"อสงไขย"

อสงไขยเวลา

เรื่องอสงไขย กาลเวลาที่เรียกว่า “อสงไขย” แปลว่า นับไม่ได้ คือ ไม่สามารถที่จะนับเวลานั้นออกมาเป็นจำนวนกี่เดือน กี่ปี จึงจะเรียกได้ว่า อสงไขย โดยได้มีคำอุปมาเปรียบเทียบไว้ว่า  

          “ฝนตกใหญ่มโหฬารทั้งกลางวันกลางคืนเป็นเวลานานถึง
           ๓ ปีติดต่อกันมิได้หยุดมิได้ขาดสายเม็ดฝนจนน้ำฝน
           เจิ่งนองท่วมท้นเต็มขอบเขาจักรวาล อันมีระดับความสูง
           ได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ และถ้าสามารถนับเม็ดฝน และหยาด
           แห่งเม็ดฝนที่กระจายเป็นฟองฝอยใหญ่น้อย ในขณะที่
           ฝนตกใหญ่ ๓ ปีติดต่อกันนั้น นับได้จำนวนเท่าใด
           อสงไขยหนึ่งเป็นจำนวนปีเท่ากับเม็ดฝนและหยาดแห่ง
            เม็ดฝนที่นับได้นั้น”

ที่มา : มุนีนาถทีปนี หนังสือชนะเลิศรางวัลวรรณกรรมไทยของ ธ.กรุงเทพ
         รจนาโดย พระพรหมโมลี(วิลาศ ญาณวโร ปธ.๙)


อสงไขย (สันสกฤต: อสํเขฺยย) หมายถึง นับไม่ถ้วน, ไม่ง่ายที่จะนับ, หรือเป็นตัวบอกปริมาณ (เป็นคำอุปสรรค, prefix) สำหรับจำนวน ๑๐ ยกกำลัง๑๔๐ (เลข ๑ แล้วตามด้วยเลข ๐ ต่อท้ายทั้งหมด ๑๔๐ ตัว)จึงเรียกว่า อสังขยา หรือ อสงไขย

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้นิยามว่า หนึ่งอสงไขยเท่ากับหนึ่งโกฏิยกกำลัง ๒๐ หมายถึง (๑๐๗) ๒๐ ซึ่งก็เท่ากับ ๑๐ ยกกำลัง๑๔๐ เช่นกัน

บางตำรากล่าวว่าหมายถึงเลข ซึ่งมีหลายความหมาย พระพุทธภัทระตีความว่า a=๕, b=๑๐๓ ส่วนพระศิกษานันทะตีความว่า a=๗, b=๑๐๓ และ Thomas Cleary ตีความว่า a=๑๐, b=๑๐๔

อสงไขยเป็นปริมาณหรือจำนวนที่ไม่อาจคำนวณได้ มีอุปมาว่า ประมาณเม็ดฝนของการเกิดฝนตกใหญ่อย่างมโหฬารทั้งวันทั้งคืนเป็นเวลานานถึง ๓ ปี ไม่ได้ขาดสายเลย

อสงไขยใช้เป็นหน่วยสำหรับสิ่งใดก็ได้ เช่น มีถั่วเป็นจำนวน ๑ อสงไขยเมล็ด ในศาสนาพุทธมักจะใช้กล่าวถึง ระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์สร้างสมบารมีมาเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า โดยนับหน่วยเวลาเป็นอสงไขยกัป ซึ่ง ๑ อสงไขย เป็นตัวบ่งปริมาณ (prefix) เช่นเดียวกับคำว่า สิบ, ร้อย, พัน, หมื่น, แสน, ล้าน ฯลฯ โดยที่ อสงไขย คือ ๑ ตามด้วยเลข ๐ จำนวน ๑๔๐ ตัว หรือ ๑๐ ยกกำลัง ๑๔๐ ดังนั้น "อสงไขยกัป" หมายถึงจำนวนกัปทั้งหมด ๑๐ ยกกำลัง ๑๔๐ กัป (จำนวนครั้งที่จักรวาลเกิดแล้วดับทั้งหมด ๑ แล้วตามด้วยเลข ๐ ทั้งหมด ๑๔๐ ตัว ซึ่งนับได้ว่ายาวนานมาก ๆ)

นอกจากนี้ในพระไตรปิฎกและอรรถกถายัง มีการใช้คำว่า "อสงไขย" เฉย ๆ ด้วยเช่นกัน แต่ในความหมายที่ว่า มากมาย หรือ นับไม่ถ้วน (infinity) ไม่ได้ใช้ในแง่ของการบอกปริมาณว่าเท่ากับ ๑๐ ยกกำลัง ๑๔๐ และไม่ได้หมายถึงอสงไขยกัปเช่น

