"ภพ..ภูมิ ๓๑ ภูมิ
ทางพระพุทธศาสนา"

ภพ-ภูมิ หมายถึง โลกหรือสถานที่อันเป็นที่อาศัยอยู่ของสรรพสัตว์ผู้ยังมีกิเลส ยังไม่เข้าสู่พระนิพพาน นั่นหมายความว่ามนุษย์ตลอดถึงสรรพสัตว์ทั้งปวงเมื่อยังไม่หมดกิเลส ก็ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ และเสวยผลแห่งกรรมตามแต่กุศลและอกุศลที่ตนสั่งสมไว้

ภพ-ภูมิ ทางพระพุทธศาสนา ในสมัยพุทธกาลปรากฏเมื่อ พระอนุรุทธะ ผู้เป็นเลิศทางทิพยจักษุได้ตอบพระสารีบุตรถึง ป่าโคสิงคสาลวัน งามด้วยภิกษุเช่นไร

“พระอนุรุทธะ ตอบว่า "ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่ง ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักุษุขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์”

สำหรับจักรวาลหลาย ๆ จักรวาลที่มารวมตัวกัน พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า โลกธาตุ โดยในจูฬนีสูตร ได้กล่าวถึงลักษณะของจักรวาล ๓ อย่าง คือ

๑. โลกธาตุมีขนาดเล็ก เรียกว่า สหัสสีจูฬนิกาโลกธาตุ มี ๑,๐๐๐ จักรวาล
๒. โลกธาตุขนาดกลาง เรียกว่า ทวิสหัสสีมัชฌิมิกาโลกธาตุ มี ๑,๐๐๐,๐๐๐ จักรวาล
๓. โลกธาตุขนาดใหญ่ เรียกว่า ติสหัสสีมหาสหัสสีโลกธาตุ มีแสนโกฏิ หรือล้านล้านจักรวาล

ในทางพระพุทธศาสนาได้พูดถึงโครงสร้างของจักรวาลว่า ทุกๆ จักรวาลจะประกอบด้วยไตรภพ คือ

๐ กามภพ
๐ รูปภพ
๐ อรูปภพ


                  

ภพ-ภูมิ หรือโลกอันเป็นที่อาศัยอยู่ของสัตว์ทั้งหลายนี้เรียกว่า ภพ ๓ แบ่งออกเป็น ๓๑ ภูม

ภพ ๓ ประกอบด้วย
 ๐ กามภพ
 ๐ รูปภพ
 ๐ อรูปภพ

ภูมิ ๓๑ ภูมิ ประกอบด้วย
 ๐ อบายภูมิ ๔
 ๐ มนุสสภูมิ ๑
 ๐ เทวภูมิ ๖
 ๐ รูปภูมิ ๑๖
 ๐ อรูปภูมิ ๔

หรือจัดแบ่งได้ดังนี้ คือ

๑. อบายภูมิ มี ๔ คือ
 ๐ นรก
 ๐ เดรัจฉาน
 ๐ เปรต
 ๐ อสุรกาย

๒. กามสุคติภูมิ มี ๗ คือ
 ๐ มนุสสภูมิ ๑
 ๐ เทวภูมิ ๖ ชั้น ชื่อจาตุมหาราชิกา ตาวติงสา ยามา ดุสิตา นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี

๓.รูปภูมิ มี ๑๖ คือ
๐ ปฐมฌานภูมิ ๓ ชื่อ ปาริสัชชา ปุโรหิตา และมหาพรหมา
๐ ทุติยฌานภูมิ ๓ ชื่อ ปริตตาภา อัปปมาณาภา และอาภัสสรา
๐ ตติยฌานภูมิ ๓ ชื่อ ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา และสุภกิณหา
๐ จตุตถฌานภูมิ ๗ ชื่อ เวหัปผลา อสัญญีสัตตา และสุทธาวาสภูมิ 5 ชื่อ อวิหา อตัป
๐ ปา สุทัสสา สุทัสสี และอกนิฎฐา

๔. อรูปภูมิ มี ๔ คือ
 ๐ อากาสานัญจายตนะ
 ๐ วิญญาณัญจายตนะ
 ๐ อากิญจัญญายตนะ และ
 ๐ เนวสัญญานาสัญญายตนะ

