงเรียกเป็นศัพท์ว่า
“พระสมติงสบารมี”
หรือบารมี ๓๐ ทัศ ด้วยเหตุนี้