 

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่ง มี ๔ อสงไขย ๔ อสงไขย เป็นไฉน?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเสื่อม ตลอดกาลนั้นไม่ง่ายเพื่อจะนับ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด สังวัฏฏกัป ตั้งอยู่ ฯลฯ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด กัปเจริญ ตลอดกาลนั้นไม่ง่ายที่จะนับ"
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใด วิวัฏฏกัป ตั้งอยู่ ฯลฯ

 
— องฺ. จตุกก. เล่ม ๒๑/ข้อ ๑๕๖

วิธีการนับอสงไขยในแง่ปริมาณ

การนับอสงไขยให้เทียบเอาดังนี้

  1. สิบ สิบหน เป็น หนึ่งร้อย
  2. สิบร้อย เป็น หนึ่งพัน
  3. สิบพัน เป็น หนึ่งหมื่น
  4. สิบหมื่น เป็น หนึ่งแสน
  5. ร้อยแสน เป็นหนึ่งโกฏิ
  6. ร้อยแสนโกฏิ เป็น หนี่งปโกฏิ
  7. ร้อยแสนปโกฏิ เป็น หนึ่งโกฏิปโกฏิ
  8. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น หนึ่งนหุต
  9. ร้อยแสนนหุต เป็น หนึ่งนินนหุต
  10. ร้อยแสนนินนหุต เป็น หนึ่งอักโขเภนี
  11. ร้อยแสนอักโขเภนี เป็น หนึ่งพินทุ
  12. ร้อยแสนพินทุ เป็น หนึ่งอพุทะ
  13. ร้อยแสนอพุทะ เป็น หนึ่งนิระพุทะ
  14. ร้อยแสนนิระพุทะ เป็น หนึ่งอหหะ
  15. ร้อยแสนอหหะ เป็น หนึ่งอพพะ
  16. ร้อยแสนอพพะ เป็น หนึ่งอฏฏะ
  17. ร้อยแสนอฏฏะ เป็น หนึ่งโสคันธิกะ
  18. ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น หนึ่งอุปละ
  19. ร้อยแสนอุปละ เป็น หนึ่งกมุทะ
  20. ร้อยแสนกมุทะ เป็น หนึ่งปทุมะ
  21. ร้อยแสนปทุมะ เป็น หนึ่งปุณฑริกะ
  22. ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น หนึ่งอกถาน
  23. ร้อยแสนอกถาน เป็น หนึ่งมหากถาน
  24. ร้อยแสนมหากถาน เป็น หนึ่งอสงไขย

หมายเหตุ: ร้อยแสน=สิบล้าน    

   
อสงไขย ค่า ชื่อภาษาอังกฤษ (Short scale)
สิบ ๑๐๑ Ten
ร้อย ๑๐๒ Hundred
พัน ๑๐๓ Thousand
หมื่น ๑๐๔ Ten thousands
แสน ๑๐๕ Hundred thousands
โกฏิ ๑๐๗ Ten millions
ปโกฏิ ๑๐๑๔ Hundred trillion
โกฏิปโกฏิ ๑๐๒๑ Sextillion
นหุต ๑๐๒๘ Ten octillion
นินนหุต ๑๐๓๕ Hundred Decillion
อักโขเภนี ๑๐๔๒ Tredecillion
พินทุ ๑๐๔๙ Ten Quindecillion
อพุทะ ๑๐๕๖ Hundred Septendecillion
นิระพุทะ ๑๐๖๓ Vigintillion
อหหะ ๑๐๗๐
อพพะ ๑๐๗๗
อฏฏะ ๑๐๘๔
โสคันธิกะ ๑๐๙๑
อุปละ ๑๐๙๘
กมุทะ ๑๐๑๐๕
ปทุมะ ๑๐๑๑๒
ปุณฑริกะ ๑๐๑๑๙
อกถาน ๑๐๑๒๖
มหากถาน ๑๐๑๓๓
อสงไขย ๑๐๑๔๐

จำนวนอสงไขย
อสงไขย มี 7 อสงไขย คือ

  1. นันทอสงไขย
  2. สุนันทอสงไขย
  3. ปฐวีอสงไขย
  4. มัณฑอสงไขย
  5. ธรณีอสงไขย
  6. สาครอสงไขย
  7. บุณฑริกอสงไขย


ที่มา : wikipedia