"พระโพธิสัตว์กับพระอรหันต์"
พระอรหันต์
ทางเถรวาทอธิบายเป้าหมายของผู้ปฏิบัติว่ามุ่งผลคือหมดกิเลสส่วนตนเองแล้ว
เข้าสู่นิพพาน ส่วนผู้ที่ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น จะต้องบำเพ็ญบารมีเหมือน
พระพุทธเจ้าของเราคือ เป็นพระโพธิสัตว์มาก่อน
พระอรหันต์
พระอรหันต์ คือ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา พระอริยบุคคล
ชั้นสูงสุด
สามารถละสังโยชน์ได้ครบ ๑๐ ประการ
ลักษณะของพระอรหันต์
แบ่งตามวิธีการในการพัฒนาตน
พระอรหันต์ ๒ คือ
- พระวิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
- พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อน
แล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ
แบ่งตามคุณวิเศษ
พระอรหันต์ ๔ คือ
- พระสุกขวิปัสสก
(ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป หรือ อาสวัก
ขยญาณ อย่างเดียว) อานิสงส์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
- พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ)
- บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (รู้ระลึกชาติได้)
- จุตูปปาตญาณ(รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)อันเป็นที่เกิดจากการ
เข้าใจในกฎแห่งกรรมอย่างแท้จริงจึงรู้เหตุการณ์ที่จะเป็นไปได้ทั้งสิ้น
- อาสวักขยญาณ (รู้ทำอาสวะให้สิ้น) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา
และถือวัตรธุดงค์ หรือ ธุดงควัตร
- พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ
- ทิพพจักขุ ตาทิพย์ (คือฤทธิ์ที่สามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ใกล้ไกลได้ มี
พระอนุรุทธะ เป็นเอกทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านการมีตาทิพย์ คือสามารถมองเห็นโลกใบนี้ ราวกับ มองเม็ดมะขามป้อมบนฝ่ามือ)
- ทิพยโสต หูทิพย์ อิทธิวิธีแสดงฤทธิ์ได้(โดยเฉพาะมโนมยิทธิ การแยกร่าง
และจิต เป็นฤทธิที่แสดงได้เฉพาะพระอรหันต์ประเภทฉฬภิญโญเท่านั้น)
- เจโตปริยญาณ (ทายใจผู้อื่นได้)
- บุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ระลึกชาติได้ ) และ
- อาสวักขยะญาณ (ญานที่ทำให้อาสวะสิ้นไป) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ
- พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔) คือแตกฉานในความรู้
อันยิ่ง ๔ ประการ ได้แก่
- อัตถิปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ
- ธัมมะปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในธรรม
- นิรุตติปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในภาษา
- ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ
- อานิสงส์จากการปฏิบัติวิปัสสนา และเล่าเรียน ตรึกตรอง ทรงจำ
และแสดง ซึ่งพระธรรมวินัยที่พระศาสดาทรงตรัสสอน (ไตรปิฎก) ซึ่ง
- การเล่าเรียนธรรม อานิสงส์ได้ธรรมปฏิสัมภิทา รู้จริงในเหตุของสรรพสิ่ง
ในธรรมชาติ
- การตรึกตรองธรรม อานิสงส์ได้อัตถปฏิสัมภิทารู้จริงในผลลัพธ์ที่ลึกซึ้ง
- การท่องทรงจำธรรม อานิสงส์ได้นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้จริงในภาษาต่าง ๆ ในโลก
- การเทศนาแสดงธรรม อานิสงส์ได้ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้จริงในการแก้ไขปัญหาเข้าใจในนิสัยสันดานของสัตว์โลก
แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตน พระอรหันต์ ๕ คือ
- พระปัญญาวิมุต
- พระอุภโตภาควิมุต
- พระเตวิชชะ
- พระฉฬภิญญะ
- พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของพระอรหันต์ไว้ ๕ นัย คือ
- ไกลจากกิเลส
- กำจัดกิเลสได้หมดสิ้น
- เป็นผู้หมดสังสารวัฏ คือ การเวียนว่ายตายเกิด
- เป็นผู้ควรแก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
- ไม่มีที่ลับในการทำบาป ไม่มีความชั่วเสียหายที่จะต้องปิดบัง
พระโพธิสัตว์
ทางอาจาริยวาท อธิบายเป้าหมายของผู้ประพฤติธรรมทั้งนักบวชและชาวบ้าน ว่า
มุ่งหมายช่วยเหลือหมู่สัตว์ (หมายถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งมวล แต่พวกถือจัดหมายเอา
ทั้งเมล็ดทรายหรือก้อนกรวด เป็นต้น) ให้เข้าถึงพุทธภาวะหรือการตรัสรู้ พระโพธิสัตว์
แม้ว่าปฏิบัติจนสมบูรณ์เข้านิพพานได้แล้ว ก็ยังไม่เข้า ยินดีเวียนเกิดเวียนตายอยู่ในโลก
เพื่อช่วยเหลือมนุษย์ไม่เลือกหน้า ให้พ้นทุกข์กันหมดก่อน จึงจะเข้าทีหลัง
การเปรียบเทียบ ฝ่ายมหายานได้พูดถึงเรื่องข้างต้นเป็นนิทานดังกล่าวอุปมาไว้ว่า..
มีชายสี่คนเดิมอยู่ในทะเลทราย เมื่อเดินทางไปพบกำแพงกั้นขวางอยู่
ชายคนแรกกระโดดขึ้นกำแพง มองเห็นสวนมีธารน้ำไหล ป่าไม้หญ้าเขียวขจี
เป็นที่น่ารื่นรมย์ จึงกระโดดลงไป.. คนที่สอง คนที่สามก็โดดลงในสวน แต่...