แม้ว่าภพภูมิเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่รองรับสรรพสัตว์ทั้งหลายไว้ แต่มนุษย์ก็ยังไม่สามารถไปเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับภพภูมิเหล่านั้นได้ ด้วยความจำกัดของสายตามนุษย์เอง ที่มองไปได้ไกลเพียงระยะสั้น ๆ เรามองไม่เห็นคนที่ห่างไกลไปหลาย ๆ กิโลเมตร บ้านที่ห่างไกลหลาย ๆ ชั่วระยะทาง ดังนั้น ไม่ต้องพูดถึงโอกาสที่เราจะเห็นจังหวัดที่ติด ๆ กันว่ามีลักษณะรูปร่างเป็น อย่างไร ประเทศที่อยู่ข้าง ๆ ว่ามีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร ไม่ต้องพูดถึงว่าเราจะเห็นอีกฝั่งซีกโลกของเรา หรือแม้กระทั่งโลกใบนี้ทั้งใบ หรือโลกอื่น ๆ ที่ห่างไกลออกไป ความเร้นลับเกี่ยวกับเรื่องภพภูมิยังเป็นปัญหาที่ทุกคน ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา กำลังแสวงหาคำตอบ ปัจจุบันนับว่าวิทยาการได้เจริญก้าวหน้าไปมาก มนุษย์สามารถผลิตเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถเพิ่มศักยภาพในการมองดูของมนุษย์ให้สามารถมองดูไปได้กว้างไกลยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ความเร้นลับเกี่ยวกับภพภูมิที่มนุษย์ต่างกำลังแสวงหา ได้พบคำตอบไปมากน้อยเพียงใด เป็นสิ่งที่เราจะได้มาศึกษากันต่อไป

เหตุแห่งการเกิดในสวรรค์แต่ละชั้น

บุคคลที่จะถือกำเนิดบนสวรรค์นั้น เมื่อเป็นมนุษย์ต้องหมั่นสร้างความดี สั่งสมบุญ บำเพ็ญบารมี หมั่นทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น ผลแห่งความดีนั้นจะนำให้ไปเกิดบนสวรรค์ จะได้เสวยทิพยสมบัติ ที่ละเอียดประณีตแตกต่างกัน มีรัศมีกายมากน้อยต่างกันเพียงไร ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการทำความดี ซึ่งพอจะแบ่งได้เป็น ๔ ประการ ดังต่อไปนี้

๑. ทำความดีเพราะความกลัว คือทำความดีเผื่อเอาไว้ว่า หากนรกมีจริง ความดีนี้ก็จะช่วยตนให้ ไม่ต้องตกนรกได้ อย่างนี้ทำความดีได้ไม่เต็มที่ อุปมาเหมือนเด็กอนุบาลทำดีเพราะกลัวครู หรือพ่อแม่ตี เมื่อละโลกแล้ว ผลบุญส่งให้ไปเป็นได้เพียงภุมมเทวา รุกขเทวา หรืออากาสเทวา

๒. ทำความดีเพราะหวังสิ่งตอบแทน เมื่อทำความดีครั้งใด ใจจะคอยแต่คิดหวังลาภหรือของ รางวัลต่าง ๆ กลับคืนมา อุปมาเหมือนเด็กประถมทำดีเพื่อให้ครูแจกขนมหรือให้พ่อแม่ซื้อของเล่นให้ เมื่อละโลกแล้วผลบุญส่งให้ไปเป็นเทวดาไม่สูงไปกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

๓. ทำความดีเพราะหวังคำชม ต้องได้รับคำสรรเสริญจึงจะมีกำลังใจทำความดี อุปมาเหมือนเด็กมัธยมทำดีเพราะอยากได้รับการยอมรับจากคนรอบข้าง เมื่อละโลกแล้วผลบุญส่งให้ไปเป็นเทวดา ไม่สูงไปกว่าสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา

๔. ทำความดีเพื่อความดี คือทำความดีเพราะคิดว่านั่นเป็นความดี เป็นสิ่งที่ควรทำ ใครจะให้หรือ ไม่ให้ของใด ๆ ก็ยังทำความดี ใครจะชมหรือไม่ชมก็ยังทำความดี เพราะมั่นใจในความดีที่ตนทำ อุปมาเหมือนนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ทำดีเพราะเห็นว่ามีประโยชน์ เมื่อละโลกแล้ว ผลบุญส่งให้ไปเป็นเทวดา ตั้งแต่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความประณีตของใจในขณะทำความดี

ตารางแสดงอายุของชาวสวรรค์เปรียบเทียบกับอายุมนุษย์

สวรรค์
อายุ(ปีสวรรค์)
๑ วัน ๑ คืน สวรรค์ /ปีมนุษย
ล้านปีมนุษย์
ชั้นที่ ๑ จาตุมหาราชิกา ๕๐๐ ๕๐
ชั้นที่ ๒ ดาวดึงส์ ๑,๐๐๐ ๑๐๐ ๓๖
ชั้นที่ ๓ ยามา ๒,๐๐๐ ๒๐๐ ๑๔๔
ชั้นที่ ๔ ดุสิต ๔,๐๐๐ ๔,๐๐๐ ๕๗๖
ชั้นที่ ๕ นิมมานรดี ๘,๐๐๐ ๘,๐๐๐ ๒,๓๐๔
ชั้นที่ ๖ ปรนิมมิตวสวัตดี ๑๖,๐๐๐ ๑๖,๐๐๐ ๙,๒๑๖

อบคุณข้อมูลจาก : /book.dou.us/doku