"ความแตกต่าง
   ของพระพุทธเจ้าตามความเชื่อ" 

                        
พระพุทธเจ้าตามความเชื่อฝ่ายเถรวาท

ในพระไตรปิฏกกล่าวว่า ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ๔ พระองค์
พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่ ๔ และพระพุทธเจ้าองค์ถัดไป คือ พระศรีอารยเมตไตรย ในทัศนะเถรวาทถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา แต่ที่เหนือกว่าคนทั่วไป คือพระองค์พบทางดับทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง และเผยแพร่หนทางนั้นต่อสรรพสัตว์ ทรงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ เมื่อทรงดับขันธปรินิพพาน คือดับไปโดยไม่เหลือเชื้อใดๆ ผู้จะเป็นพระพุทธเจ้าต้องทำความดี (บารมี) มาในชาติก่อน ๆ นับชาติไม่ถ้วน
(ก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระโพธิสัตว์)

ฝ่ายเถรวาท
ไม่ได้นับถือว่าองค์ไหนมีอานุภาพสำคัญกว่าองค์อื่น ๆ หรือมีความ
สำคัญที่สุด กล่าวคือคำสอนว่าเหมือนกับทุก ๆ พระองค์ไม่มีที่อยู่เฉพาะแห่งหรือที่รวม
เป็น แต่แสดงถึงที่สุดแห่งชีวิตว่าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน เท่านั้นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
เป็นที่เคารพบูชา

ในเรื่องอานุภาพหรือเดช ตลอดจนที่อยู่ต่างแห่งกันก็ดีอยู่รวมกันก็ดี ของพระพุทธเจ้า
ทั้งมวลของ มหายานนั้น เป็นอิทธิพลของลัทธิฮินดูในเรื่องอวตารแต่ฝ่ายหีนยานก็มี
อิทธิพลของพราหมณ์ แทรกอยู่ด้วยไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย
เรื่องพระสงฆ์ทำเครื่องรางของขลังแจกก็ดี ดูฤกษ์ยาม ดูดวงชะตาราศีก็ดี
ซัดกรวดทราย โดยที่สุดแม้ทำน้ำมนต์เพื่อความสวัสดีก็ดี ล้วนเป็น อิทธิพลของ
พราหมณ์ทั้งสิ้น ถ้าเป็นพุทธศาสนา แท้ ๆไม่มีสิ่งเหล่านี้ พระพุทธศาสนาสอนให้
ประพฤติธรรมในหลักทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ผลทั้งหลายย่อมมีเหตุเป็นที่เกิด
การสวดมนต์ภาวนา ไม่ใช่เพื่อความศักดิ์สิทธิ์หรือสวัสดิมงคล แต่เพื่อทำใจให้สงบจาก
กิเลสให้เกิดสมาธิ เกิดปัญญา ในที่สุด ตามฐานะของคน เช่นชาวบ้านก็ประพฤติศีลธรรม
ของชาวบ้าน พระสงฆ์ก็ประพฤติศีลธรรม ของพระสงฆ์ ซึ่งต่างมุ่งให้สำเร็จจุดหมาย
แห่งชีวิตของตน คือความสุข หรือความหลุดพ้น

เรื่องของความสุขเป็นเรื่องใหญ่ของชีวิตมนุษย์ มนุษย์ที่ยังติดโลกีย์ หมายถึงยึดมั่น
อยู่ในโลกธรรม คืออยากได้ยศ ยินดีเมื่อได้ พยายามหลีกเลี่ยงความเสื่อมยศ
แต่ก็เสี่ยงไม่ได้ บางคนแม้จะเลี่ยงได้เมื่อมีชีวิตอยู่ เมื่ออยู่ในตำแหน่ง แต่เมื่อตาย
เมื่อพ้นตำแหน่งยศก็เสื่อมไป ใหญ่กับใครไม่ได้อีกสรรเสริญทางโลกนั้นมี ๒ ทาง
สรรเสริญกันเพราะได้ประโยชน์ หรือเพราะความดีจริง ๆ เมื่อไม่ได้หรือขัดผล
ประโยชน์ก็นินทา สำหรับความร่ำรวยหรือได้สิ่งที่คุณต้องการเป็นความสุข
คือลาภและความสุขยิ่งเป็นอนิจจัง มนุษย์ปุถุชนย่อมมีได้ เสีย สุข ทุกข์ อยู่เสมอ
ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เว้นแต่ใครจะมีส่วนไหนมากน้อยกว่ากันเท่านั้น
โลกียธรรมของพระพุทธเจ้า มุ่งยกจิตใจคนให้เป็นคนพัฒนา เป็นคนที่มีกฏเกณฑ์
เคารพระเบียบ มีเหตุผล ซึ่งมนุษย์ผู้ไม่มีธรรมะหรือไม่พัฒนานั้นตามใจชอบ
ระเบียบที่เป็นประโยชน์แก่ตนก็เคารพ ที่ไม่ชอบใจก็ละเลย ทำอะไรตามใจชอบ
ไม่เคารพกฏเกณฑ์ ฯลฯ พระพุทธศาสนาเนื้อธรรมนั้นมุ่งยกจิตใจคนให้สูง
ให้เป็นมนุษย์พัฒนา