คนที่สี่ขึ้นกำแพงมองเห็นเช่นนั้น ไม่กระโดดลงไป ยืนอดกลั้นไว้คิดถึงคนอื่น ๆ
ที่เดินทางกลางทะเลทรายอันร้อนจัด กลับลงไปนำคนอื่น ๆ มา รมณียสถานนี้ก่อน
สามคนแรก คือ พระอรหันต์ คนที่สี่คือพระโพธิสัตว์ผู้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่
ละทิ้งสัตว์โลกจนกว่าสัตว์โลกเข้าถึงแดนสุขาวดีทั้งหมดก่อน ตนจึงจะเข้าไป
พระโพธิสัตว์
คำว่า โพธิสัตว์ หมายถึง ผู้มุ่งความตรัสรู้ คือ ผู้บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้
๐ นิกายมหายานถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์มีความสำคัญกว่าความเป็นพระพุทธเจ้า แต่
๐ ฝ่ายหินยาน ถือว่าความเป็นพระพุทธเจ้าสำคัญกว่าความเป็นพระโพธิสัตว์
๐ ฝ่ายเถรวาทได้แสดงเรื่องราวของพระ โพธิสัตว์ เป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ก่อนจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอดีตชาตินับเป็นร้อย ๆ ชาติ ได้ประพฤติธรรม หรือ
บำเพ็ญ ประโยชน์ให้แก่สัตว์อื่น คนอื่น เช่นการเป็นช้างก็เป็นพระยาช้าง
ให้ความเป็นธรรมแก่ช้าง เช่น เรื่องพระยาฉัตทันต์ เกิดเป็นเนื้อก็เสียสละชีวิตตนให้แก
่เนื้ออื่น ยอมตายแทน เช่น เรื่องแม่เนื้อชื่อ นโครธสาขะ เป็นคน เช่น พระเวสสันดร
เป็นต้น แสดงถึงชีวิตก่อนเสวย พระชาติสุดท้าย คือ เป็นพระพุทธเจ้า นี่เป็นเรื่องราว
ของพระพุทธเจ้าของเรา ส่วน พระสาวกอื่น เช่นพระโมคคัลลานะ เป็นต้น ได้เป็น
พระอรหันต์ ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ ทั้งนี้เพราะมิได้เป็นพระพุทธเจ้า กล่าวโดยย่อ ผู้ที่จะเข้าถึงพุทธภูมิต้องบำเพ็ญบารมี เช่น บารมี ๓๐ ทัศในพระพุทธศาสนาให้เต็ม
จึงได้เป็นพระพุทธเจ้า ส่วนผู้ที่ไม่ปรารถนา พุทธภูมิก็บำเพ็ญเพื่อความหลุดพ้นโดยตรง
คือ ทำลายกิเลส ได้แก่
- โลภะ (ราคะ)
- โทสะ และ
- โมหะ
ให้หมดไปก็จะเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลส ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดกิเลสจะหมดไป
ด้วยประพฤติธรรมต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องทำลายกิเลสนั้น ๆ เครื่องทำลายกิเลส ก็คือศีล
สมาธิ และปัญญา ซึ่งต้องค่อย ๆ ทำให้หมดไปจนสามารถทำลายได้สิ้นเชิง เข้าถึง
ความเป็นอรหันต์
๐ ฝ่ายมหายานหรืออาจาริยวาท มีแนวทางแบบพระพุทธเจ้าไม่มีแนวทางแบบ
อรหันต์สาวก นิกายนี้สอนว่าไม่ว่าพระหรือชาวบ้านต่างเป็นพระโพธิสัตว์ได้
ถ้าหากว่ามีปณิธาน
ปณิธานของพระโพธิสัตว์ ๔ อย่าง คือ
- ช่วยเหลือมวลสัตว์ทั้งปวงให้พ้นทุกข์
- ทำลายกิเลสทั้งสิ้นให้หมด
- เข้าให้ถึงสัจธรรมและสอนคนอื่นให้ถึง
- นำปวงสัตว์เข้าสู่ความเป็นพระพุทธเจ้า
การตั้งปณิธานของพระโพธิสัตว์ หรือผู้ประกาศตัวจะเป็นพระโพธิสัตว์จนกว่าจะสมบูรณ์ หรือก้าวเข้าสู่ความเป็นพุทธนั้นต้องบำเพ็ญอยู่อย่างยาวนานนับเป็นหลาย ๆ ร้อยชาติ เพราะฉะนั้นพระโพธิสัตว์ (จะเป็นนักบวชหรือชาวบ้านได้) ในชาติหนึ่ง ๆ จะสร้างบารมีตามปณิธานได้มากบ้างน้อยบ้างจนกว่าจะเต็มจึงจะเข้าถึงขั้นพุทธ ภาวะ
หรือ สู่การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และทุกคนสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้
บารมีที่จะสร้างให้เต็ม ในนิกายเถรวาทมี ๑๐ อย่าง คือบารมี ๑๐ ทัศ และบารมี ๓๐ ทัศ
แบ่งเป็นระดับธรรมดา ระดับกลาง และสูงสุดรวมเป็น ๓๐ ทัศ เมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญ
เต็มแล้วก็จะตรัสรู้ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ส่วนนิกายอาจาริยวาท มีบารมี ๑๐ เหมือนกัน บางแห่งเป็น ๗ ความหมายของแต่ละนิกายบางข้อก็คล้ายคลึงกันบางข้อก็ต่างกัน
|