              

พระพุทธเจ้าตามความเชื่อฝ่ายอาจาริยวาท

นิกายมหายานยอมรับพระพุทธเจ้าตามคัมภีร์ฝ่ายเถรวาททั้งหมดและยังสร้างพระ
พุทธเจ้าอีกมากมาย ทั้งที่เป็นมนุษย์และมีสถานะเหมือนเทพเจ้าในศาสนาฮินดู นิกายมหายาน เชื่อว่าเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วไม่ดับสูญแต่ไปประทับ ณ พุทธเกษตร ซึ่งเป็นดินแดนที่งดงามกว่าสวรรค์

พระพุทธเจ้าตามคติมหายานแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. อาทิพุทธะ
    ถือว่าเป็น พระพุทธเจ้าที่อุบัติมาพร้อมกับโลกและประทับอยู่กับโลกเป็นนิรันดร์ มีบทบาทคล้ายพระพรหมในศาสนาฮินดูที่เป็นผู้สร้างโลกและจักรวาล พระมานุสส พุทธะเป็นพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะมาเกิดในโลกมนุษย์ และบำเพ็ญ เพียรในฐานะพระโพธิสัตว์จนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อปรินิพพานแล้วจะไปอยู่ กับอาทิพุทธะ คล้ายกับคติของศาสนาฮินดูที่เมื่อทำความดีถึงขั้นสูงสุดจะกลับไป เป็นส่วนหนึ่งของมหาพรหม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจจุบัน ทางมหายาน เรียกว่า พระ ศากยมุนีพุทธเจ้าเป็นพระมานุสสพุทธะด้วยเช่นกัน พระธยานิพุทธะเป็นพุทธะที่ อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นกัน แต่สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าด้วยอำนาจฌาน(ธยาน) ของอาทิพุทธะไม่ได้ผ่านการบำเพ็ญเพียรในโลกมนุษย์ พุทธะเหล่านี้ประทับบน สวรรค ในสภาวะกายทิพย์ มีเฉพาะพระโพธิสัตว์ที่มองเห็นได้
  2. พระพุทธเจ้าอื่นๆ เช่น พระสัทธรรมวิทยาตถาคต พระไภษัชยคุรุทั้ง ๗ พระสหัสประภาราชาศานติสถิตยตตถาคต พระประภูตรัตนะ
นิกายอาจาริยวาทได้กล่าวถึงอานุภาพของพระพุทธเจ้าแตกต่างกันออกไปในแต่ละ
ประเทศแต่ละสูตร เช่นบางแห่งแสดงว่า พระทีปังกร พระพุทธเจ้า มีพระชนม์อยู่ถึงหมื่น แสนปี บางแห่งว่าสามพันปี บางองค์มีหน้าที่รักษาวิญญาณของผู้ตาย บางองค์มีหน้าที่ ทำลายความชั่วร้าย บางองค์มี อานุภาพบันดาลความสำเร็จให้ บางองค์เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ทางรักษาโรค เป็นแพทย์คอยรักษาโรค และประทานโอสถแก่สัตว์ผู้เจ็บป่วย บางองค์ จากโลกไปแล้วไปประทับ ณ แดนสุขาวดี บางองค์อยู่ประจำ ๘ ทิศ และมีที่อยู่รวมของ พระพุทธเจ้าหลายสิบองค์เพื่อให้ช่วยหลายอย่าง